ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดลำปาง"

พิกัด: 18°17′N 99°29′E / 18.29°N 99.48°E / 18.29; 99.48
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Teerapong2536 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nednai.Lukmaenim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31: บรรทัด 31:


}}
}}
'''จังหวัดลำปาง''' ({{lang-nod|ᩃᩴᩣᨻᩣ᩠ᨦ}}) เป็น[[จังหวัด]]หนึ่งใน[[ภาคเหนือ]]ตอนบน ภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และภูเขาสูง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเดิมว่า '''เขลางค์นคร''' เป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า '''เมืองรถม้า'''
'''จังหวัดลำปาง''' ({{lang-nod|ᩃᩴᩣᨻᩣ᩠ᨦ}}) ({{lang-lo|ລຳປາງ}}) เป็น[[จังหวัด]]หนึ่งใน[[ภาคเหนือ]]ตอนบน ภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และภูเขาสูง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเดิมว่า '''เขลางค์นคร''' เป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า '''เมืองรถม้า'''


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:14, 2 กรกฎาคม 2557

ความหมายอื่นของ ลำปาง ดูที่ ลำปาง (แก้ความกำกวม)
จังหวัดลำปาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Lampang
คำขวัญ: 
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น
เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล
ฝึกช้างใช้ลือโลก

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดลำปางเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายธานินทร์ สุภาแสน
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2556)
พื้นที่
 • ทั้งหมด12,533.961 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 10
ประชากร
 (พ.ศ. 2556)
 • ทั้งหมด754,862 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 33
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 69
รหัส ISO 3166TH-52
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้กระเจา (ขะจาว)
 • ดอกไม้ธรรมรักษา
ศาลากลางจังหวัด
เว็บไซต์http://www.lampang.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดลำปาง (ไทยถิ่นเหนือ: ᩃᩴᩣᨻᩣ᩠ᨦ) (ลาว: ລຳປາງ) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และภูเขาสูง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเดิมว่า เขลางค์นคร เป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า

ประวัติ

ลำปางเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในล้านนา เป็นจุดศูนย์รวมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนาอันโดดเด่น สมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรล้านนารวมไปถึงนครลำปางได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามานานนับสองร้อยปี ดังนั้นสถาปัตยกรรม วัดวาอาราม โบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองลำปางจึงได้รับอิทธิพลของศิลปะพม่าเห็นได้อย่างชัดเจน อาทิ วัดศรีชุม วัดพระแก้วดอนเต้าฯ ช่วงสมัยพม่าปกครองอาณาจักรล้านนารวมไปถึงเมืองลำปางไม่ได้สร้างคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง มิหนำซ้ำยังกระทำการย่ำยีข่มเหงชาวบ้านจนทำให้ชาวเมืองเกลียดชังไปทั่ว จนกระทั่งได้เกิดวีรบุรุษผู้กล้าแห่งบ้านปกยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) นามว่า เจ้าพ่อทิพย์ช้าง ท่านได้รวบรวมชาวเมืองขับไล่พม่าพ้นเมืองลำปางได้สำเร็จ พร้อมกันนี้ชาวเมืองจึงพากันสถาปนาท่านขึ้นเป็นเจ้าเมืองลำปาง มีพระนามว่า พญาสุวฤๅไชยสงคราม เวลานั้นเมืองลำปางเป็นเมืองเดียวในล้านนาที่ปราศจากอำนาจปกครองจากพม่า

กาลเวลาต่อมาลูกหลานของท่านได้กอบกู้เอกราชขับไล่พม่าจากแผ่นดินล้านนา และได้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำพูน น่าน และต้นตระกูลของท่านมีนามปรากฏในพงศาวดารว่าราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูประบอบการปกครองเป็นระบอบมณฑล เมืองลำปางขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพ (เมืองเชียงใหม่) และต่อมาแยกออกไปเป็นมณฑลมหาราษฎร์[3] ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนแปลงเป็นจังหวัด เมืองลำปางจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

พื้นที่ติดต่อ

จังหวัดลำปางมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกธรรมรักษา (Heliconia sp.)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: กระเจา หรือกระเชา หรือในภาษาถิ่นว่า ขะจาว (Holoptelea integrifolia)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล อนุรักษ์ช้างไทยให้ลือโลก

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 100 ตำบล 855 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองลำปาง
  2. อำเภอแม่เมาะ
  3. อำเภอเกาะคา
  4. อำเภอเสริมงาม
  5. อำเภองาว
  6. อำเภอแจ้ห่ม
  7. อำเภอวังเหนือ
  1. อำเภอเถิน
  2. อำเภอแม่พริก
  3. อำเภอแม่ทะ
  4. อำเภอสบปราบ
  5. อำเภอห้างฉัตร
  6. อำเภอเมืองปาน
 แผนที่

เทศบาล

อำเภอเมืองลำปาง

  1. เทศบาลนครลำปาง อำเภอเมืองลำปาง
  2. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง
  3. เทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมืองลำปาง
  4. เทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง
  5. เทศบาลตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง

อำเภอเกาะคา

  1. เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา
  2. เทศบาลตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา
  3. เทศบาลตำบลศาลา อำเภอเกาะคา

อำเภอห้างฉัตร

  1. เทศบาลตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร
  2. เทศบาลตำบลห้างฉัตรแม่ตาล อำเภอห้างฉัตร
  3. เทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร
  4. เทศบาลตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร

อำเภอแจ้ห่ม

  1. เทศบาลตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม
  2. เทศบาลตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม
  3. เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม

อำเภองาว

  1. เทศบาลตำบลหลวงเหนือ อำเภองาว
  2. เทศบาลตำบลหลวงใต้ อำเภองาว

อำเภอเสริมงาม

  1. เทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม
  2. เทศบาลตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม

อำเภอวังเหนือ

  1. เทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ
  2. เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอวังเหนือ

อำเภอเถิน

  1. เทศบาลตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน
  2. เทศบาลตำบลเถินบุรี อำเภอเถิน
  3. เทศบาลตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน
  4. เทศบาลตำบลแม่มอก อำเภอเถิน

อำเภอแม่พริก

  1. เทศบาลตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก
  2. เทศบาลตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก
  3. เทศบาลตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก

อำเภอสบปราบ

  1. เทศบาลตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ

อำเภอแม่ทะ

  1. เทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ
  2. เทศบาลตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ
  3. เทศบาลตำบลสิริราช อำเภอแม่ทะ
  4. เทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ
  5. เทศบาลตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ

อำเภอแม่เมาะ

  1. เทศบาลตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ

อำเภอเมืองปาน

  1. เทศบาลตำบลเมืองปาน อำเภอเมืองปาน

การคมนาคม

ทางบก

จังหวัดลำปางอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 600 กิโลเมตร การเดินทางทางบกสะดวกสบายมากจากกรุงเทพมหานคร จากเส้นทางสายเอเชีย(ถนนพหลโยธิน) ผ่าน พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก เข้าสู่ลำปาง ถนนเป็นถนนสี่เส้นทางการจราจรตลอดทาง หรือใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11แยกจากถนนพหลโยธิน ที่ จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านพิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ เข้าสู่ลำปาง สิ้นสุดปลายทางที่ เชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางรถส่วนตัวประมาณ 7-8 ชั่วโมง รถบัสประจำทางจากกรุงเทพฯ-ลำปาง ขึ้นได้ที่สถานีหมอชิตใหม่ มีรถให้เลือกหลายบริษัทหลายระดับเช่นกัน ทั้ง บขส. สมบัติทัวร์ สยามเฟิร์สทัวร์ นิววิริยะยานยนต์ทัวร์ วิริยะทัวร์ พรพิริยะทัวร์

ในอนาคตจะมี ทางหลางพิเศษหมายเลข 5 ถนนมอเตอร์เวย์ปางปะอิน-เชียงใหม่

ทางรถไฟ

ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีรถไฟหลายชั้นหลายระดับให้เลือกตั้งแต่สปรินเตอร์-รถนอนปรับอากาศ-รถพัดลมธรรมดา ลงที่สถานีรถไฟนครลำปาง

ทางอากาศ

นั่งเครื่องบินใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีจากกรุงเทพฯ ลงที่ท่าอากาศยานลำปางได้เลย

สายการบินในประเทศ

รถโดยสารประจำทางระหว่างต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร

  • สาย 91 กรุงเทพ-ลำปาง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ สยามเฟิร์สทัวร์ พรพิริยะทัวร์ นิววิริยะทัวร์
  • สาย 1 กรุงเทพ-เชียงใหม่ (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ โชครุ่งทวีทัวร์
  • สาย 13 กรุงเทพ-ฝาง-บ้านท่าตอน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-เชียงใหม่-แม่ริม-ฝาง-แม่อาย-บ้านท่าตอน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. นิววิริยะทัวร์
  • สาย 18 กรุงเทพ-เชียงใหม่ (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ สยามเฟิร์สทัวร์ พรพิริยะทัวร์ นิววิริยะทัวร์ เชิดชัยทัวร์
  • สาย 924 กรุงเทพ-ลำพูน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-ลำพูน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. เชิดชัยทัวร์
  • สาย 964 กรุงเทพ-ดอยเต่า-จอมทอง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-เถิน-ลี้-ดอยเต่า-จอมทอง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส.
  • สาย 9911 กรุงเทพ-ลำพูน (ข) (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-เถิน-ลี้-ลำพูน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส.
  • สาย 90 กรุงเทพ-เชียงราย (ก) (กรุงเทพ-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์ สยามเฟิร์สทัวร์ เชิดชัยทัวร์ หนานคำทัวร์
  • สาย 659 ระยอง-พัทยา-เชียงใหม่ (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (รถด่วนพิเศษ VIP) (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 587 อุบลราชธานี-เชียงใหม่ (อุบลฯ-ศรีสะเกษ-สุรินทร์-บุรีรัมย์-บัวใหญ่-ชัยภูมิ-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 636 เชียงใหม่-อุดรธานี (อุดรธานี-หนองบัวลำภู-วังสะพุง-เลย-ภูเรือ-ด่านซ้าย-นครไทย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ จักรพงษ์ทัวร์
  • สาย 155 พิษณุโลก-เชียงใหม่ (สายเก่า) (พิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-เถิน-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์ ศรีทะวงค์ทัวร์
  • สาย 132 พิษณุโลก-เชียงใหม่ (สายเก่า) (พิษณุโลก-สุโขทัย-สวรรคโลก-ทุ่งเสลี่ยม-เถิน-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 623 พิษณุโลก-เชียงใหม่ (สายใหม่) (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 114 นครสวรรค์-เชียงใหม่ (นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครสวรรค์ยานยนต์ (ถาวรฟาร์มทัวร์)
  • สาย 175 ขอนแก่น-เชียงใหม่ (สายเก่า) (ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-เถิน-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ อีสานทัวร์ ภูหลวงทรานสปอร์ตทัวร์
  • สาย 633 ขอนแก่น-เชียงใหม่ (สายใหม่) (ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ อีสานทัวร์ สมบัติทัวร์
  • สาย 635 นครราชสีมา-เชียงใหม่ (นครราชสีมา-สีคิ้ว-โคกสำโรง-ตากฟ้า-เขาทราย-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยทัวร์
  • สาย 779 ภูเก็ต-เชียงใหม่ (ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร-ประจวบฯ-หัวหิน-ชะอำ-เพชรบุรี-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ ไทยพัฒนนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 148 เชียงใหม่-ลำปาง-เชียงราย (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 149 เชียงใหม่-ลำปาง-แม่สาย (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย-แม่จัน-แม่สาย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 1661 เชียงใหม่-ลำปาง-เชียงราย-สามเหลี่ยมทองคำ (ข) (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย-แม่จัน-เชียงแสน-สามเหลี่ยมทองคำ) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 146 ลำปาง-เชียงราย (ลำปาง-งาว-พะเยา-แม่ใจ-พาน-เชียงราย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 147 เชียงใหม่-พาน (เชียงใหม่-ลำปาง-งาว-พะเยา-แม่ใจ-พาน) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 145 ลำปาง-เชียงใหม่ (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ห้างฉัตร-ลำปาง) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 672 แม่สาย-แม่สอด (แม่สาย-แม่จัน-เชียงราย-เวียงป่าเป้า-เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-เถิน-บ้านตาก-ตาก-แม่สอด) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 1693 ลำปาง-แพร่ (ลำปาง-แม่แขม-เด่นชัย-สูงเม่น-แพร่) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด (รถตู้ปรับอากาศ)
  • สาย 144 ลำปาง-แพร่ (ลำปาง-ม.ราชภัฏลำปาง-แม่ทะ-แม่แขม-ลอง-แพร่) บริษัท นครลำปางเดินรถ จำกัด (รถตู้ปรับอากาศ)
  • สาย 167 ลำปาง-เชียงราย (ลำปาง-แจ้ห่ม-วังเหนือ-เวียงป่าเป้า-แม่สรวย-เชียงราย) บริษัท นครลำปางเดินรถ จำกัด

โครงการในอนาคต

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 หรือ ถนนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-เชียงใหม่ (ช่วงเด่นชัยลำปาง และ มอเตอร์เวย์ลำปาง-เชียงใหม่) เป็นโครงข่ายการขยายเส้นทางการคมนาคมจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดในกลุ่มภาคเหนือ โดยผ่าน จังหวัพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาถ นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน ไปสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยช่วงที่ผ่านจังหวัดลำปาง ได้ใช้เส้นทางร่วมกับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 มาจากอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เข้าสู่จังหวัดลำปาง ผ่านอำเภอแม่ทะ จนมาถึงแยกโยนก หน้ามหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง อำเภอเมืองลำปาง แล้วเลี้ยวซ้าย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เดิม แล้วเปลี่ยน มาเป็นทางยกระดับ โดยใช้พื้นที่เกาะกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ไปเรื่อยๆ (ไม่มีทางขึ้น-ลงใดๆ) จนมาถึงสี่แยกภาคเหนือ จุดตัด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน เหนือ-ใต้ และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แนวออก-ตก

รถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

ตามแนวรถไฟสายเหนือ เดิม แต่จะสร้างทางวิ่งคู่ขนานกันไปจนถึงจังหวัดเชียงใหม่

ลำปางโทลเวย์

ลำปางโทลเวย์ หรือ ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนพหลโยธิน จังหวัดลำปาง เป็นโครงการก่อสร้างทางยกระดับ เหนือถนนพหลโยธิน อำเภอเมืองลำปาง ระยะทาง 10.8 กิโลเมตร โดยใช้พื้นที่เกาะกลางถนนพหลโยธิน พร้อมก่อสร้างทางขึ้นลง 5 จุด เป็นทางขึ้น 3 จุด ทางลง 2 จุด และก่อสร้างทางคู่ขนานถนนพหลโยธินเพิ่มจากเดิม รวมถึงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับบริเวณสี่แยกภาคเหนือ ซึ่งตัดกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (โครงการในอนาคต ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2570)

นิคมอุตสาหกรรมนครลำปาง

นิคมอุตสาหกรรมนครลำปาง เป็นโครงการ พัฒนาแรงงานในพื้นที่จังหวัดลำปางและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ การวิจัย สำรวจความคิดเห็น ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อเสนอแนะของหลายๆฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

อาคารสิรินธรารัตน์ (ตึกโดมแก้ว) มธ.ศูนย์ลำปาง

โรงเรียน

พระอารามหลวง

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

อุทยานแห่งชาติทางบก

ประเพณีของจังหวัดลำปาง

  • ประเพณีแห่สลุงหลวง
  • ประเพณีสงกรานต์
  • ประเพณีขันโตกช้าง
  • งานเซรามิคแฟร์
  • งานหลวงเวียงละคอน
  • งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้าลำปาง
  • งานมอเตอร์โชว์
  • งานเทศกาลปลาและอาหาร
  • งานกลองปูจา
  • ล่องสะเปาจาวเวียงละกอน

ชาวลำปางที่มีชื่อเสียง

พระเกจิอาจารย์

  • หลวงพ่อเกษม เขมโก พระนักปฏิบัติสายกรรมฐานที่มีชื่อเสียงมากของภาคเหนือและประเทศไทย
  • หลวงพ่อพระครูสุนันทนวกิจ(ครูบาบุ) เป็นพระเถระ ที่ชาวอำเภอแม่พริก และอำเภอใกล้เคียงศรัทธาเลื่อมใส เป็นพระที่ยอมเสียสละทุกอย่างเพื่องานพระศาสนาและสังคม พระครูสุนันทนวกิจ (ครูบาบุ) ฉายา สุนนโท วัด แม่พริกลุ่ม อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง
  • ครูบาเจ้านันตา นันโท (คำอ้าย นันโท) ปรมาจารย์แห่งสำนักวัดทุ่งม่านใต้ จังหวัดลำปาง เป็นเอกองค์ปรมจารย์แห่งเครื่องรางของขลังของล้านนา จัดว่าเป็นบรมครูในการสร้างกระลาตาเดียวของทางเหนือ

เจ้านายฝ่ายเหนือ

นักการเมือง

ข้าราชการ นักวิชาการ

บุคคลในวงการบันเทิง

กีฬา

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

18°17′N 99°29′E / 18.29°N 99.48°E / 18.29; 99.48