ฟาโรห์คาเซเคมวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คาเซเคมวี (ประมาณ 2690 ปีก่อนคริสตกาล; Ḫꜥj-sḫm.wj หรือถอดออกเป็น Kha-sekhemui) เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ ปรากฏที่เกี่ยวข้องกับพระองค์น้อยมาก นอกจากว่าพระทรงเป็นผู้นำการดำเนินการทางทหารที่สำคัญหลายครั้ง และสร้างป้อมอิฐโคลนที่รู้จักกันในนาม ชูเน็ท อัล เซบิบ

พระนามฮอรัสของพระองค์ คือ Ḫꜥj-sḫm.wj ซึ่งสามารถแปลได้ว่า "ผู้ทรงพลังทั้งสองปรากฏกาย"[3] แต่พระนามดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในหลายรูปแบบ เช่น Ḥr-Ḫꜥj-sḫm (เทพฮอรัส พระองค์ผู้ทรงพลังปรากฏกาย), ḫꜥj sḫm .wj ḫtp nṯrwj jm=f (พลังทั้งสองปรากฏในที่บรรพชนสถิตอยู่ในพระวรกายของพระองค์) เป็นต้น[4][a]

ช่วงเวลาแห่งรัชสมัย[แก้]

ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงปกครองเป็นระยะเวลาเกือบ 18 ปี โดยรัชสมัยของพระองค์รุ่งเรืองในช่วงต้นศตวรรษที่ 27 ก่อนคริสตกาล ช่วงเวลาที่แน่นอนในการครองราชย์ของพระองค์ในลำดับประวัติศาสตร์อียิปต์ยังคลุมเครือ แต่น่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง 2690–2670 ปีก่อนคริสตกาล

จากการศึกษาของโทบี วิลกินสัน เกี่ยวกับศิลาแห่งปาแลร์โมในพระราชพงศาวดารแห่งอียิปต์โบราณ ซึ่งเป็นเอกสารจากสมัยราชวงศ์ที่ 5 ที่เขียนขึ้นเกือบจะร่วมสมัยเดียวกับพระองค์ได้บันทึกว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นรยะเวลา 17 ปีครึ่ง หรือเกือบ 18 ปีเต็ม[5] วิลกินสันได้เสนอว่าปีที่ 18 นั้นอาจะเป็น "ปีเต็มหรือไม่ถึงปี" เนื่องจาก ศิลาแห่งปาแลร์โมและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องได้บันทึกถึงปีที่ 3-6 และปีที่ 12-18 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ และบันทึกในปีสุดท้ายแห่งการครองราชย์ของพระองค์ยังหลงเหลือในสภาพที่สมบูรณ์[6] การนับจำนวนปศุสัตว์นั้นเกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ สองปีในช่วงราชวงศ์ที่สองจากในศิลาแห่งปาแลร์โม (ปีของการนับปศุสัตว์ คือ ปีที่ 6, 7 และ 8 ซึ่งยังคงหลงเหลือไว้ในเอกสารรวมถึงปีเต็มหลังจากการนับปศุสัตว์ตามลำดับ) ซึ่งสามารถประมาณได้ว่าพระองค์ทรงครองราชย์อย่างถูกต้องประมาณ 18 ปี (หรือประมาณ 18 ปี 2 เดือน 23 วันจากศิลาแห่งปาแลร์โม)

พระราชประวัติ[แก้]

ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงถูกจัดให้เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน ถึงแม้ว่านักไอยคุปต์วิทยาบางคนเชื่อว่า คาเซเคม คือฟาโรห์อีกพระองค์ทรงปกครองระหว่างฟาโรห์สองทั้งสอง อย่างไรก็ตาม นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ฟาโรห์คาเซเคม และฟาโรห์คาเซเคมวี เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันจริงๆ[7] ซึ่งฟาโรห์คาเซเคมอาจจะทรงเปลี่ยนพระนามเป็น คาเซเคมวี หลังจากที่พระองค์ทรงรวบรวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างได้อีกครั้ง หลังจากสงครามกลางเมืองระหว่างสาวกของเทพเจ้าฮอรัสและเซธ ซึ่งนักวิชาการคนอื่นๆ เชื่อว่าพระองค์ทรงเอาชนะฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน หลังจากกลับมาอียิปต์จากการก่อกบฏในนิวเบีย และพระองค์ทรงสามารถยุติการแย่งชิงภายในราชวงศ์ที่สองและรวมอาณาจักรอียิปต์อีกครั้ง

ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงมีเอกลักษณ์เฉพาะในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่มีทั้งสัญลักษณ์ของเทพฮอรัสและเทพเซธบนพระนามเซเรคของพระองค์ นักไอยคุปต์วิทยาบางคนเชื่อว่าสัญลักษณ์ดังกล่าวสื่อถึงความพยายามที่จะรวมอียิปต์สองดินแดนเข้าด้วยกัน แต่หลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคต สัญลักษณ์ของเทพเซธก็สูญหายจากพระนามเซเรคอย่างถาวร และพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์พระองค์แรกที่ริเริ่มสร้างรูปสลักของพระองค์เอง

เห็นได้ชัดว่า ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงดำเนินโครงการก่อสร้างจำนวนมาก เมื่ออียิปต์รวมเข้าเป็นอาณาจักรอีกครั้ง พระองค์ทรงโปรดให้สร้างในก้อนหินที่อัลกับ เฮียราคอนโพลิส และอไบดอส ซึ่งเห็นได้ชัดว่าพระองค์ได้ทรงสร้างสุสานที่มีเอกลักษณ์และใหญ่โตที่อไบดอส ซึ่งเป็นสุสานหลวงแห่งสุดท้ายที่สร้างขึ้นในหมุู่สุสานแห่งนั้น (สุสาน วี) ซึ่งเป็นสุสานที่มีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมคางหมูมีความยาวประมาณ 70 เมตร (230 ฟุต) และกว้าง 17 เมตร (56 ฟุต) ทางด้านเหนือและกว้าง 10 เมตร (33 ฟุต) ทางด้านใต้ สุสานดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็น 58 ห้อง ก่อนที่จะมีการค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้จากราชวงศ์ที่หนึ่ง ห้องฝังพระบรมศพตรงกลางถือเป็นโครงสร้างก่ออิฐที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยสร้างขึ้นจากหินปูนที่ถูกขุดขึ้นมา และมีการขุดค้นพบคทาทองคำและหินคาร์เนเลียนของฟาโรห์ ตลอดจนหม้อหินใบเล็กๆ ที่ทำขึ้นอย่างสวยงามหลายใบพร้อมฝาทองคำเปลว ซึ่งเห็นได้ชัดว่าโจรปล้นสุสานก่อนหน้านี้ได้พลาดไป ในความเป็นจริง เพตรีได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของจำนวนหนึ่งที่ถูกนำออกไปในระหว่างการขุดค้นของเอมีล อาเมลีโน ส่วนสิ่งของอื่นๆ ได้แก่ เครื่องมือหินเหล็กไฟ เครื่องมือและภาชนะทองแดงต่างๆ ภาชนะหิน และภาชนะดินเผาที่บรรจุเมล็ดพืชและผลไม้ นอกจากนี้ยังมีวัตถุเคลือบขนาดเล็ก ลูกปัดคาร์เนเลียน เครื่องมือจำลอง งานจักสาน และตราประทับจำนวนมาก

ฟาโรห์คาเซเคมวีทรงสร้างกำแพงล้อมที่เนเคนและที่อไบดอส (ปัจจุบันรู้จักกันในนาม ชูเน็ท อัล เซบิบ) และพระองค์ทรงถูกฝังไว้ที่นั่นในสุสานที่อุมมุลกะอับ พระองค์อาจจะสร้างกิสร์ อัมมุดิร์ ที่ซักกอเราะฮ์

คำจารึกบนแจกันหินบันทึกว่าพระองค์ "ทรงต่อสู้กับศัตรูทางเหนือที่เนเคบ" ซึ่งหมายความว่าอียิปต์ล่างอาจจะรุกรานและเกือบยึดเมืองหลวงของเนเคนไปได้[7]

พระราชวงศ์[แก้]

พระมเหสีของฟาโรห์คาเซเคมวี คือ พระราชินีนิมาอัตฮัป ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระราชโอรส-ธิดาของกษัตริย์ ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นพระราชบิดาและพระราชมารดาของฟาโรห์ดโจเซอร์ และพระมเหสีของพระองค์พระนามว่า เฮเทปเฮอร์เนบติ[8] นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าพระราชโอรสของฟาโรห์คาเซเคมวี คือ ฟาโรห์เซเคมเคต และฟาโรห์ซานัคเต ซึ่งฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์ดโจเซอร์[9][10]

พระนางนิมาอัตฮัปทรงเป็นเจ้าหญิงจากทางเหนือที่มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระราชมารดาแห่งกษัตริย์"[7]

บรรณานุกรม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เครื่องหมาย "=" ใช้เพื่อระบุคำต่อท้าย หรือ "." สามารถใช้สัญลักษณ์

อ้างอิง[แก้]

  1. Alan H. Gardiner: The royal canon of Turin.
  2. Khasekhemwy's fortเก็บถาวร 2012-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Peter Clayton, Chronicle of the Pharaohs, Thames and Hudson Ltd, 2006 paperback, p. 26
  4. Jürgen von Beckerath, Handbuch der ägyptischen Königsnamen (1999).
  5. Toby Wilkinson, Royal Annals of Ancient Egypt, (Columbia University Press:2000 - ISBN 0-7103-0667-9), p. 258
  6. Toby Wilkinson, Royal Annals of Ancient Egypt, (Columbia University Press:2000 - ISBN 0-7103-0667-9), pp. 78–79 & 258
  7. 7.0 7.1 "Khasekhemwy | Ancient Egypt Online" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-10-07.
  8. Dodson, Aidan และ Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., p. 48
  9. Silke Roth: Die Königsmütter des Alten Ägypten von der Frühzeit bis zum Ende der 12. Dynastie (= Ägypten und Altes Testament, vol. 46). Harrassowitz, Wiesbaden 2001, ISBN 3-447-04368-7, p. 59-61 & 65–67.
  10. Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt. Routledge, London 2001, ISBN 0415260116, p. 80 - 82, 94 - 97.