วัดเจติยาคีรีวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเจติยาคีรีวิหาร
เจดีย์วัดภูทอก
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก)
ที่ตั้งบ้านคำแคนพัฒนา หมู่ที่ 6 ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายธรรมยุต
เจ้าอาวาสพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
ความพิเศษวัดสายพระป่า
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ตั้งอยู่ที่บ้านคำแคนพัฒนา หมู่ที่ 6 ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ 43210 มีฐานะเป็นวัดราษฎร์

สภาพของวัด[แก้]

วัดเจติยาคิรีวิหาร หรือ ภูทอกมีขนาดความสูง โดยวัดจากฐานถึงยอด 460 เมตร มีบันไดเรียงขึ้นตามชั้นต่าง ๆ 7 ชั้น และฐานชั้นที่ 6 วัดโดยรอบได้ 800 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันมีที่ธรณีสงฆ์ 78 ไร่ 3 งาน 18 ตารางวา

ทิศเหนือ ยาว 192 เส้น 15 วา ติดต่อกับภูทอกใหญ่

ทิศใต้ ยาว 190 เส้น 10 วา ติดต่อกับถนนบ้านนาต้อง–บ้านศรีวิไล

ทิศตะวันออก ยาว 40 เส้น 10 วา ติดกับถนน ร.พ.ช. สายบึงกาฬ–บ้านโพธิ์หมากแข้ง

ทิศตะวันตก ยาว 35 เส้น 15 วา ติดกับทุ่งนาบ้านนาคำแคน–บ้านนาสะแบง

สิ่งดึงดูดใจ[แก้]

[[ไฟล์:ภูทอก3.jpg|200px|thumbnail|left|ภูทอก เป็นภูเขาที่เป็นหินปูน] วัดเจติยาคิรีวิหาร หรือ ภูทอก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483 โดยพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ได้มาบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูวัว อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย คืนหนึ่งได้เกิดนิมิตรขึ้นเห็นปราสาท 2 หลัง ลักษณะสวยงามมากอยู่ทางด้านภูทอกน้อย ดังนั้นพระอาจารย์จวนกุลเชฎโฐ จึงได้เดินทางมาพิสูจน์ตามที่เกิดนิมิตร และได้พบลักษณะภูมิประเทศที่สวยงานร่มรื่น เหมาะที่จะปฏิบัติธรรม จึงได้สำรวจ และปักกรดอยู่ที่ ถ้ำบนภูทอก กับพระครูศริธรรมวัฒน์ ต่อมาชาวบ้านคำแคนเห็นพระอาจารย์จวน ธุดงภ์มาอยู่ที่ภูทอก จึงพร้อมใจกันอารธนาให้สร้างวัด ขึ้นที่ภูทอก

ใน พ.ศ. 2512 ชาวบ้านนาคำแคนได้มาช่วยกันสร้างบันได้ขึ้นภูทอก จนถึงชั้นที่ 5–6 และได้ปลูกสร้างเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์อยู่ถึง 2 เดือน 10 วัน จึงเสร็จ

ใน พ.ศ. 2513–2514 พระอาจารย์จวน กุลเชตุโฐ ได้ชักชวนชาวบ้าน สร้างทำนบกั้นน้ำขึ้น 2 แห่ง เพื่อใช้เก็บกักน้ำ และจัดระบบน้ำประปาขึ้นภายในวัดภูทอก

นอกจากนั้น กองทัพอากาศดอนเมืองได้ถวายเครื่องไฟฟ้าแรงสูง สำหรับใช้ ภายในวัด 1 เครื่อง กรมวิเทศสหการได้ถวายพระพุทธรูป หล่อขนาดใหญ่เป็นประธาน 1 องค์ ไว้ที่วิหารชั้น 5 และบรรดาญาติโยมได้ช่วยกันสมทบทุนสร้างโรงฉัน และศาลาที่ชั้น 1 หลัง พร้อมกับการก่อสร้างสะพานลอยฟ้าไปรอบ ๆ ภูทอกในชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 และได้สร้างสถานที่บำเพ็ญเพียรภาวนา แทรกไว้ตาม จุดต่าง ๆ โดยรอบหน้าผา สิ้นค่าก่อสร้าง 45,000 บาท ซึ่งการก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะเป็นการเจาะหินทำนั่งร้านด้วยไม้ เนื้อแข็ง 2 ท่อน ผูกติดกับเสาที่ปักไม้เท้าแขนลงไปแล้วจึงพาดไม้กระดานเป็นสะพานที่ละช่วง ๆ ละประมาณ 1 เมตรเศษ ระหว่างคาน จะมีคานรองรับอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้สะพานแข็งแรงมาก นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นอย่างยิ่ง และเมื่อวันที่ 27 เมษายน พุทธศักราช 2523 พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐได้รับนิมนต์ไปกรุงเทพฯ และได้ประสพอุบัติเหตุเครื่องบินตก ถึงแก่มรณภาพ สิริรวมอายุได้ 59 ปี 9 เดือน 18 วัน 38 พรรษา

พ.ศ. 2513 ได้ปรับปรุงการสร้างสะพานใน ชั้นที่ 5 โดยทำทางเดินให้เสมอกันและ ขยายให้กว้างขึ้น

พ.ศ. 2517 ได้ปรับปรุงสะพานในชั้นที่ 6 และทำสะพานในชั้นที่ 4 ให้อยู่ในสภาพที่ ใช้การได้ดี

พ.ศ. 2519 ได้จัดทำนบกั้นน้ำในเขตวัดและจัดทำถังน้ำบนภูเขาในชั้นที่ 5 และกุฎิ พระภิกษุ สามเณร กุฎิแม่ชี บนชะง่อนเขาในชั้นที่ 5 เพื่อให้ญาติโยมได้พักอาศัยด้วย

พ.ศ. 2523 ได้จัดทำถนนรอบภูเขา 3 ลูก คือ ภูทอกน้อย ภูทอกใหญ่ และภูสิงห์น้อยเพื่อ เป็นการกั้นเขตแดนวัด

ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว[แก้]

วัดเจติยาคิรีวิหาร หรือภูทอก อยู่ห่างจากเมืองหนองคาย 186 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 หนองคาย–บึงกาฬ–ศรีวิไล เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนพระปริญัติธรรม แผนกธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองคาย ที่มีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางไปท่องเที่ยว เป็นจำนวนมาก

นอกจากนั้นยังมีเจดีย์พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ สร้างด้วยคอนกรีต เสริมเหล็กประดับด้วยหินอ่อนขนาดกว้าง 16 เมตร สูง 31 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]