ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีนาถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร อดีตพระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยแบบรัฐสภา อดีตพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

สมเด็จพระราชินีนาถ[1] (อังกฤษ: Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริย์หญิงผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใด ๆ

โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์มีทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Rex) และ "พระมหากษัตริย์พระราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์ แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" (Prince Consort) (มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร)

การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น

การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฎหมายแซลิก

ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายแซลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซมเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแฮโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระปิตุลาธิราชของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ

รายพระนาม

[แก้]

ต่อไปนี้คือรายพระนามสมเด็จพระราชินีนาถบางประเทศ และบางพระองค์ที่สำคัญ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงฉลองพระองค์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
  • สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101)
    ทรงปลดเลดี้เจน เกรย์ออกจากราชบัลลังก์ และให้นับว่าทรงครองราชสมบัติภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชอนุชา โดยไม่ถือว่าเลดี้เจนเคยเป็นพระราชินีนาถแห่งอังกฤษเลย พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกของอังกฤษ ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ[4]
  • สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2146)
    ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเชษฐภคินีซึ่งไม่มีพระราชโอรสและธิดา และสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทด้วย การเสด็จสวรรคตนี้ส่งผลให้เกิดการรวมราชบัลลังก์อังกฤษและสก็อตแลนด์เข้าด้วยกัน (Union of the Crown) โดยกษัตริย์พระองค์ใหม่ พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของอังกฤษ
  • สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2237)
    ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชชนกและทรงครองราชสมบัติร่วมกับพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 พระราชสวามี
  • สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ (8 มีนาคม พ.ศ. 2245 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2257)
    ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 พระราชสวามีในสมเด็จพระเชษฐภคินี และทรงเป็นผู้ออกพระราชบัญญัติการรวมประเทศ (Act of Union) ซึ่งเป็นการรวมราชอาณาจักรอังกฤษและสก็อตแลนด์ให้เป็นประเทศหนึ่งเดียวคือ บริเตนใหญ่ (Great Britain)
  • สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (20 มิถุนายน พ.ศ. 2380 – 22 มกราคม พ.ศ. 2444)
    ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 พระราชปิตุลา และเป็นพระราชินีนาถที่ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ นอกจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 โดยทรงครองราชสมบัตินานถึง 63 ปี ซึ่งยาวนานกว่ารัชกาลใดในบรรดาพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ และทรงปกครองจักรวรรดิอังกฤษอันกว้างใหญ่ไพศาล ที่ในบางครั้งเรียกว่า "จักรวรรดิวิกตอเรีย" (Victorian Empire) อีกทั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ฉายพระรูปด้วย[5]
  • สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565) ทรงสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดา ด้วยทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ โดยทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถที่ครองราชยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นเวลาถึง 70 ปี และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
พระนางจามเทวีเป็นพระราชินีนาถพระองค์แรกของหริภุญชัย
สมเด็จพระมหาราชินีองค์มี
สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา
สมเด็จพระราชินีนาถอูลริกา
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2
สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกา
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย เทเรซา
สมเด็จพระราชินีนาถแคทเทอรีน
สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1
สมเด็จพระราชินีนาถคลีโอพัตราที่ 7
สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราชินี จักรพรรดินีนาถแห่งรัสเซีย
สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถบูเช็กเทียน
  • จักรพรรดินีบูเช็กเทียน
    พระสนมในจักรพรรดิถังไท่จง และต่อมาเป็นพระสนมเอกในจักรพรรดิถังเกาจง หลังจากชิงพระราชอำนาจจากฮองเฮาหวังได้สำเร็จ พระนางก็ได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮา หลังจากถังเกาจงสวรรคต พระราชโอรสของพระนางสืบราชสมบัติเป็นฮ่องเต้แห่งจีนสองพระองค์ แต่ถูกบูเชกเทียนถอดลงเสีย และพระองค์ได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เสียเองเป็น ฮ่องเต้หญิง เพียงพระองค์เดียวของจีน อย่างไรก็ตามในบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระนางมีพระราชโองการให้ลบพระปรมาภิไธยออกจากการเป็นฮ่องเต้ โดยให้เหลือประวัติศาสตร์เพียงว่าทรงเป็นฮองเฮาในฮ่องเต้ถังเกาจงเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถซุอิโกะ
  • จักรพรรดินีจิงงุ
    พระองค์นี้มิได้เป็นจักรพรรดินีที่ครองราชย์ (Empress Regnant) แต่เป็นจักรพรรดินีผู้สำเร็จราชการ และทรงสำเร็จราชการยาวนานถึง 60 ปี พระนางทรงเป็นผู้หญิงคนแรกที่เป็นผู้นำประเทศญี่ปุ่น ทรงพระปรีชาสามารถถึงขนาดขณะมีพระครรภ์ 7 เดือนก็ยังเสด็จออกทรงรบร่วมกับพระราชสวามีได้ และทรงตัดหัวแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ด้วย ชาวญี่ปุ่นถือเป็นต้นแบบของผู้หญิงเก่ง
  • จักรพรรดินีซุอิโกะ
  • จักรพรรดินีโคเคียวคุ (ทรงราชย์สองครั้ง)
  • จักรพรรดินีจิโต
  • จักรพรรดินีเกงเม
  • จักรพรรดินีเกงโช
  • จักรพรรดินีโคเก็ง (ทรงราชย์สองครั้ง)
  • จักรพรรดินีเมโช
  • จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ
    ทุกพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์คล้ายกัน คือเพราะพระราชบิดาไม่มีพระราชโอรสจึงทรงเลือกเป็นรัชทายาท หรืออาจให้เสกสมรสกับพระปิตุลา (น้องชายพ่อ) เพื่อให้ทรงราชย์ร่วมกัน หลังจากพระราชสวามี (ซึ่งเป็นอาของพระองค์) สวรรคต สมเด็จพระจักรพรรดินีเหล่านี้จึงทรงปกครองญี่ปุ่นอยู่ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มกุฎราชกุมารมีพระชนมายุพอที่จะครองราชย์เองได้ (ยกเว้นสมเด็จพระจักรพรรดินีเกงโช ซึ่งเป็นพระปิตุจฉา (ป้า) ของจักรพรรดิองค์ต่อมา สมเด็จพระจักรพรรดิเก็มมุ) แต่ทั้งนี้ก็เพื่อเหตุผลเดียวกันคือรอจนกว่าพระราชวงศ์ฝ่ายหน้าที่เหมาะสมจะมีพระชนม์มากพอเสด็จขึ้นทรงราชย์ได้
แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต
สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 3
สมเด็จพระราชินีนาถซาโลเต ตูโปอูที่ 3
สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, ราชวงศ์แห่งมหาอำนาจยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ : กษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถ, 2556
  2. เพราะพระอิสริยยศราชินีแห่งอังกฤษยังไม่เคยมี พระราชินีคอนสอร์ทแห่งอังกฤษพระองค์แรกที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการคือสมเด็จพระราชินีมาทิลดา แห่งฟลานเดอร์ พระมเหสีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งได้มีพระราชพิธีราชาภิเษกสถาปนาพระองค์เป็นพระราชินีพร้อมกับพระเจ้าวิลเลียม ส่วนพระราชินีนาถพระองค์แรกแห่งอังกฤษ ยังเป็นที่ถกเถียง
  3. เพราะอ้างว่าจักรพรรดินีนาถมาทิลดาเป็นเพียงผู้สำเร็จราชการระหว่างการเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ และไม่เคยทรงปกครองอังกฤษจริง ๆ เลย
  4. เพราะมาทิลดา กับเจนบางครั้งไม่ถูกนับรวมเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ
  5. ดูเพิ่ม พระราชินีนาถวิกตอเรีย พระนิพนธ์ ว.ณ.ประมวลมารค
  6. She was continue to be Quuen of Sweden, but as Queen Cosort not Queen Regnant, however her title didn't changed.
  7. อ่านเพิ่มใน ว.ณ.ประมวลมารค "คลั่งเพราะรัก"
  8. เพราะสองพระองค์ข้างต้นเป็นเพียงพระราชินีนาถแห่งคาสตีล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสเปนเท่านั้น
  9. เพราะผู้ปกครองที่แท้จริงคือพระราชสวามีของพระองค์ พระองค์น่าจะเป็นเพียงพระราชินีมเหสีมากกว่า
  10. ดูเพิ่มใน ธุวตารา งานเขียนของทมยันตี
  11. ดูเพิ่มในคัทริน มหาราชินี พระนิพนธ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
  12. ต่างจากพระราชินีอูลเรก้า และพระจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา ซึ่งเป็นกษัตริย์ก่อน และค่อยเป็นพระมเหสี พระจักรพรรดินีแคทเธอรีนเป็นพระมเหสีก่อน แล้วจึงเป็นกษัตริย์ อย่างไรก็ตามผลก็คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงพระอิสริยยศเหมือนกัน
  13. เพราะถือว่าสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮมมินา แห่งเนเธอร์แลนด์ (ดูด้านบน) ไม่เคยเป็นแกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์กเลย