ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าฟรีดริช เอากุสท์ที่ 3 แห่งซัคเซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าฟรีดริช เอากุสท์ที่ 3
กษัตริย์แห่งซัคเซิน
ครองราชย์15 ตุลาคม 1904 – 13 พฤศจิกายน 1918
ก่อนหน้าพระเจ้าเกออร์ค
ถัดไปสิ้นสุดระบอบกษัตริย์
ประสูติ25 พฤษภาคม ค.ศ. 1865(1865-05-25)
เดรสเดิน ราชอาณาจักรซัคเซิน สมาพันธรัฐเยอรมัน
สวรรคต18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932(1932-02-18) (66 ปี)
ซีบึลเลอนอร์ท, เสรีรัฐปรัสเซีย, ประเทศเยอรมนี
คู่อภิเษกลูอีเซอแห่งออสเตรีย
พระราชบุตรมกุฎราชกุมารเกออร์ค
มาร์คกราฟฟรีดริช คริสทีอัน แห่งไมเซิน
เจ้าชายแอนสท์ ไฮน์ริช
เจ้าหญิงมารีอา อาลิกซ์ คาโรลา
เจ้าหญิงมาร์กาเรเทอ คาโรลา
เจ้าหญิงมารีอา อาลิกซ์ แห่งซัคเซิน
เจ้าหญิงอันนา
ราชวงศ์ราชวงศ์เว็ททีน
พระราชบิดาพระเจ้าเกออร์ค
พระราชมารดามาเรีย อันนา แห่งโปรตุเกส
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระเจ้าฟรีดริช เอากุสท์ที่ 3 (เยอรมัน: Friedrich August III) พระนามเต็ม ฟรีดริช เอากุสท์ โยฮัน ลูทวิช คาร์ล กุสทัฟ เกรกอร์ ฟีลิพ แห่งซัคเซิน (เยอรมัน: Friedrich August Johann Ludwig Karl Gustav Gregor Philipp von Sachsen) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรซัคเซิน ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์เว็ททีน

พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าเกออร์คแห่งซัคเซินกับพระนางมาเรีย อันนา แห่งโปรตุเกส พระองค์เข้ารับราชการในกองทัพซัคเซินในปีค.ศ. 1877 ตั้งแต่ก่อนขึ้นเป็นกษัตริย์ และได้เลื่อนยศทหารจนถึงจอมพลแห่งจักรวรรดิเยอรมันในปีค.ศ. 1912 เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติในปีค.ศ. 1904 ก็ทรงปฏิรูปประเทศในหลายด้าน ทั้งในด้านรัฐบาล, การงบประมาณ, สิทธิลงคะแนนเสียง, การศึกษาภาคบังคับ แม้จะทรงเป็นกษัตริย์ที่ประชาชนรักใคร่ แต่พระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติโดยสมัครใจในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 หลังจักรวรรดิเยอรมันพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

หลังสละราชสมบัติ พระองค์ทรงย้ายไปพำนักในเมืองซีบึลเลอนอร์ทใกล้กับเบร็สเลา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศโปแลนด์)[1] แถบชายแดนตะวันออกของประเทศ พระองค์ใช้ชีวิตที่นั่นอย่างสำราญสมฐานะอดีตกษัตริย์ พระองค์โปรดการเสด็จพระพาสต่างทวีป ทรงเสด็จประพาสอเมริกาเหนือ, บราซิล และอินเดีย พระองค์พยายามไม่ยุ่งหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองใดๆ พระองค์เสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1932

อ้างอิง

[แก้]
  1. Walter Fellmann: Sachsens letzter König, Friedrich August III. Berlin 1992, S. 194 f.; Friedrich Kracke: Friedrich August III. Sachsens volkstümlichster König. Ein Bild seines Lebens und seiner Zeit. München 1964, S. 149 f.; Lothar Machtan: Die Abdankung. Wie Deutschlands gekrönte Häupter aus der Geschichte fielen. DTV, München 2016, S. 308–310.