ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ21 ธันวาคม พ.ศ. 2452
สิ้นพระชนม์24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (90 ปี)
พระสวามีหม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล
พระบุตรหม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล
หม่อมราชวงค์ถวัลย์มงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์สุมาลยมงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
ราชสกุลบริพัตร (โดยประสูติ)
โสณกุล (โดยเสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พระมารดาหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์
ศาสนาพุทธ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน (21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 — 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน เรียกโดยลำลองว่า "ท่านพระองค์หญิงสี่" หรือ "ท่านพระองค์สี่"[1] ประสูติเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 เป็นพระธิดาพระองค์ที่ห้าในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ เมื่อแรกประสูติมีพระยศที่ หม่อมเจ้าจุไรรัตนศิริมาน มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระมารดาเจ็ดพระองค์ และมีเจ้าน้องต่างพระมารดาอีกสามพระองค์ [2] ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทั้งสายเมื่อปี พ.ศ. 2454[3] หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมานตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตไปที่เมืองบันดุง หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์[4]

ก่อนเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมานนิวัตประเทศไทย เพื่อเสกสมรสกับ พลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล[4] พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา มีพระโอรส-ธิดาสี่คน ได้แก่

  1. หม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น สมรสและหย่ากับอมรา เหรียญสุวรรณ
  2. หม่อมราชวงค์ถวัลย์มงคล โสณกุล สมรสกับสันทนา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม หงสกุล) มีบุตรสองคน
  3. หม่อมราชวงศ์สุมาลย์มงคล โสณกุล สมรสกับจุลเสถียร โชติกเสถียร มีบุตรสามคน
  4. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล สมรสและหย่ากับรัชนี คชเสนี และสมรสใหม่กับบูลย์วิภา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองไข่มุกข์) มีบุตรจากการสมรสครั้งแรกหนึ่งคน และครั้งที่สองสองคน

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน เป็นคนไทยที่เปิดร้านอาหารไทยร้านแรกในประเทศอังกฤษ ชื่อร้าน Siam Rice ในกรุงลอนดอน เมื่อกว่า 40 ปีก่อน สูตรอาหารของพระองค์ได้รับการเรียบเรียงในหนังสือ "ตำรากับข้าว พระองค์เจ้าจุไรรัตนฯ และวังบางขุนพรหม" เขียนโดยหม่อมราชวงศ์สุมาลย์มงคล พระธิดา[5]

ในปัจฉิมวัยพระองค์ประชวรด้วยพระโรคเส้นพระโลหิตในไขพระสมองอุดตัน, โรคพระหทัย, ทางเดินพระปัสสาวะอักเสบ และไขพระสมองเสื่อม ไม่สามารถเคลื่อนไหวและรับสั่งได้ ปี พ.ศ. 2538 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงมีคำสั่งให้พระองค์เป็นบุคคลไร้ความสามารถ อยู่ในความอนุบาลของหม่อมราชวงศ์สุมาลย์มงคล และหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล[6]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สิริพระชันษา 90 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำสรงพระศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 — 6 มกราคม พ.ศ. 2454 : หม่อมเจ้าจุไรรัตนศิริมาน
  • 6 มกราคม พ.ศ. 2454 — 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. วิรัช จาตุรงคกุล. "ชีวิตในวังของสกุลจาตุรงคกุล". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพิสิฐสบสมัย. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2517. 50 หน้า.
  3. "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. 4.0 4.1 ฟ้ารุ่ง ศรีขาว (23 กุมภาพันธ์ 2565). "เปิดชีวิตข้าหลวงจากรั้ววังบางขุนพรหม อยู่กับ "เจ้านาย" อย่างไร หลัง 2475". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. วลัญช์ สุภากร (17 พฤษภาคม 2556). "เรียงมาลาออกมาเป็นจาน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง คนไร้ความสามารถ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (99ง): 37. 12 ธันวาคม พ.ศ. 2538. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 (ตอน 22 ข): หน้า 8. 4 ธันวาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2535" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 (ตอนที่ 154): ฉบับพิเศษ หน้า 16. 4 ธันวาคม 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2522" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 (ตอนที่ 93): ฉบับพิเศษ หน้า 2247. 31 พฤษภาคม 2522. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตต์ภายใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 หน้า 1971 วันที่ 23 มิถุนายน 2474
  11. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43: หน้า 4300. 24 กุมภาพันธ์ 2469 (นับสากล 2470). สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)