หินสามวาฬ
หน้าตา
หินสามวาฬ | |
---|---|
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 300 เมตร (984 ฟุต) |
พิกัด | 18°15′04″N 103°48′50″E / 18.2510130°N 103.8139376°E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | จังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย |
หินสามวาฬ เป็นกลุ่มหินอายุ 75 ล้านปีซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู จังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย เป็นหน้าผาหินทรายขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายกับวาฬพ่อแม่ลูกสามตัวว่ายน้ำเคียงกัน[1][2] มีเพียงพ่อวาฬและแม่วาฬเท่านั้นที่สามารถเดินเท้าเข้าถึงได้[3]
หินสามวาฬเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับชมวิวและกางเต็นท์พักแรมโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว[4][5] อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูฝน เส้นทางเข้าถึงหินสามวาฬมีสภาพเป็นดินโคลนซึ่งทำให้เดินทางเข้าถึงได้ยากลำบาก[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ภูสิงห์ (หินสามวาฬ)". thailandtourismdirectory.go.th. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.
- ↑ "Thailand's tourism goes green" – National Geographic
- ↑ "The navel of the Mekong" – Bangkok Post, 29 October 2020
- ↑ "นทท.แวะกางเต็นท์ชมพระอาทิตย์บนหินสามวาฬ จ.บึงกาฬ คึกคัก". ไทยรัฐออนไลน์. 2017-01-03. สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.
- ↑ "ถึงฤดูท่องเที่ยว ลมหนาวมาแล้ว นทท.แห่ปีนหินสามวาฬ ชมวิวสองฝั่งโขง". ไทยรัฐออนไลน์. 2020-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.
- ↑ "หยุดยาวเที่ยวบึงกาฬ นทท.ขึ้นหินสามวาฬทุลักทุเลทางเป็นโคลน จ่อปิด 17 พ.ค.นี้". ไทยรัฐออนไลน์. 2022-05-14. สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.