ไตรรงค์ ติธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไตรรงค์ ติธรรม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มกราคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสนางภิรมย์รัตน์ ติธรรม

นายไตรรงค์ ติธรรม (เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2501) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย รวม 3 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

ไตรรงค์ ติธรรม เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายคล่อง และนางตุ้ม ติธรรม มีพี่น้อง 8 คน สำเร็จการศึกษาศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางภิรมย์รัตน์ ติธรรม มีบุตร 2 คน

งานการเมือง[แก้]

ไตรรงค์ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เขตอำเภอเซกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคายติดต่อกันมาหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง อาทิ พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535) และ พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคชาติไทย

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 ไตรรงค์ได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในสังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) ต่อมามีการตราพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 [1]มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยถือให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 2 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ส่งผลให้นายไตรรงค์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของจากจังหวัดบึงกาฬ (ร่วมกับนายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ และนายยุทธพงษ์ แสงศรี)

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562 ไตรรงค์ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งทั้ง 2 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ไตรรงค์ ติธรรม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดหนองคายจังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-15.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]