ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
19 มีนาคม 2567
ก่อนหน้าสยาม ศิริมงคล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
คู่สมรสกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม
ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเล่นติ๊ก

ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม (เกิด 23 กรกฎาคม 2510) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการการประปานครหลวง[1] อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทยควบตำแหน่งโฆษกกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี

ประวัติ[แก้]

ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม มีชื่อเล่นว่า ติ๊ก เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2510 ที่บ้านบุงคล้า ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนบ้านวังสะพุง เนื่องจากที่บ้านมีฐานะยากจน ทำให้ต้องไปสมัครสอบเทียบชั้น ม. 3 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย โดยเรียนควบคู่ไปกับการศึกษาผู้ใหญ่ภาคค่ำของกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนเลยพิทยาคม จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[2] ต่อมาเขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 และระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะและสถาบันเดียวกัน[3]

รับราชการ[แก้]

นายชัยวัฒน์เริ่มต้นรับราชการเป็นปลัดอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จนได้ขยับขึ้นมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี[4] โดยนายชัยวัฒน์เริ่มเป็นขวัญใจชาวโซเชียลในสมัยที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลยซึ่งเป็นจังหวัดบ้านเกิดเมื่อปั่นจักรยานไปทำงานทุกวันเพื่อเป็นตัวอย่างแก่คนในจังหวัด พอย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีได้สละเงินเดือน ๆ ละ 72,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือนเพื่อสมทบช่วยเหลือชาวบ้านในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จากนั้นจึงได้ขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทยควบตำแหน่งโฆษกกระทรวงมหาดไทย[3] ต่อมาในวันที่ 18 กันยายน 2566 ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนแทนนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ที่ขยับไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง[5] จากนั้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 นายชัยวัฒน์ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาแทนนายสยาม ศิริมงคล ที่สลับมาเป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ฐานเศรษฐกิจ (2024-01-09). "ครม. ตั้ง "ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม" นั่งประธานบอร์ด กปน.ชุดใหม่". thansettakij.
  2. "ศธ.ตามติดชีวิตไอดอลกศน.เมืองดอกบัวจากเด็กยากจนก้าวเป็นผู้ว่าฯ". posttoday. 2021-02-08.
  3. 3.0 3.1 เปิดประวัติ "ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม" โฆษก มท. คนล่าสุด ไม่ธรรมดา
  4. เปิดเส้นทาง ‘ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม’ บากบั่นชีวิตจากอดีตเด็กถีบสามล้อ สู่ อธิบดี พช.
  5. ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง รวม 24 ตำแหน่ง
  6. ครม.แต่งตั้งโยกย้าย 10 บิ๊ก มท. "สยาม" อธิบดี พช. - "ชัยวัฒน์" ผู้ว่าฯโคราช
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๔๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๙๘, ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๑๓๖, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐