พระเจ้าโช ไท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โช ไท)
พระเจ้าโช ไท
พระมหากษัตริย์รีวกีว
ครองราชย์8 มิถุนายน 1848 – 11 มีนาคม 1879
รัชกาลก่อนหน้าโช อิกุ
รัชกาลถัดไปสิ้นสุด
ประสูติ3 สิงหาคม ค.ศ. 1843(1843-08-03)
ชุริ อาณาจักรรีวกีว
พิราลัยสิงหาคม 11, 1901(1901-08-11) (58 ปี)
โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
พระอัครมเหสีซะชิกิ อะจิกะนะชิ (โอะโมะมะสึรุงะเนะ)
พระชายา
ดูรายชื่อ
  • มะสึกะวะ อะจิ (มะสึรุงะเนะ)
    ฮิระระ อะจิ (มะสึรุงะเนะ)
    ยะมะโมะโตะ เทะอุ
    คะตะยะ เต
    มะสึโมะโตะ โค
    ทะนะกะ โค
    คันดะ นะสึ
    ทะนะกะ ฮะนะ
พระราชบุตร
ดูรายพระนาม
  • โช เท็ง
    โช อิง
    โช โค
    โช จุง
    โช ชู
    เจ้าหญิงมะสึรุงะเนะ
    เจ้าหญิงมะนะเบะตะรุ
    เจ้าหญิงมะกิชิ
    เจ้าหญิงคะเดะกะรุ
    โช ฮิงะริ
    โช โทะกิ
    เจ้าหญิงมะซะโกะ
    เจ้าหญิงยะเอะโกะ
    เจ้าหญิงชิโยะโกะ
    เจ้าหญิงคิมิโกะ
    เจ้าหญิงซะโยะโกะ
    เจ้าหญิงซุซุโกะ
    เจ้าหญิงซะดะโกะ
ราชวงศ์โชที่สอง
พระราชบิดาโช อิกุ
พระราชมารดาซะชิกิ อะจิกะนะชิ (เก็นไต)

โช ไท (ญี่ปุ่น: 尚泰โรมาจิShō Tai; พินอิน: Shang Tai; 3 สิงหาคม ค.ศ. 1843 – 11 สิงหาคม ค.ศ. 1901) เป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรรีวกีว (ครองราชย์ 8 มิถุนายน 1848 – 10 ตุลาคม 1872) และเป็นผู้นำแคว้นรีวกีว (10 ตุลาคม 1872 – 11 มีนาคม 1879) สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในรัชสมัยของพระองค์คือ อาณาจักรรีวกีวมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกจำนวนมาก โดยมากจะมาจากทวีปยุโรปและสหรัฐ และอีกประการหนึ่งคืออาณาจักรรีวกีวถูกยุบเป็นแคว้นรีวกีวในยุคสมัยของพระองค์ ภายหลังได้จัดตั้งเป็นจังหวัดโอะกินะวะในกาลต่อมา[1][2]

ในปี ค.ศ. 1879 พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ก่อนถูกย้ายไปประทับในโตเกียว กระทั่งทางการญี่ปุ่นได้แต่งตั้งให้อดีตพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ขึ้นเป็นขุนนางชั้นโคชะกุ (侯爵; คะโซะกุชั้นสอง เทียบมาร์ควิสของตะวันตก) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1885 เพื่อเป็นการชดเชย[3][4]

โช ไทพิราลัยเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1901 สิริพระชันษา 58 พรรษา พระบรมศพถูกบรรจุไว้ ณ สุสานหลวงทะมะอุดุง สมาชิกพระราชวงศ์ทำการไว้อาลัยตามโบราณราชประเพณีเป็นระยะเวลาสองปี[5]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. "Shō Tai." Okinawa rekishi jinmei jiten (沖縄歴史人名事典, "Encyclopedia of People of Okinawan History"). Naha: Okinawa Bunka-sha, 1996. p 42.
  2. Kerr. p 381.
  3. Papinot, Jacques. (2003). Nobiliare du Japon – Sho, p. 56 (PDF@60); see also Papinot, Jacques Edmond Joseph. (1906). Dictionnaire d’histoire et de géographie du Japon.
  4. Kerr. p 397.
  5. Kerr. pp 452-3.
บรรณานุกรม
  • Kerr, George H. Okinawa: The History of an Island People (revised ed.). Tokyo: Tuttle Publishing, 2003.
  • "Shō Tai." Okinawa rekishi jinmei jiten (沖縄歴史人名事典, "Encyclopedia of People of Okinawan History"). Naha: Okinawa Bunka-sha, 1996. p 42.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โช ไท