ฟาโรห์เนบิไรรอที่สอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนบอิร์อาวที่ 2 (หรือเรียกอย่างอื่นว่า เนบอิร์อาอูที่ 2, เนบอิร์เอราเวทที่ 2) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบหก ซึ่งปกครองที่เมืองธีบส์ในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง และสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เนบอิร์อาวที่ 1 หลังจากการพระองค์สวรรคต ฟาโรห์เซเมนเร ซึ่งเป็นฟาโรห์ที่มีความคลุมเครือในหลักฐานยืนยันตัวตน ขึ้นมาครองพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์

การระบุตัวตน[แก้]

โดยทั่วไปแล้วพระองค์ถูกสันนิษฐานโดยนักไอยคุปต์วิทยาบางคนว่าเป็นพระราชโอรสของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์นามว่า เนบอิร์อาวที่ 1 เนื่องจากพระนาม เนบอิร์อาว ปรากฏน้อยมากในแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ[2] ซึ่งแตกต่างจากพระราชบิดาที่สันนิษฐานว่าปกครองอียิปต์บนเป็นเวลา 26 ปี พระองค์เป็นฟาโรห์ที่มีคลุมเครืออย่างมาก เนื่องจากขาดแหล่งข้อมูลทางโบราณคดีร่วมสมัย[3]

ปรากฏเพียงหลักฐานยืนยันตัวตนที่ไม่ได้ถูกสร้างร่วมสมัยกับพระองค์สองชิ้น คือ การกล่าวถึงพระนามส่วนพระองค์ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งบันทึกขึ้นในช่วงสมัยฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 (ตำแหน่งคอลัมน์ที่ 13 บรรทัดที่ 5, พระนามครองพระราชบัลลังก์สูญหาย) และรูปหล่อทองสัมฤทธิ์เทพฮาร์โปเครติส (Cairo 38189) บนฐานทั้งสี่ด้านของรูปหล่อมีการสลักพระนามลงในคาร์ทูช ได้แก่ "บินปุ", "อาโมส", "เทพเซวัดจ์เอนเร ผู้ล่วงลับ" และ "เทพเนเฟอร์คาเร ผู้ล่วงลับ" ตามลำดับ[4] สองพระนามแรกน่าจะเป็นเจ้าชายสองพระองค์จากราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ ซึ่งจะเข้ามาแทนที่ราชวงศ์ที่สิบหกหลังจากนั้นไม่นาน พระนาม เซวัดจ์เอนเร เป็นพระนามครองพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เนบอิร์อาวที่ 1 และก็เชื่อกันว่า พระนาม เนเฟอร์คาเร เป็นพระนามครองพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เนบอิร์อาวที่ 2 ที่ยังไม่มีการพิสูจน์ การค้นพบนี้ยังเป็นเรื่องแปลกมาก เนื่องจากลัทธิการบูชาเทพฮาร์โพเครตีสและรูปหล่อดังกล่าว มีอายุย้อนไปถึงแค่สมัยราชวงศ์ปโตเลมี กล่าวคือ ประมาณ 1,500 ปีหลังจากที่บุคคลที่ปรากฏพระนามอยู่บนรูปหล่อนั้นทรงมีพระชนม์ชีพอยู่[4]

ต่อมาฟาโรห์ที่มีคลุมเครือเหมือนกันพระนามว่า เซเมนเร ได้ขึ้นมาครองพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ ซึ่งปรากฏหลักฐานยืนยันเพีงชิ้นเดียวคือ ขวานที่จารึกพระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระองค์ หลังจากรัชสมัยของฟาโรห์เซเมนเร ฟาโรห์ผู้มีพระนามว่า เบบิอังค์ ก็ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ต่อ โดยปกครองเป็นระยะเวลา 12 ตามที่ระบุในบันทึกพระนามแห่งตูริน

อ้างอิง[แก้]

  1. von Beckerath, Jürgen (1999). Handbuch der Ägyptischen Königsnamen. Mainz. ISBN 3 8053 2591 6., pp. 126-127
  2. Kim Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c.1800-1550 B.C, Museum Tusculanum Press, (1997), p.155
  3. Ryholt, p.201
  4. 4.0 4.1 Donald B. Redford (1986). Pharaonic king-lists, annals and day-books: a contribution to the study of the Egyptian sense of history. Mississauga: Benben Publications, ISBN 0920168078, p. 55