เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบึงกาฬ เขต 1
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสนางสุจิตรา ราชป้องขันธ์

นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2497) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย รวม 3 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายผง และนางทองสี ราชป้องขันธ์ มีพี่น้อง 6 คน สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา วิทยาลัยครูอุดรธานี และการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สมรสกับนางสุจิตรา มีบุตร 2 คน

งานการเมือง[แก้]

อดีตเป็นข้าราชการครู ในพื้นที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย เข้าสู่วงการการเมืองเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ต่อมามีการตราพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 [1] มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยถือให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 2 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ส่งผลให้นายเชิดพงศ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของจากหวัดบึงกาฬ (ร่วมกับนายไตรรงค์ ติธรรม และนายยุทธพงษ์ แสงศรี)

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นายเชิดพงศ์ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยเอาชนะนายสงกรานต์ คำพิไสย์ จากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และนางแว่นฟ้า ทองศรี ภรรยานายทรงศักดิ์ ทองศรี จากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[2]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดหนองคายจังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-15.
  2. หนองคายภูมิใจไทย-เพื่อไทยฟัดกันนัว สนามใหม่บึงกาฬวัดบารมี “พินิจ”[ลิงก์เสีย]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๒๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]