พีระมิดโจเซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระมิดโจเซอร์
พีระมิดขั้นบันไดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์
ฟาโรห์โจเซอร์
พิกัดทางภูมิศาสตร์29°52′16.56″N 31°12′59.02″E / 29.8712667°N 31.2163944°E / 29.8712667; 31.2163944พิกัดภูมิศาสตร์: 29°52′16.56″N 31°12′59.02″E / 29.8712667°N 31.2163944°E / 29.8712667; 31.2163944
สถาปนิกอิมโฮเทป
การก่อสร้างป. 2670–2650 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1] (ราชวงศ์ที่ 3)
ประเภทพีระมิดขั้นบันได
วัสดุหินปูน
ความสูง62.5 เมตร (205 ฟุต; 119 royal cubit)[2]
ฐาน121 เมตร (397 ฟุต; 231 royal cubit) ต่อ
109 m (358 ft; 208 cu)[2][3]
ปริมาณ330,400 ลูกบาศก์เมตร (11,667,966 ลูกบาศก์ฟุต)[3]
บางส่วนMemphis and its Necropolis – the Pyramid Fields from Giza to Dahshur
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: i, iii, vi
อ้างอิง86-002
ขึ้นทะเบียน1979 (สมัยที่ 3)
พีระมิดโจเซอร์ตั้งอยู่ในLower Egypt
พีระมิดโจเซอร์
ที่ตั้งของพีระมิดในประเทศLower Egypt

พีระมิดโจเซอร์ (หรือ เจเซอร์ และ โซเซอร์) บางครั้งเรียกเป็น พีระมิดขั้นบันไดโจเซอร์ เป็นโบราณสถานที่ยังคงอยู่ในสุสานของเมืองซักกอเราะฮ์ ประเทศอียิปต์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของซากเมมฟิส โครงสร้างสี่มุมหกชั้นเป็นอาคารหินมหึมาที่เก่าแก่ที่สุดในอียิปต์[4] สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 27 ก่อนคริสตกาล ในช่วงราชวงศ์ที่ 3 เพื่อฝังพระศพของฟาโรห์โจเซอร์ ซึ่งมีผู้ออกแบบพีระมิดคือ อิมโฮเทป และมีเป็นจุดศูนย์กลางของอาคารที่ฝังศพกว้างใหญ่ในลานขนาดมหึมาล้อมรอบด้วยโครงสร้างพิธีและการตกแต่ง

พีระมิดนี้ผ่านการบูรณะและปรับปรุงใหม่หลายครั้ง เดิมพีระมิดขั้นบันได สูง 62.5 m (205 ft) และฐานมีความยาวประมาณ 109 โดย 121 เมตร (358 โดย 397 ฟุต) และถูกฉาบด้วยหินปูนสีขาว[5] ใน ค.ศ. 1997 พีระมิดขั้นบันได (หรือพีระมิดดั้งเดิม) เคยถือเป็นสิ่งก่อสร้างหินตัดขนาดใหญ่ที่สร้างโดยมนุษย์[6]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 มีการเปิดพีระมิดนี้ให้แก่ผู้เข้าชมอีกครั้งหลังปิดฟื้นฟูเป็นเวลา 14 ปี[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 480. ISBN 0-19-815034-2.
  2. 2.0 2.1 Verner 2001d, p. 461.
  3. 3.0 3.1 Lehner 2008, p. 17.
  4. Hawkes, Jacquetta (1974). Atlas of Ancient Archaeology. McGraw-Hill Book Company. p. 149. ISBN 0-07-027293-X.
  5. Verner 2001d, pp. 108–109 & 461.
  6. Lehner, Mark (1997). The Complete Pyramids. New York: Thames and Hudson. p. 84. ISBN 978-0-500-05084-2.
  7. "Egypt reopens Djoser pyramid, country's oldest, after 14-year restoration". France24. 6 March 2020.

ข้อมูล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]