ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์

ราว 1550 ปีก่อนคริสตกาล–1292 ปีก่อนคริสตกาล
จักรวรรดิของราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ในอาณาเขตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชสมัยฟาโรห์ทุตโมสที่ 3
จักรวรรดิของราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ในอาณาเขตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชสมัยฟาโรห์ทุตโมสที่ 3
เมืองหลวงธีบส์, อาเคตอาเตน
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์สมัยกลาง (ถึงราว 1350 ปีก่อนคริสตกาล)
ภาษาอียิปต์สมัยปลาย (ตั้งแต่ราง 1350 ปีก่อนคริสตกาล)
ภาษาคานาอัน
ภาษานิวเบีย
[[ภาษาแอกแคด ]] (ภาษาทางการทูตและการค้า)
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
ลิทธิอาเตน
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ความพ่อยแพ้ของราชวงศ์ที่สิบห้า (การขับไล่ชาวฮิกซอส)
ราว 1550 ปีก่อนคริสตกาล
ราว 1457 ปีก่อนคริสตกาล
ราว 1350–1330 ปีก่อนคริสตกาล
• การสวรรคตของฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ
1292 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ จัดเป็นราชวงศ์แรกในช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่ของอียิปต์ ซึ่งเป็นยุคที่อียิปต์โบราณเรืองอำนาจสูงสุด ราชวงศ์ที่สิบแปดครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 1550/1549 ถึง 1292 ปีก่อนคริสตกาล ราชวงศ์นี้เรียกอีกอย่างว่า ราชวงศ์ทุตโมส เนื่องจากฟาโรห์จากราชวงศ์นี้จำนวน 4 พระองค์ทรงใช้พระนามว่า ทุตโมส

ฟาโรห์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์หลายพระองค์มาจากราชวงศ์ที่สิบแปด รวมถึงฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ซึ่งฮาวเวิร์ด คาร์เตอร์เป็นผู้ค้นพบสุสานของพระองค์ในปี ค.ศ. 1922 ส่วนฟาโรห์ที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ของราชวงศ์ ได้แก่ ฟาโรห์ฮัตเชปซุต (ราว 1479–1458 ปีก่อนคริสตกาล) ฟาโรห์สตรีผู้ครองราชย์ยาวนานที่สุดของราชวงศ์พื้นเมือง และฟาโรห์อะเคนอาเตน (ประมาณ 1353–1336 ปีก่อนคริสตกาล) หรือ "ฟาโรห์นอกรีต" กับพระมเหสีผู้ยิ่งใหญ่ของพระองค์พระนามว่า เนเฟอร์ติติ ราชวงศ์ที่สิบแปดมีลักษณะเฉพาะตัวในบรรดาราชวงศ์อียิปต์ที่มีฟาโรห์สตรีจำนวนพระองค์ที่ทรงครองราชย์ สตรีที่ปกครองในฐานะฟาโรห์แต่เพียงผู้เดียว: พระนางฮัตเชปซุค และพระนางเนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ซึ่งมักสันนิษฐานว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับพระนางเนเฟอร์ติติ[1]

ประวัติราชวงศ์

[แก้]

ช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์

[แก้]
อาโมส-เนเฟอร์ทาริ เป็นพระราชธิดาในฟาโรห์เซเกนเอนเร ทาโอที่ 2 ซึ่งเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเจ็ดที่ลุกขึ้นต่อต้านผู้ปกครองชาวฮิกซอส ฟาโรห์อาโมส ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ทรงขับไล่ชาวฮิกซอส และพระองค์ทรงกลายเป็นพระราชินีแห่งอียิปต์อันปึกแผ่น พระองค์ได้รับการบูชาอย่างเทพเจ้าหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคต
รูปสลักส่วนพระเศียรของฟาโรห์ในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบแปด ราว 1539–1493 ปีก่อนคริสตกาล 37.38E พิพิธภัณฑ์บรูคลิน

ราชวงศ์ที่สิบแปดสถาปนาขึ้นโดยฟาโรห์อาห์โมสที่ 1 ซึ่งเป็นพระอนุชาหรือพระราชโอรสของฟาโรห์คาโมส ผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบเจ็ด พระองค์เสร็จสิ้นการดำเนินการทางทหารเพื่อขับไล่ผู้ปกครองชาวฮิกซอส รัชสมัยของพระองค์ถูกมองว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยช่วงระหว่างกลางที่สองและการเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรใหม่ พระมเหสีของฟาโรห์อาห์โมส คือ พระนางอาโมส-เนเฟอร์ทาริ เป็น "สตรีที่ได้รับการเคารพนับถือมากที่สุดในประวัติศาสตร์อียิปต์ และเป็นพระอัยยิกาแห่งราชวงศ์ที่สิบแปด"[2] พระองค์ได้รับการบูชาอย่างเทพเจ้าหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคต ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อาห์โมส ผู้เป็นพระราชบิดา ซึ่งเหตุการณ์ภายในรัชสมัยของพระองค์ไม่ค่อยเป็นที่ทราบมากนัก[3]

ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 อาจจะทรงไม่มีรัชทายาทที่เป็นบุรุษ และฟาโรห์พระองค์ต่อไป คือ ฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 ซึ่งดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ผ่านการอภิเษกสมรส ในรัชสมัยของพระองค์ พรมแดนของอาณาจักรอียิปต์แผ่ขยายออกไปทางเหนือถึงเมืองคาร์เคมิชบนแม่น้ำยูเฟรติส และทางใต้ถึงเมืองคูร์กัสเลยแก่งน้ำตกแม่น้ำไนล์ที่สี่ลงไป ฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 และพระมเหสีฮัตเชปซุต ซึ่งเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 หลังจากสวามีของพระองค์เสด็จสวรรคตและช่วงระยะเวลาของการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระราชโอรสเลี้ยงของพระองค์ (ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นฟาโรห์ในพระนามว่า ทุตโมสที่ 3) พระนางฮัตเชปซุตทรงกลายเป็นฟาโรห์ตามพระราชสิทธิและทรงปกครองมากว่ายี่สิบปี

ฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ซึ่งทรงกลายเป็นที่รู้จักในฐานะฟาโรห์ทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ พระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานเช่นกัน พระองค์ทรงมีผู้สำเร็จราชการร่วมครั้งที่สองในช่วงปลายพระชนม์ชีพกับพระราชโอรสของพระองค์พระนามว่า ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 2 ฟาโรห์ทุตโมสที่ 4 ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 2 โดยซึ่งสืบทอดพระราชบัลลังก์ตามด้วยพระราชโอรสพระนามว่า ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ซึ่งรัชสมัยดังกล่าวถูกมองว่าเป็นจุดสูงสุดในราชวงศ์นี้

รัชสมัยของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ความงดงามทางศิลปะ และอำนาจระหว่างประเทศ ดังที่เห็นได้จากรูปสลักกว่า 250 รูป (มากกว่าฟาโรห์พระองค์อื่นๆ) และตราประทับแมลงสคารับขนาดใหญ่ 200 ตัวที่ค้นพบตั้งแต่ซีเรียจนถึงนิวเบีย[4] ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ทรงโปรดให้ดำเนินโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งขอบเขตของโครงการดังกล่าวสามารถเทียบได้กับโครงการในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ที่ยาวนานกว่ามากในช่วงราชวงศ์ที่สิบเก้าเท่านั้น[5] พระมเหสีของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 คือ พระนางทีเย ซึ่งมีอิสริยยศเป็นพระอัครมเหสี ซึ่งพระองค์ทรงโปรดให้ขุดทะเลสาบเทียมตามที่อธิบายไว้ในตราประทับแมลงสคารับจำนวนสิบเอ็ดตัว[6]

ฟาโรห์อะเคนอาเตนแห่งสมัยอามาร์นา และฟาโรห์ทุตอังค์อามุน

[แก้]
ฟาโรห์อาเคนอาเตนและเชื้อพระวงศ์ของพระองค์ทรงบูชาเทพอาเตน พระองค์ที่สองจากซ้ายคือ เจ้าหญิงเมริตอาเตน ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระองค์

ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 อาจจะทรงครองบัลลังก์ร่วมกันนานถึง 12 ปีกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 ผู้เป็นพระราชโอรส ซึ่งมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานดังกล่าวที่ว่ามีการสำเร็จราชการร่วมหรือไม่ โดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนพิจารณาว่ามีการสำเร็จราชการร่วมที่ยาวนาน อันสั้น หรือไม่มีเลย

ในปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 พระองค์ทรงได้เปลี่ยนพระนามเป็น อะเคนอาเตน (ꜣḫ-n-jtn, "มีประสิทธิภาพแต่เทพอาเตน") และทรงย้ายเมืองหลวงไปที่บริเวณอามาร์นา ซึ่งพระองค์ตั้งชื่อเมืองว่า อะเคตอาเตน ในรัชสมัยของพระองค์ เทพอาเตน (jtn, จานรัศมีสุริยะ) ได้กลายเป็นเทพสำคัญที่โดดเด่นที่สุด และในที่สุดก็ได้รับการพิจารณาให้เป็นเทพเจ้าเพียงพระองค์เดียว[7] ไม่ว่าจะรวมถึงลัทธิเอกเทวนิยมที่แท้จริงหรือไม่ก็ตามยังคงเป็นประเด็นถกเถียงในกลุ่มนักวิชาการ บางคนกล่าวว่า ฟาโรห์อะเคนอาเตนทรงสร้างลัทธิเอกเทวนิยม ในขณะที่คนอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าพระองค์เพียงแค่ทรงยกลัทธิสุริยะที่มีอำนาจเหนือกว่าอีกลัทธิหนึ่ง ในขณะที่พระองค์ทรงไม่เคยละทิ้งเทพเจ้าดั้งเดิมหลายพระองค์โดยสิ้นเชิง

ชาวอียิปต์ยุคหลังถือว่า "สมัยอามาร์นา" เป็นความผิดแปลกที่น่าเสียดาย หลังจากการสวรรคตของฟาโรห์อะเคนอาเตน มีการสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อโดยฟาโรห์สเมนค์คาเรและพระนางเนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ซึ่งปรากฏข้อมูลมากนัก ในช่วง 1334 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ทุตอังค์อาเตน ผู้เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อะเคนอาเตนทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ หลังจากนั้นไม่นาน พระองค์ทรงได้ฟื้นฟูลัทธิที่นับถือพระเจ้าหลายพระองค์ในอียิปต์ และต่อมาทรงได้เปลี่ยนพระนามเป็น ทุตอังค์อามุน เพื่อถวายเป็นพระเกียรติแก่เทพเจ้าอามุนแห่งอียิปต์[8] มัมมี่หมายเลข 317a และ 317b ซึ่งเป็นมัมมี่ของพระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์เมื่อคราวประสูติกาล ซึ่งเป็นสมาชิกของราชวงศ์รุ่นสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกันทางสายโลหิตของราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์

ฟาโรห์ไอย์และฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ

[แก้]
รูปสลักของฟาโรห์ไอย์ ราว 1336–1327 ปีก่อนคริสตกาล, 66.174.1, พิพิธภัณฑ์บรูคลิน

สมาชิกสองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบแปด คือ ฟาโรห์ไอย์และฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ ซึ่งได้กลายเป็นผู้ปกครองจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในราชสำนัก ถึงแม้ว่าฟาโรห์ไอย์ อาจะทรงเป็นพระมาตุลาของพระราชมารดาของฟาโรห์อะเคนอาเตน ในฐานะร่วมสายโลหิตเดียวกันของยูยาและทจูยู

ฟาโรห์ไอย์อาจจะทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอังค์เอสเอนอามุน ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงเป็นม่ายและเป็นพระขนิษฐาต่าพระมารดาของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน เพื่อที่จะได้อำนาจอันชอบธรรม หลังจากนั้นพระองค์ก็มีพระชนม์ชีพอยู่ได้ไม่นาน จากนั้น ฟาโรห์ไอย์ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางเทย์ ซึ่งเดิมทีเป็นพระนมของพระนางเนเฟอร์ติติ

ฟาโรห์ไอย์ทรงมีรัชสมัยที่สั้น ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์คือฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ ซึ่งเป็นนายพลในรัชสมัยของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ซึ่งฟาโรห์ไอย์อาจจะทรงตั้งใจให้เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ในกรณีที่พระองค์ไม่มีพระราชโอรสที่ยังมีพระชนม์ชีพ ซึ่งต่อมาก็คือ[9] ฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบอาจจะแย่งชิงพระราชบัลลังก์ไปจากฟาโรห์ไอย์ในการก่อกบฏ ถึงแม้ว่าพระราชโอรสหรือพระราชโอรสบุญธรรมของฟาโรห์ไอย์พระนามว่า นัคต์มิน ซึ่งจะได้รับการเสนอพระองค์ให้เป็นมกุฎราชกุมารของพระราชบิดา/พระราชบิดาบุญธรรม แต่ดูเหมือนว่าเจ้าชายนัคต์มินจะสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของฟาโรห์ไอย์ ทำให้ฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบทรงมีโอกาสครองพระราชบัลลังก์ต่อไป

ฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบก็เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาทที่ยังมีพระชนม์ชีพ พระองค์จึงแต่งตั้งให้ราชมนตรีปา-รา-เมส-ซู ขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ราชมนตรีผู้นี้ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ใน 1292 ปีก่อนคริสตกาลในฐานะฟาโรห์รามเสสที่ 1 และเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์

ตัวอย่างทางด้านขวานี้แสดงให้เห็นบุรุษคนหนึ่งนามว่า ไอย์ซึ่งได้รับตำแหน่งทางศาสนาอันสูงส่งในตำแหน่งอุปมหาปุโรหิตแห่งอามุน และมหาปุโรหิตแห่งมัตที่ธีบส์ และหน้าที่มีความรุ่งเรืองในรัชสมัยของทุตอังค์อามุนเมื่อสร้างรูปสลัก ภาพแกะสลักของกษัตริย์ไอย์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ทุตอังค์อามุนที่ปรากฏบนรูปสลัก จึงเป็นความพยายามของช่างฝีมือที่จะ "พัฒนา" ประติมากรรม[10]

ความสัมพันธ์กับดินแดนนิวเบีย

[แก้]

จักรวรรดิแห่งราชวงศ์ที่สิบแปดได้พิชิตนิวเบียล่างทั้งหมดในรัชสมัยฟาโรห์ทุตโมสที่ 1[11] ในรัชสมัยของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ชาวอียิปต์ได้ควบคุมนิวเบียไปโดยตรง ซึ่งไปถึงแก่งน้ำตกแม่น้ำไนล์ที่ 4 โดยอิทธิพลของอียิปต์หรือขยายออกไปนอกเหนือจุดนี้[12][13] ชาวอียิปต์เรียกบริเวณนี้ว่า คุช และปกครองโดยอุปราชแห่งคุช ราชวงศ์ที่สิบแปดได้รับทองคำนิวเบีย หนังสัตว์ งาช้าง ไม้มะเกลือ วัวควาย และม้า ซึ่งมีคุณภาพดีเยี่ยม[11] ชาวอียิปต์สร้างวิหารไปทั่วนิวเบีย วิหารที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งอุทิศให้กับเทพอามุนที่เฌเบล บาร์คัล ในเมืองแนปาตา วิหารแห่งอามุนแห่งนี้ได้รับการขยายให้ใหญ่ขึ้นโดยฟาโรห์แห่งอียิปต์และนิเบียในช่วงเวลาต่อมา เช่น ฟาโรห์ทาฮาร์กา

ความสัมพันธ์กับดินแดนตะวันออกใกล้

[แก้]

หลังจากสิ้นสุดยุคการปกครองโดยต่างชาติอย่างฮิกซอส ราชวงศ์ที่สิบแปดได้เข้าสู่ช่วงแห่งการขยายตัวอย่างเข้มข้น พิชิตพื้นที่กว้างใหญ่ของตะวันออกใกล้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ได้ส่ง "ชาซู" กลุ่มชาวเบดูอินทางตอนเหนือของคานาอัน และดินแดนของเรทเจนูไกลถึงซีเรียและไมตานนี ในการรบทางทหารหลายครั้งประมาณ 1450 ปีก่อนคริสตกาล[14][15]

การระบุช่วงเวลาของราชวงศ์

[แก้]

การหาอายุด้วยคาร์บอนกัมมันตภาพรังสีบ่งชี้ว่าช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สิบแปดอาจเริ่มต้นเร็วกว่าช่วงเวลาเดิมคือ 1550 ปีก่อนคริสตกาลไม่กี่ปี ช่วงเวลาของเรดิโอคาร์บอนสำหรับการเริ่มของสมัยราชวงศ์ที่สิบแปดคือ 1570–1544 ปีก่อนคริสตกาล ค่าเฉลี่ยคือ 1557 ปีก่อนคริสตกาล[17]

รายพระนามฟาโรห์

[แก้]

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบแปดทรงปกครองเป็นเวลาประมาณ 250 ปี (ประมาณ 1550–1298 ปีก่อนคริสตกาล) ช่วงเวลาและพระนามในตารางนำมาจากด็อดสันและฮิลตัน[18] ฟาโรห์หลายพระองค์ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในหุบเขากษัตริย์ในธีบส์ (KV) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Theban Mapping Project[19] ปรากฏการอภิเษกสมรสทางการทูตหลายครั้งเป็นที่ทราบกันดีสำหรับช่วงราชอาณาจักรใหม่ พระราชธิดาของกษัตริย์ต่างชาติเหล่านี้มักถูกกล่าวถึงเฉพาะในบันทึกคูนิฟอร์มและไม่ทราบจากแหล่งอื่น การอภิเษกสมรสน่าจะเป็นวิธีการยืนยันความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐเหล่านี้[20]

ฟาโรห์ รูปภาพ พระนามครองราชย์/พระนามประสูติ รัชสมัย สถานที่ฝังพระบรมศพ พระมเหสี/พระสวามี คำอธิบาย
อาโมสที่ 1/อาโอซิสที่ 1 เนบเพติเร 1549–1524 ปีก่อนคริสตกาล อาโมส-เนเฟอร์ทาริ

อาโมส-เฮนุตทาเมฮู อาโมส-ซิตคาโมส

อเมนโฮเทปที่ 1 ดเจเซอร์คาเร 1524–1503 ปีก่อนคริสตกาล เควี 39? หรือ สุสานเอเอ็นบี? อาโมส-เมริตอามอน
ทุตโมสที่ 1 อาอาเคเปอร์คาเร 1503–1493 ปีก่อนคริสตกาล เควี 20, เควี 38 อาโมส

มุตโนเฟรต

ทุตโทสที่ 2 อาอาเคเปอร์เอนเร 1493–1479 ปีก่อนคริสตกาล เควี 42? ฮัตเชปซุต

ไอเซต

ฮัตเชปซุต มาอัตคาเร 1479–1458 ปีก่อนคริสตกาล เควี 20 ทุตโมสที่ 2
ทุตโมสที่ 3 เมนเคเปอร์(เอน)เร 1479–1425 ปีก่อนคริสตกาล เควี 34 ซาทิอาห์

เมริตเร-ฮัตเชปซุต เนบทู เมนเฮต, เมนวิ และ เมอร์ติ

อเมนโฮเทปที่ 2 อาอาเคเปอร์รูเร 1427–1397 ปีก่อนคริสตกาล เควี 35 เธียอา
ทุตโมสที่ 4 เมนเคเปอร์รูเร 1397–1388 ปีก่อนคริสตกาล เควี 43 เนเฟอร์ทาริ

ไออาเรต มัตเอมวียา พระราชธิดาในกษัตริย์อาร์ตาตามาที่ 1 แห่งไมตานนี

อเมนโฮเทปที่ 3 เนบมาอัตเร 1388–1351 ปีก่อนคริสตกาล เควี 22 ทีเย จิลูคิปาแห่งไมตานนี

ทาดูคิปาแห่งไมตานนี ซิตอามุน ไอเซต พระราชธิดาในกษัตริย์คูริกัลซูที่ 1 แห่งบาบิโลน[21]

พระราชธิดาในกษัตริย์คาดัชมัน-เอนลิลแห่งบาบิโลน[21] พระราชธิดาในกษัตริย์ทาร์ฮุนดาราดูแห่งอาร์ซาวา[21]

พระราชธิดาในกษัตริย์แห่งอัมเมีย[21]

อเมนโฮเทปที่ 4/อาเคนอาเตน เนเฟอร์เคเฟอร์รูเร-วาเอนเร 1351–1334 ปีก่อนคริสตกาล สุสานหลวงแห่งอาเคนอาเตน, เควี 55 (?) เนเฟอร์ติติ

คียา ทาดูคิปาแห่งไมตานนี พระราชธิดาในกษัตริย์ซาทิยาแห่งเอนิซาซิ[21] เมริตอาเตน? เมเคตอาเตน? อังค์เอสเอนอามุน พระราชธิดาในกษัตริย์บูรนา-บูริอัชที่ 2, กษัตริย์แห่งบาบิโลน[21]

สเมนค์คาเร อังค์เคเปอร์รูเร 1335–1334 ปีก่อนคริสตกาล เควี 55 (?) เมริตอาเตน
เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน อังค์เคเปอร์รูเร-อะเคต-เอน-ฮิเอส 1334–1332 ปีก่อนคริสตกาล อาเคนอาเตน?

สเมนค์คาเร?

มักสันนิษฐานว่าเป็นพระนางเนเฟอร์ติติ
ทุตอังค์อามุน เนบเคเปอร์รูเร 1332–1323 ปีก่อนคริสตกาล เควี 62 อังค์เอสเอนอามุน
ไอย์ เคเปอร์เคเปอร์รูเร 1323–1319 ปีก่อนคริสตกาล เควี 23 อังค์เอสเอนอามุน?

เทย์

ฮอร์เอมเฮบ ดเจเซอร์เคเปอร์รูเร-เซเทปเอนเร 1319–1292 ปีก่อนคริสตกาล เควี 57 มัตเนดจ์เมต

อะเมเนีย

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์

[แก้]
HoremhebAy (pharaoh)TutankhamunNeferneferuatenSmenkhkareAkhenatenAmenhotep IIIThutmose IVAmenhotep IIThutmose IIIHatshepsutThutmose IIThutmose IAmenhotep IAhmose I

อ้างอิง

[แก้]
  1. Daniel Molinari (2014-09-16), Egypts Lost Queens, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21, สืบค้นเมื่อ 2017-11-14
  2. Graciela Gestoso Singer, "Ahmose-Nefertari, The Woman in Black". Terrae Antiqvae, January 17, 2011
  3. Aidan Dodson, Dyan Hilton: pg 122
  4. O'Connor & Cline 1998, pp. 11–12.
  5. Aidan Dodson, Dyan Hilton: pg 130
  6. Kozloff & Bryan 1992, no. 2.
  7. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2010). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p. 142. ISBN 978-0-500-28857-3.
  8. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2010). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p. 143. ISBN 978-0-500-28857-3.
  9. Gardiner, Alan (1953). "The Coronation of King Haremhab". Journal of Egyptian Archaeology. 39: 13–31.
  10. "Block Statue of Ay". brooklynmuseum.org. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  11. 11.0 11.1 O'Connor, David (1993). Ancient Nubia: Egypt's Rival in Africa. University of Pennsylvania, USA: University Museum of Archaeology and Anthropology. pp. 60–69. ISBN 0924171286.
  12. Shaw, Ian (2004). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 217.
  13. "Early History", Helen Chapin Metz, ed., Sudan A Country Study. Washington: GPO for the Library of Congress, 1991.
  14. Gabriel, Richard A. (2009). Thutmose III: The Military Biography of Egypt's Greatest Warrior King (ภาษาอังกฤษ). Potomac Books, Inc. p. 204. ISBN 978-1-59797-373-1.
  15. Allen, James P. (2000). Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 299. ISBN 978-0-521-77483-3.
  16. "Tomb-painting British Museum". The British Museum (ภาษาอังกฤษ).
  17. Ramsey, C. B.; Dee, M. W.; Rowland, J. M.; Higham, T. F. G.; Harris, S. A.; Brock, F.; Quiles, A.; Wild, E. M.; Marcus, E. S.; Shortland, A. J. (2010). "Radiocarbon-Based Chronology for Dynastic Egypt". Science. 328 (5985): 1554–1557. Bibcode:2010Sci...328.1554R. doi:10.1126/science.1189395. PMID 20558717. S2CID 206526496.
  18. Aidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. The American University in Cairo Press, London 2004
  19. "Sites in the Valley of the Kings". Theban Mapping Project. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2010. สืบค้นเมื่อ 24 November 2018.
  20. Grajetzki, Ancient Egyptian Queens: A Hieroglyphic Dictionary, Golden House Publications, London, 2005, ISBN 978-0954721893
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WG

บรรณานุกรรม

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]