จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดปทุมธานี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Pathum Thani |
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: อนุสรณ์สถานแห่งชาติ, นิทรรศการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ, เครื่องเล่นทอร์นาโดที่ดรีมเวิลด์, มหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย, องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, สระน้ำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
คำขวัญ: ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | สมคิด จันทมฤก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 1,525.856 ตร.กม. (589.136 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 70 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 1,219,199 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 16 |
• ความหนาแน่น | 799.03 คน/ตร.กม. (2,069.5 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 4 |
รหัส ISO 3166 | TH-13 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | เมืองปทุม |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ทองหลางลาย |
• ดอกไม้ | บัวหลวง |
• สัตว์น้ำ | ปลาบู่ทราย |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | เลขที่ 1 ถนนปทุมธานีเฉลิมพระเกียรติ ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000[3] |
• โทรศัพท์ | 0 2581 3886, 0 2581 6038 |
เว็บไซต์ | www |
ปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี)[4] เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร เทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัดคือเทศบาลเมืองปทุมธานี แต่เทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดคือเทศบาลนครรังสิต ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี[5]
ประวัติศาสตร์
[แก้]จังหวัดปทุมธานีมีความเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เมื่อ พ.ศ. 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคกอีก และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า "มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน จากชุมชนขนาดเล็ก บ้านสามโคกจึงกลายเป็น เมืองสามโคก ในเวลาต่อมา
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองสามโคก เป็น เมืองประทุมธานี และเมื่อ พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" และให้เปลี่ยนการสะกดชื่อใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" กลายเป็น จังหวัดปทุมธานี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีจึงได้แบ่งการปกครองเป็น 7 อำเภอดังเช่นปัจจุบัน
ภูมิศาสตร์
[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]จังหวัดปทุมธานีตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทยและเป็น 1 ใน 5 จังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดข้างเคียง คือ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางไทร อำเภอบางประอิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแค และอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอบ้านนา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายกและอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางบัวทองและอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
การเมืองการปกครอง
[แก้]หน่วยการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]จังหวัดปทุมธานีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ออกเป็น 7 อำเภอ 60 ตำบล 529 หมู่บ้าน แต่หากไม่นับรวมหน่วยการปกครองในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครซึ่งยุบเลิกตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว จะมีทั้งหมด - ตำบล - หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดปทุมธานี มีรายชื่อและข้อมูลทั่วไปดังนี้
แผนที่ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ [# 1][6] |
ชื่ออำเภอ | พื้นที่ (ตร.กม.)[7] |
ห่างจากศาลากลางจังหวัด (ก.ม.)[8][9] |
ก่อตั้ง (พ.ศ.) |
ตำบล [# 2] |
หมู่บ้าน [# 3] |
ประชากร (คน) (พ.ศ. 2566) |
1 | เมืองปทุมธานี | 120.151 | - | 14 | 81 | 220,791 | |
2 | คลองหลวง | 299.152 | 22.1 | 7 | 71 | 300,949 | |
3 | ธัญบุรี | 112.124 | 18.1 | 6 | 12 | 217,355 | |
4 | หนองเสือ | 413.632 | 57.9 | 7 | 69 | 56,676 | |
5 | ลาดหลุมแก้ว | 188.12 | 17.9 | 7 | 61 | 72,157 | |
6 | ลำลูกกา | 297.71 | 39.4 | 8 | 114 | 294,207 | |
7 | สามโคก | 94.967 | 8.1 | 11 | 58 | 57,064 |
- ↑ เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
- ↑ รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
- ↑ เฉพาะหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร (ทั้งเต็มหมู่และบางส่วน) เท่านั้น สำหรับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ให้ดูในบทความของแต่ละอำเภอ
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]พื้นที่จังหวัดปทุมธานีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 65 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 10 แห่ง เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 36 แห่ง[10]
ลำดับ | ชื่อเทศบาล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.)[# 1] |
อำเภอ | ครอบคลุมตำบล | ประชากร (คน) (ณ สิ้นปี 2562)[2] | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งตำบล | บางส่วน | รวม | ||||||||||||||
เทศบาลนคร | ||||||||||||||||
1 | 21.42[11] |
2554 | ธัญบุรี | 1 | – | 1 | 85,260
| |||||||||
เทศบาลเมือง | ||||||||||||||||
2 (1) | 8.89 | 2479 | เมืองปทุมธานี | 1 | – | 1 | 23,633
| |||||||||
3 (2) | 11.53[13] |
2539[14] | ลำลูกกา | – | 1 | 1 | 44,274
| |||||||||
4 (3) | 60.81[15] |
2544[16] | คลองหลวง | – | 2 | 2 | 78,108
| |||||||||
5 (4) | 43.19[17] |
2547[18] | คลองหลวง | – | 2 | 2 | 62,615
| |||||||||
6 (5) | 43.08 |
2547[19] | ธัญบุรี | 2 | – | 2 | 31,350
| |||||||||
7 (6) | 11.65[20] |
2550[21] | ลำลูกกา | – | 1 | 1 | 66,003
| |||||||||
8 (7) | 20.47 [22] |
2554[23] | เมืองปทุมธานี | 1 | – | 1 | 28,349
| |||||||||
9 (8) | 15.07[24] |
2554[25] | ธัญบุรี | 1 | – | 1 | 32,708
| |||||||||
10 (9) | 31.10[26] |
2554[27] | ลำลูกกา | 1 | – | 1 | 65,906
| |||||||||
11 (10) | 8.30[28] |
2563[29] | เมืองปทุมธานี | 1 | – | 1 | 13,987
| |||||||||
เทศบาลตำบล | ||||||||||||||||
12 (1) | 32.62 | 2542 | ธัญบุรี | 2 | – | 2 | 62,990
| |||||||||
13 (2) | 14.60 | 2542 | ลำลูกกา | – | 2 | 2 | 18,377
| |||||||||
14 (3) | 2.74 | 2542 | ลำลูกกา | – | 1 | 1 | 2,657
| |||||||||
15 (4) | 15.66 | 2542 | หนองเสือ | – | 1 | 1 | 2,901
| |||||||||
16 (5) | 5.51 | 2542 | เมืองปทุมธานี | – | 3 | 3 | 7,019
| |||||||||
17 (6) | 23.41 | 2542 | สามโคก | – | 1 | 1 | 10,828
| |||||||||
18 (7) | 18.74 | 2542 | ลาดหลุมแก้ว | – | 1 | 1 | 10,445
| |||||||||
19 (8) | 11.21 | 2550 | เมืองปทุมธานี | 1 | – | 1 | 21,883
| |||||||||
20 (9) | 14.64 | 2551 | ลาดหลุมแก้ว | 1 | – | 1 | 7,995
| |||||||||
21 (10) | 5.87 | 2554 | สามโคก | 1 | – | 1 | 6,963
| |||||||||
22 (11) | 15.15 | 2554 | ลาดหลุมแก้ว | 1 | – | 1 | 6,000
| |||||||||
23 (12) | 10.81 | 2554 | เมืองปทุมธานี | – | 1 | 1 | 14,756
| |||||||||
24 (13) | 6.21 | 2554 | เมืองปทุมธานี | 1 | – | 1 | 14,557
| |||||||||
25 (14) | 9.42 | 2554 | เมืองปทุมธานี | 1 | – | 1 | 25,509
| |||||||||
26 (15) | 9.19 | 2554 | เมืองปทุมธานี | 1 | – | 1 | 14,447
| |||||||||
27 (16) | 9.32 | 2554 | เมืองปทุมธานี | 1 | – | 1 | 12,326
| |||||||||
28 (17) | 10.53 | 2563[30] | สามโคก | 1 | – | 1 | 6,260
| |||||||||
29 (18) | 64.9 | 2563 | หนองเสือ | 1 | – | 1 | 11,131
|
- ↑ หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด
[แก้]
|
|
รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
[แก้]ลำดับ | รายชื่อ | เริ่มดำรงตำแหน่ง | สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2543 | |
2 | นายสุพจน์ ชัยสดมภ์ | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2547 | |
3
(1-3) |
นายชาญ พวงเพ็ชร์ | 14 มีนาคม พ.ศ. 2547 | 13 มีนาคม พ.ศ. 2551 | นายก อบจ. จากการเลือกตั้งครั้งแรก |
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | 5 มีนาคม พ.ศ. 2555 | ลาออกก่อนครบวาระ[31] | ||
22 เมษายน พ.ศ. 2555 | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | |||
4 (1) | พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 | ลาออกก่อนครบวาระ[32] |
3
(4) |
นายชาญ พวงเพ็ชร์ | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567 |
ได้รับใบเหลืองจาก กกต.[33] |
4 (2) | พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง | 22 กันยายน พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน |
รายชื่อสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
[แก้]สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี[34] | |||||
---|---|---|---|---|---|
เขต | ชื่อ | สังกัด[35] | หมายเหตุ | ||
เมืองปทุมธานี | เขต 1 | บุญลือ อยู่ยืน | กลุ่มคนรักปทุม | – | |
เขต 2 | สุเทพ สมใจ | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 3 | ว่าง | ว่าง | – | ||
เขต 4 | พรรณทอง นพขำ | กลุ่มปทุมรักไทย | – | ||
เขต 5 | เสนีย์ มูลขำ | อิสระ | เลือกตั้งซ่อม 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 | ||
เขต 6 | ทนงศักดิ์ อาภาโรจนกิจ | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
คลองหลวง | เขต 1 | ประเสริฐ ภาคีผล | กลุ่มปทุมรักไทย | – | |
เขต 2 | อารีย์ ใจแคล้ว | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 3 | ร้อยตำรวจเอก ภูวดล มงคลพิทักษ์กุล | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 4 | ศุภชัย เรืองศรี | กลุ่มปทุมรักไทย | – | ||
เขต 5 | วรรณลภย์ ติวารี | กลุ่มปทุมรักไทย | – | ||
เขต 6 | สมพร บุญมา | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 7 | สัญชาติ คุระนันท์ | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 8 | ไพโรจน์ ประจักษ์แจ้ง | กลุ่มปทุมรักไทย | – | ||
เขต 9 | ณัฐรุจา คุ้มทรัพย์ | อิสระ | – | ||
ธัญบุรี | เขต 1 | เอกชัย กลิ่นกุสุม | กลุ่มปทุมรักไทย | – | |
เขต 2 | ชนภัทร นันทกาวงศ์ | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 3 | สมศักดิ์ เกียรติพัฒนาชัย | กลุ่มคนรักปทุม | เลือกตั้งซ่อม 26 มีนาคม 2566 | ||
เขต 4 | ชุมพล คุ้มวงศ์ | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 5 | เกวลิน หลีนวรัตน์ | กลุ่มธัญญก้าวหน้า | เลือกตั้งซ่อม 26 มีนาคม 2566 | ||
เขต 6 | วิธาร์ รังสิวัฒนศักดิ์ | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
หนองเสือ | เขต 1 | สุริยา ธรรมธารา | กลุ่มคนรักปทุม | – | |
เขต 2 | สมบัติ วงศ์กวน | กลุ่มปทุมรักไทย | – | ||
ลาดหลุมแก้ว | เขต 1 | สมร แตงอ่อน | กลุ่มคนรักปทุม | – | |
เขต 2 | ชัยวัฒน์ อินทร์เลิศ | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
ลำลูกกา | เขต 1 | เตชิต มั่นหรั่ง | กลุ่มคนรักปทุม | – | |
เขต 2 | ภิรมณ์ ตลับทอง | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 3 | วิรัช แดงกลาง | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 4 | สำเริง อุริต | กลุ่มปทุมรักไทย | – | ||
เขต 5 | ปกเกษ คงเขียว | อิสระ | – | ||
เขต 6 | ประภาส สุกเอี่ยม | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 7 | คณาธิป ใจกระสันติ | อิสระ | เลือกตั้งซ่อม | ||
เขต 8 | โอภาส รักหอม | กลุ่มคนรักปทุม | – | ||
เขต 9 | สายเทพ จันบางพลี | กลุ่มปทุมรักไทย | – | ||
สามโคก | เขต 1 | พิชัย ตาลอ่อน | กลุ่มปทุมรักไทย | – | |
เขต 2 | สวง สีเขียว | กลุ่มปทุมรักไทย | – |
ประชากร
[แก้]ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2549 | 856,790 | — |
2550 | 896,843 | +4.7% |
2551 | 929,250 | +3.6% |
2552 | 956,376 | +2.9% |
2553 | 985,643 | +3.1% |
2554 | 1,010,898 | +2.6% |
2555 | 1,033,837 | +2.3% |
2556 | 1,053,158 | +1.9% |
2557 | 1,074,058 | +2.0% |
2558 | 1,094,249 | +1.9% |
2559 | 1,111,376 | +1.6% |
2560 | 1,129,115 | +1.6% |
2561 | 1,146,092 | +1.5% |
2562 | 1,163,604 | +1.5% |
2563 | 1,176,412 | +1.1% |
2564 | 1,190,060 | +1.2% |
2565 | 1,201,532 | +1.0% |
2566 | 1,219,199 | +1.5% |
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[36] |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เศรษฐกิจ
[แก้]จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีพื้นที่การเกษตร 506,678 ไร่ หรือร้อยละ 53.03 ของพื้นที่จังหวัด (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2546) ในปัจจุบัน นอกจากการเกษตรแล้ว จังหวัดยังเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีนิคมอุตสาหกรรมกระจายอยู่ทั้งจังหวัด โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมเกือบร้อยละ 70 ของจังหวัดมาจากภาคอุตสาหกรรม (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2543)
พื้นที่การเกษตรมีอยู่ในทุกอำเภอ และมีมากที่สุดในเขตอำเภอหนองเสือ อำเภอลำลูกกา อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอคลองหลวงตามลำดับ โดยพื้นที่ของจังหวัดจะมีการทำการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นที่นา ไม้ผล และไม้ยืนต้น ตามลำดับ
จังหวัดปทุมธานีมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2543 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 2,064,288 บาทต่อปี นับว่าสูงเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ รองจากจังหวัดระยอง ชลบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และจังหวัดภูเก็ต มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่า 118,489 ล้านบาท รายได้สูงสุดขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 69.32 คิดเป็นมูลค่า 82,136 ล้านบาท รองลงมา คือ ภาคบริการ ร้อยละ 7.688 คิดเป็นมูลค่า 9,102 ล้านบาท และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ร้อยละ 5.12 คิดเป็นมูลค่า 6,071 ล้านบาท โดยพื้นที่เขตอำเภอคลองหลวงมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่นมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว และ อำเภอสามโคก ส่วนพื้นที่ที่มีโรงงานน้อยที่สุดได้แก่ อำเภอหนองเสือ
ตลาดขายส่งที่สำคัญในจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดพูนทรัพย์ ตลาดรังสิต นอกจากนี้ ยังมีนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร อำเภอคลองหลวง, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี, และเทคโนธานี อำเภอคลองหลวง (ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ตั้งของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)
โครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]สาธารณสุข
[แก้]
|
|
การศึกษา
[แก้]รายชื่อสถาบันการศึกษาในจังหวัดปทุมธานีมีดังนี้
|
|
- โรงเรียน
- ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี
- สถาบันวิจัย
|
|
กีฬา
[แก้]- สมาคมกีฬาจังหวัดปทุมธานี (สก ปท.)
- สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
- สโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด
- สโมสรกีฬาราชประชา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ 2.0 2.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=13&statType=1&year=66 2566. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ ติดต่อหน่วยงาน - เว็บไซด์จังหวัดปทุมธานี เก็บถาวร 2022-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2.pathumthani.go.th สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ "Population Statistics 2008". Department of Provincial Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
Pathum Thani town population 18,843; Rangsit town population 76,843
- ↑ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). "รหัสพื้นที่ อำเภอ อ้างอิง จากกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ปี 2553 รหัสจังหวัดบึงกาฬยังไม่แน่ชัด รอการปรับปรุงข้อมูลจากกรมการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.codi.or.th/gis/index.php?option=com_phocadownload&view=category&id=7:2011-05-06-08-03-29&Itemid=10 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ พื้นที่ของแต่ละอำเภอในจังหวัดปทุมธานี เว็บไซต์โครงการลดการใช้พลังงานในภาครัฐ สำนักนโยบาย และแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน e-report.energy.go.th สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
- ↑ "ค้นหาระยะทาง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.novabizz.com/Map/%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ. เก็บถาวร 2014-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
- ↑ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
- ↑ เทศบาลนครรังสิต. "ข้อมูลภาพรวมของเทศบาลนครรังสิต." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://rangsit.org/local2.php เก็บถาวร 2013-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ เทศบาลเมืองปทุมธานี. " ประวัติความเป็นมาของเทศบาลเมืองปทุมธานี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nmt.or.th/pathum/MuangPathum/Lists/List39/AllItems.aspx เก็บถาวร 2014-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ เทศบาลเมืองคูคต. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://khukhot.go.th/index.php?page=about&name=condition สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (5 ก): 4–6. 6 มีนาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-10.
- ↑ เทศบาลเมืองท่าโขลง. "ข้อมูลทั่วไปในเทศบาล." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaklong-phathumtani.go.th/th/page/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5_16.html เก็บถาวร 2014-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองท่าโขลง พ.ศ. ๒๕๔๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (93 ก): 25–26. 9 ตุลาคม 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-10.
- ↑ เทศบาลเมืองคลองหลวง. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.khlongluang.go.th/center/website/management/website_dragdrop/index_menu.php?site=130&page_id=1183&control= เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง เก็บถาวร 2009-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษที่ 84 ง วันที่ 14 กันยายน 2548 หน้า 6
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (พิเศษ 78 ง): 1–2. 19 กรกฎาคม 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-10.
- ↑ เทศบาลเมืองลำสามแก้ว. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.lamsamkaeo.go.th/data.php?menu_id=28 เก็บถาวร 2014-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำสามแก้ว และจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองลำสามแก้ว. 19 กรกฎาคม 2550.
- ↑ เทศบาลเมืองบางคูวัด. " ลักษณะที่ตั้ง เนื้อที่ อาณาเขต." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bkw.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539407903 สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลเมืองบางคูวัด.
- ↑ เทศบาลเมืองบึงยี่โถ. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.buengyitho.go.th/aboutus.htm เก็บถาวร 2012-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลเมืองบึงยี่โถ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (พิเศษ 13 ง): 44. 11 มกราคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2014-04-10.
- ↑ เทศบาลเมืองลาดสวาย. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ladsawai.go.th/about/15/[ลิงก์เสีย] สืบค้น 10 เมษายน 2557.
- ↑ กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลเมืองลาดสวาย.
- ↑ เทศบาลเมืองบางกะดี. "ลักษณะที่ตั้ง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bangkadi.go.th/public/location/data/index/menu/24 เก็บถาวร 2014-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 8 กันยายน 2563.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลเมืองบางกะดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 204 ง): 10. 8 กันยายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2020-09-08.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอเมืองสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลตำบลเชียงรากใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 112 ง): 2. 13 พฤษภาคม 2563.
- ↑ "รอบรั้วไทย". posttoday. 2012-03-09.
- ↑ "มีผลวันนี้ "คำรณวิทย์" พ้นตำแหน่งนายก อบจ.ปทุมธานี". Thai PBS.
- ↑ "กกต.สั่งเลือกตั้งใหม่ อบจ.ปทุมธานี "ชาญ พวงเพ็ชร" โดนใบเหลือง". Thai PBS.
- ↑ "สมาชิกสภาองค์กรบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี".
- ↑ "บัญชีรายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีเเละสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี".
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2021-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่แสดงจำนวนสถาบันอุดมศึกษาของแต่ละจังหวัด พ.ศ. 2544 เขต 1 เก็บถาวร 2005-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Pathumthani Expo 2005 เก็บถาวร 2005-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
14°01′N 100°31′E / 14.02°N 100.52°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดปทุมธานี
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย