อำเภอบึงโขงหลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบึงโขงหลง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bueng Khong Long
บึงโขงหลง
คำขวัญ: 
ภูลังกา ไร่ยา สวนนก
น้ำตก สวนยาง เส้นทางสุดแดน
แผนที่จังหวัดบึงกาฬ เน้นอำเภอบึงโขงหลง
แผนที่จังหวัดบึงกาฬ เน้นอำเภอบึงโขงหลง
พิกัด: 17°58′0″N 104°2′42″E / 17.96667°N 104.04500°E / 17.96667; 104.04500
ประเทศ ไทย
จังหวัดบึงกาฬ
พื้นที่
 • ทั้งหมด398.152 ตร.กม. (153.727 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด37,692 คน
 • ความหนาแน่น94.67 คน/ตร.กม. (245.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 38220
รหัสภูมิศาสตร์3806
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบึงโขงหลง ตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ 38220
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บึงโขงหลง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬซึ่งแยกออกมาจากจังหวัดหนองคายตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบึงโขงหลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติ[แก้]

บึงโขงหลงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กิ่งอำเภอบึงโขงหลง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 และยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอบึงโขงหลง เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 มีพื้นที่ส่วนหนึ่งติดแม่น้ำโขง แต่เดิมเป็นอำเภออยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดหนองคาย หลังจากพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 18 ก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 แยกพื้นที่ 8 อำเภอได้แก่ บึงกาฬ เซกา โซ่พิสัย บุ่งคล้า บึงโขงหลง ปากคาด พรเจริญ และศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคายรวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ อำเภอบึงโขงหลงจึงกลายเป็น 1 ใน 8 อำเภอของจังหวัดบึงกาฬตั้งแต่บัดนั้นมา

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบึงโขงหลง แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 57 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[2]
1. บึงโขงหลง Bueng Khong Long
17
10,982
2. โพธิ์หมากแข้ง Pho Mak Khaeng
16
13,003
3. ดงบัง Dong Bang
11
6,553
4. ท่าดอกคำ Tha Dok Kham
13
7,217

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบึงโขงหลงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบึงโขงหลง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบึงโขงหลงและตำบลโพธิ์หมากแข้ง
  • เทศบาลตำบลบึงงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงโขงหลง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบึงโขงหลง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์หมากแข้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์หมากแข้ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบึงโขงหลง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงบังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดอกคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าดอกคำทั้งตำบล

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

บึงโขงหลง เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของโลก อันดับที่ 1,098 ของโลก (Wetland of International Importance) ในปี พ.ศ. 2544 [3]มีชายหาดคำสมบูรณ์สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและเล่นน้ำ อยู่ห่างจากตัวอำเภอบึงโขงหลงเพียง 3 - 4 กิโลเมตร มีบริการร้านอาหารบริเวณรอบบึง เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีปรากฏการณ์คล้ายพญานาคเล่นน้ำในบึงโขงหลง ซึ่งสื่อมวลชนจำนวนมากได้เสนอข่าวดังกล่าว[4][5] และมีการทำนายว่า วันออกพรรษาจะมีปรากฏการณ์พญานาคเล่นน้ำในบึงโขงหลงอีกครั้ง และอาจจะเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคในบึงโขงหลง ซึ่งโดยทั่วไปบั้งไฟพญานาคจะขึ้นในแม่น้ำโขงในจังหวัดหนองคายในวันออกพรรษาของทุกปี

นอกจากนั้นยังมีภูลังกาและสถานที่สวยงามบนภูหลายแห่ง เช่น เจดีย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เจดีย์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร พระแกะสลักบนหน้าผาภูลังกา น้ำตก และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกหลายแห่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-11-10.
  2. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  3. lovethailand.org
  4. http://www.youtube.com/watch?v=pq5jC0txVCU
  5. http://www.youtube.com/watch?v=WGta_Te-9cE