ราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราชวงศ์ที่สาม)
ราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์

ราว 2686 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 2613 ปีก่อนคริสตกาล
พีระมิดแห่งดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์
เมืองหลวงเมมฟิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
ราว 2686 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ราว 2613 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์
วิหารบูชาพระบรมศพแห่งดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์

ราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์แรกในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า รวมถึงราชวงศ์อื่น ๆ ของสมัยราชอาณาจักรเก่า ได้แก่ ราชวงศ์ที่สี่ ห้า และหก เมืองหลวงในสมัยอาณาจักรเก่าอยู่ที่เมืองเมมฟิส

ประวัติราชวงศ์[แก้]

หลังจากความวุ่นวายในช่วงปลายราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ ซึ่งอาจจะรวมถึงสงครามกลางเมือง อียิปต์เข้ามาอยู่ในช่วงรัชสมัยการปกครองของฟาโรห์ดโจเซอร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์[1] ทั้งในบันทึกพระนามแห่งตูรินและบันทึกพระนามแห่งอไบดอสได้บันทึกพระนามของฟาโรห์ทั้งหมดจำนวน 5 พระองค์[2] ในขณะที่บันทึกพระนามแห่งซักกอเราะฮ์ซึ่งบันทึกไว้แค่เพียงจำนวน 4 พระองค์ และมาเนโธได้บันทึกถึงจำนวนฟาโรห์ 9 พระองค์[3] ซึ่งฟาโรห์หลายพระองค์ตามมาเนโธนั้นอาจจะทรงไม่มีตัวตนหรืออาจจะเป็นเพียงแค่ฟาโรห์พระองค์เดียวกันที่มีหลายพระนาม

  • มาเนโธ ซึ่งบันทึกพระนามของฟาโรห์เนเคอร์โรเฟส (เนบคา), โทซอธรอส (ดโจเซอร์), ทิเรอิส (ดโจเซอร์ติ/เซคเอมเคต), เมโซคริส (ซานัคต์, น่าจะเป็นพระองค์เดียวกับฟาโรห์เนบกา), โซอิฟิส (ดโจเซอร์), โทเซอร์ทาซิส (ดโจเซฮร์ติ/เซคเอมเคต), อาเคส (เนบทาวี เนบคาเร แต่ไม่น่าเป็นไปได้กับฟาโรห์คาบา ซึ่งอาจจะไม่มีตัวตน), เซฟูริส (กาเฮดเจต) และเคอร์เฟเรส (ฮูนิ)

หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าฟาโรห์คาเซคเอมวีทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สอง ซึ่งสืบพระราชบัลลังก์ต่อโดยฟาโรห์ดโจเซอร์ ซึ่งในเวลานั้นปรากฏเพียงพระนามฮอรัสนามว่า เนทเจริเคต เท่านั้น ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ดโจเซอร์ คือ ฟาโรห์เซคเอมเคต ซึ่งทรงพระนามเนบติว่า ดเจเซอร์ติ ฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์คือ ฟาโรห์ฮูนิ ซึ่งอาจจะเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์กาเฮดเจต หรืออาจจะเป็นไปได้น้อยกว่าคือ ฟาโรห์คาบา ซึ่งมีพระนามฮอรัสจำนวนสามพระองค์ที่เหลืออยู่ของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สามที่ทราบก็คือ ซานัคต์ คาบา และกาเฮดเจต โดยหนึ่งในสามพระองค์นี้ เป็นไปได้มากที่สุดว่าฟาโรห์ซานัคต์จะทรงพระนามเนบติว่า เนบคา[2]

การระบุช่วงเวลากับราชวงศ์ที่สามก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยากเช่นเดียวกัน ซึ่งชอว์กำหนดช่วงเวลาโดยประมาณตั้งแต่ 2686 ถึง 2613 ปีก่อนคริสตกาล[4] บันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุว่าราชวงศ์ที่สามขึ้นมาปกครองอียิปต์ประมาณ 75 ปี ส่วนเบนส์และมาเล็คกำหนดให้ราชวงศ์ที่สามอยู่ในช่วงระหว่าง 2650–2575 ปีก่อนคริสตกาล[2] ในขณะที่ด็อดสันและฮิลตันกำหนดให้อยู่ในช่วง 2584–2520 ปีก่อนคริสตกาล จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การประมาณการเหล่านี้จะแตกต่างกันมากกว่าหนึ่งศตวรรษ[1]

นักวิชาการบางคนเสนอแหล่งกำเนิดทางใต้ของราชวงศ์ที่สาม ฟลินเดอรส์ เพตรี นักไอยคุปต์วิทยา เชื่อว่าราชวงศ์ที่สามมีต้นกำเนิดมาจากซูดานตามหลักฐานเชิงสัญลักษณ์ ในขณะที่ เอส. โอ. วาย. เคย์ตา นักมานุษยวิทยาชีวภาพมีมุมมองที่แตกต่างออกไปและแย้งว่าต้นกำเนิดในอียิปต์ตอนใต้นั้น “มีความเป็นไปได้พอๆ กัน”[5] ซึ่งอ้างถึงการศึกษาทางรังสีเอกซ์และมานุษยวิทยาก่อนหน้านี้ซึ่งชี้ให้เห็นว่าขุนนางจากราชวงศ์ที่สามมี "ความสัมพันธ์กับนิวเบีย" ผู้เขียนยังตีความภาพเหมือนของฟาโรห์ดโจเซอร์ว่ามีความคล้ายคลึงเล็กน้อยกับ "ภาพเหมือนของผู้พิชิตชาวกรีก/โรมันในช่วงปลายราชวงศ์" และอ้างถึงการทบทวนหลักฐานเชิงสัญลักษณ์ที่ดำเนินการโดยนักมานุษยวิทยา จอห์น เดรค เป็นหลักฐานสนับสนุน[6] ในบทความแยกต่างหาก เคย์ตาตั้งข้อสังเกตว่าซากโบราณคดีของชนชั้นสูงทางใต้และลูกหลานของพวกเขา ซึ่งกล่าวถึงโดยอ้างถึงผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สองและฟาโรห์ดโจเวอร์ ในที่สุดก็ถูกฝังพระบรมศพไว้ทางตอนเหนือ ไม่ใช่ที่อไบดอสของประเทศอียิปต์[7]

รายนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สาม[แก้]

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สามทรงปกครองอียิปต์เป็นเวลาประมาณ 75 ปี เนื่องจากการค้นพบทางโบราณคดีเมื่อเร็วๆ นี้ในอไบดอส โดยเปิดเผยว่า ฟาโรห์ดโจเซอร์ทรงเป็นผู้จัดการพิธีฝังพระบรมศพของฟาโรห์คาเซคเอมวี ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สอง ปัจจุบันจึงเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า ฟาโรห์ดโจเซอร์ทรงเเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สาม ในฐานะผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์คาเซคเอมวี และเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างสุสานของพระองค์[8] การค้นพบดังกล่าวกลับขัดแย้งกับงานเขียนก่อนหน้านี้ เช่น วิลกินสัน ในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเสนอความเห็นว่า ฟาโรห์เนบคา/ซานัคต์ ทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ขึ้น อย่างไรก็ตาม ทั้งสองไม่ได้ห่างกันทางสายโลหิตมากนัก ทั้งสองอาจจะเป็นเชื้อพระวงศ์ร่วมกับฟาโรห์เซคเอมเคต[9][10] ในฐานะพระราชโอรสของฟาโรห์คาเซคเอมวีกับพระนางนิมาอัตฮัป พระมเหสีผู้เป็นที่โปรดปรานของพระองค์

ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์
พระนามฮอรัส พระนามประสูติ จำนวนปีที่ทรงครองราชย์ สถานที่ฝังพระบรมศพ พระมเหสี
เนทเจริเคต ดโจเซอร์ 19 หรือ 28 พีระมิดแห่งดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์ เฮเทปเฮอร์เนบติ
เซคเอมเคต ดโจเซอร์ติ 6–7 พีระมิดที่ถูกฝังที่ซักกอเราะฮ์ ดเจเซเรตเนบติ
ซานัคต์ เนบคา 6–28 ปี, ขึ้นอยู่กับการระบุตัวตน ซึ่งอาจจะเป็นไปได้มากว่า 6, 18, หรือ 19 ปี อาจจะที่มาสตาบา เค 2 ที่เบอิต คัลลัฟ
คาบา เตติ 6 ? 24, ถ้าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ฮูนิ พีระมิดขั้นบันไดที่ซาวเยต อัล'อัรยัน
ไม่แน่ชัด, กาเฮดเจต? ฮูนิ 24 ไมดุม ? ดเจฟัตเนบติเมอร์เอสอังค์ที่ 1

ในขณะที่มาเนโธได้ให้ฟาโรห์เนเคโรเฟส และฟาโรห์เนบคา (หรือฟาโรห์ซานัคต์) ตามบันทึกพระนามแห่งตูริน เป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สาม[2] นักไอยคุปต์วิทยาร่วมสมัยหลายคนเชื่อว่า ฟาโรห์ดโจเซอร์เป็นฟาโรห์องค์แรกของราชวงศ์นี้ โดยชี้ให้เห็นลำดับที่ผู้ปกครองก่อนหน้าบางพระองค์ของฟาโรห์คูฟู ถูกกล่าวถึงในบันทึกปาปิรุสเวสต์คาร์ ซึ่งเสนอให้ว่าควรวางตำแหน่งรัชสมัยของฟาโรห์เนบคาไว้ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์ดโจเซอร์และฟาโรห์ฮูนิและไว้วางไว้ก่อนหน้ารัชสมัยฟาโรห์ดโจเซอร์ ที่สำคัญกว่านั้น มีการพบตราประทับปรากฏพระนามของฟาโรห์ดโจเซอร์ที่ทางเข้าสุสานของฟาโรห์คาเซคเอมวีที่อไบดอส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าควรเป็นฟาโรห์ดโจเซอร์แทนที่จะเป็นฟาโรห์ซานัคต์ที่จะเป็นผู้จัดการการฝังพระบรมศพและสืบพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์[2] ผู้จดบันทึกพระนามแห่งตูรินได้เขียนพระนามของฟาโรห์ดโจเซอร์ด้วยหมึกสีแดง ซึ่งบ่งชี้ว่าชาวอียิปต์โบราณรับรู้ถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของฟาโรห์พระองค์นี้ในวัฒนธรรมของพวกเขา ไม่ว่าในกรณีใด ฟาโรห์ดโจเซอร์เป็นฟาโรห์ที่รู้จักกันดีที่สุดของราชวงศ์นี้ สำหรับการทรงโปรดให้ราชมนตรีอิมโฮเทปสร้างพีระมิดขั้นบันไดที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่

การระบุตัวตนของฟาโรห์เนบคากับฟาโรห์ซานัคต์นั้นยังคลุมเครืออยู่ แม้ว่านักไอยคุปต์วิทยาหลายคนยังคงสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่ว่าฟาโรห์ทั้งสองพระองค์นี้นั้นเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกัน แต่ก็มีความขัดแย้งเกิดขึ้นเนื่องจากความคิดเห็นดังกล่าวขัดกับหลักฐานที่เป็นตราดินเหนียวที่แตกเป็นเสี่ยงๆ ชิ้นเดียวที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1903 โดยจอห์น การ์สแตง แม้ว่าได้รับความเสียหาย แต่ตราประทับก็แสดงให้เห็นเซเรคของฟาโรห์ซานัคต์พร้อมกับคาร์ทูชที่ปรากฏรูปแบบของเครื่องหมายของคำว่า "คา" โดยมีที่ว่างเพียงพอสำหรับเครื่องหมายสำหรับ "เนบ" ระยะเวลาการครองราชย์ของฟาโรห์เนบคาถูกกำหนดไว้ที่ 18 ปีโดยทั้งในมาเนโธและบันทึกพระนามแห่งตูริน แม้ว่าสิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าแหล่งข้อมูลเหล่านี้เขียนขึ้นหลังจากมีพระชนม์ชีพของพระองค์ 2300 และ 1400 ปี ดังนั้นความแม่นยำนั้นจึงไม่แน่นอน ตรงกันข้ามกับฟาโรห์ดโจเซอร์ ทั้งฟาโรห์ซานัคต์และฟาโรห์เนบคาได้รับการยืนยันว่ามีวัตถุโบราณน้อยมากสำหรับผู้ปกครองที่ปกครองเกือบสองทศวรรษ บันทึกพระนามแห่งตูรินได้ให้กำหนดช่วงเวลาการปครองเพียงหกปีกับผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์ฮูนิที่ไม่ปรากฏพระนาม โทบี วิลกินสันได้เสนอความเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวควรจะเป็นของฟาโรห์ซานัคต์ (ซึ่งระบุตัวตนโดยสรุปว่าเป็นฟาโรห์เนบคา) เนื่องจากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีอยู่ไม่มากนักของพระองค์ แต่ก็อาจเป็นระยะเวลาการครองราชย์ของฟาโรห์คาบา หรือแม้แต่ฟาโรห์กาเฮดเจต ผู้ทรงเป็นฟาโรห์ที่มีตัวตนคลุมเครือ (วิลกินสันยังกำหนดให้ฟาโรห์เนบคาเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สามก่อนหน้าฟาโรห์ฮูนิ แต่ก็ไม่ได้เป็นที่ทราบแน่ชัดหรือแม้แต่การสนับสนุนอย่างท่วมท้นในหมู่ชาวไอยคุปต์วิทยา)

นักวิชาการบางคนเชื่อว่าอิมโฮเทปมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของฟาโรห์ฮูนิ ส่วนฟาโรห์เซคเอมเคตกลับไม่เป็นที่ทราบมากนัก แต่พระองค์ทรงครองราชย์นานหกหรือเจ็ดปีตามที่ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูรินและศิลาแห่งปาแลร์โมตามลำดับ ความพยายามที่จะเทียบเคียงฟาโรห์เซคเอมเคตกับฟาโรห์โทเซอร์ทาซิสจากมาเนโธ ซึ่งกำหนดให้พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลา 19 ปี แทบจะไม่มีการสนับสนุนใด ๆ เนื่องจากสภาพของหลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ และพีระมิดที่ถูกฝัง ซึ่งมีความเชื่อกันว่าฟาโรห์เนบคาอาจจะทรงโปรดให้สร้างพีระมิดขั้นบันไดที่ซาวเยต อัล'อัรยัน ซึ่งเป็นพีระมิดมีขนาดเล็กกว่าที่ตั้งใจไว้มาก แต่ไม่ทราบว่าเป็นเพราะการสึกกร่อนตามธรรมชาติหรือเป็นเพราะสร้างไม่เสร็จตั้งแต่ต้น เช่นเดียวกับหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์เซคเอมเคต ไม่ว่าในกรณีใด ระยะเวลาการครองราชย์ของฟาโรห์คาบานั้นยังคลุมเครือ นักไอยคุปต์วิทยาบางคนเชื่อว่า ฟาโรห์คาบาเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ฮูนิ แต่ถ้าฟาโรห์คาบาทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ที่ได้รับบันทึกพระนามว่า ฟาโรห์ฮูดเจฟาที่ 2 และฟาโรห์เซดเนส พระองค์อาจจะทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 6 ปีได้

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์[แก้]

HuniKhabaSanakhtSekhemkhetDjoser

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Dodson, Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt, 2004
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Toby A.H. Wilkinson, Early Dynastic Egypt, Routledge, 2001
  3. Aidan Dodson: The Layer Pyramid of Zawiyet el-Aryan: Its Layout and Context. In: Journal of the American Research Center in Egypt (JARCE), No. 37 (2000). American Research Center (Hg.), Eisenbrauns, Winona Lake/Bristol 2000, ISSN 0065-9991, pp. 81–90.
  4. Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 480. ISBN 0-19-815034-2.
  5. Keita, S. O. Y. (March 1992). "Further studies of crania from ancient Northern Africa: An analysis of crania from First Dynasty Egyptian tombs, using multiple discriminant functions". American Journal of Physical Anthropology (ภาษาอังกฤษ). 87 (3): 245–254. doi:10.1002/ajpa.1330870302. ISSN 0002-9483. PMID 1562056.
  6. Keita, S. O. Y. (1993). "Studies and Comments on Ancient Egyptian Biological Relationships". History in Africa. 20: 129–154. doi:10.2307/3171969. ISSN 0361-5413. JSTOR 3171969. S2CID 162330365.
  7. Keita, S. O. Y. (March 1992). "Further studies of crania from ancient Northern Africa: An analysis of crania from First Dynasty Egyptian tombs, using multiple discriminant functions". American Journal of Physical Anthropology (ภาษาอังกฤษ). 87 (3): 245–254. doi:10.1002/ajpa.1330870302. ISSN 0002-9483. PMID 1562056.
  8. Bard, Kathryn (2015). An Introduction to the Archaeology of Ancient Egypt (2 ed.). John Wiley & Sons. pp. 140–145. ISBN 978-1-118-89611-2.
  9. Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt. Routledge, London 2001, ISBN 0415260116, pp. 80–82, 94–97.
  10. Silke Roth: Die Königsmütter des Alten Ägypten von der Frühzeit bis zum Ende der 12. Dynastie (= Ägypten und Altes Testament, vol. 46). Harrassowitz, Wiesbaden 2001, ISBN 3-447-04368-7, pp. 59–61, 65–67.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd., 2006. ISBN 0500286280.
ก่อนหน้า ราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์ ถัดไป
ราชวงศ์ที่สอง ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 2890 - 2686 ปีก่อนคริสตกาล)
ราชวงศ์ที่สี่