ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์อิมย์เรเมสชาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สเมนค์คาเร อิมิเรเมชอาว เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง

ฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงขึ้นครองราชย์จากเมืองเมมฟิสในช่วง 1759 ปีก่อนคริสตกาล[1] หรือ 1711 ปีก่อนคริสตกาล[2] ระยะเวลาในรัชสมัยของพระองค์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด พระองค์อาจจะทรงครองราชย์เป็นเวลาห้าปีและน้อยกว่าสิบปีอย่างแน่นอน[1] ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับพระองค์ คือ รูปสลักขนาดมหึมาสองรูปที่ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ กรุงไคโร

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

พระนามของพระองค์ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูรินในคอลัมน์ที่ 7 บรรทัดที่ 21 (ตามรายการของอลัน การ์ดิเนอร์ คือ คอลัมน์ที่ 6 บรรทัดที่ 21) พระนามว่า [สเมนค์]คาเร อิมิเรเมชอาว หลักฐานยืนยันร่วมสมัยที่สำคัญของพระองค์คือรูปสลักหินขนาดมหึมาที่อุทิศแด่เทพพทาห์ "ผู้ซึ่งทรงอยู่ทางใต้ของกำแพงของพระองค์ เจ้าแห่งอังค์ทาวี" (rsy-ínb=f nb ˁnḫt3wy) ซึ่งเป็นฉายาของเมืองเมมฟิสที่ระบุว่ารูปสลักแต่เดิมตั้งอยู่ในวิหารแห่งพทาห์ในเมมฟิส[1] ซึ่งภายหลังรูปสลักขนาดใหญ่ถูกแย่งชิงโดยฟาโรห์อาเกนเอนเร อะเปปิ ซึ่งเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งฮิกซอส ซึ่งปรากฏพระนามของพระองค์ที่จารึกไว้ที่ไหล่ขวาของรูปสลัก โดยแต่ละรูปสลักได้อุทิศให้แด่ "เซธ เจ้าแห่งอวาริส" และวางรูปสลักดังกล่าวไว้ในเมืองอวาริสของพระองค์ ต่อมา รูปสลักได้ถูกย้ายไปที่เมืองไพ-ราเมสเซส โดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งปรากฏพระนามของพระองค์ที่จารึกไว้บนนั้นด้วย พร้อมกับการอุทิศเพิ่มเติมแด่เทพเซธ ซึ่งในที่สุดแล้ว รูปสลักได้ถูกย้ายไปที่เมืองทานิสในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด ซึ่งรูปสลักขนาดใหญ่ดังกล่าวยังคงอยู่ที่นั้นจนถึงการขุดค้นในปี ค.ศ. 1897 ภายใต้การดูแลของฟลินเดอร์ส เพตรี[1][3][4] ปัจจุบันรูปสลักทั้งสองรูปอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ (เจอี 37466 และ เจอี 37467)

หลักฐานยืนยันร่วมสมัยเพียงอย่างเดียวอีกชิ้นของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว คือ ลูกปัดหินสบู่สีขาวที่ปรากฏคำจารึกว่า "เทพผู้ทรงประเสริฐ, สเมนค์คาเร, ผู้ทรงเป็นที่รักแห่งเทพโซเบค เจ้าแห่งเชดิต" ซึ่งขณะนี้ลูกปัดอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช หมายเลข บีเอ็ม อีเอ 74185[3][5] ถึงแม้จะไม่ทราบแหล่งที่มาของลูกปัด แต่ดาร์เรล เบเกอร์และคิม ไรฮอล์ท นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอว่า การกล่าวถึงเมืองเชดิต ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเมมฟิสบนลูกปัด อาจจะบ่งบอกว่าลูกปัดมีที่มาจากสถานที่ดังกล่าว ในที่สุด ดับเบิลยู. เดวีส์ ได้เสนอว่าช่วงตัวของรูปสลักที่ค้นพบในซากปรักหักพังของพีระมิดจากราชวงศ์ที่สิบสามในทางตอนใต้ของซักกอเราะฮ์ และมีช่วงเวลา "ใกล้กับผู้ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เคนดเจอร์" ซึ่งอาจจะเป็นของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนดังกล่าวไม่ได้ถูกจารึกไว้ และการระบุตัวตนของเจ้าของรูปสลักของเดวีส์ว่า เป็นของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวนั้นมีพื้นฐานมาจาก "ที่มาของแหล่งที่มา" เท่านั้น[3][6] ปัจจุบันรูปสลักนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ เจอี 54493

พระนาม

[แก้]

พระนามประสูติของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวเป็นพระนามที่ยืนยันอย่างดี ซึ่งใช้ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง และหมายถึง "ผู้ควบคุมกองทหาร" หรือ "นายพล" ด้วยเหตุนี้ จึงมีข้อสันนิษฐานโดยไม่มีหลักฐานเพิ่มเติมว่าฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงเป็นนายพลก่อนที่จะทรงขึ้นเป็นฟาโรห์ ตามสมมติฐานดังกล่าว นักไอยคุปต์วิทยา อลัน การ์ดิเนอร์ และวิลเลียม เฮย์ส ได้แปลรายการของบันทึกพระนาามแห่งตูรินที่กล่าวถึงฟาโรห์อิมิเรเมชอาวว่า "สเมนค์คาเร ผู้ทรงเป็นนายพล" กล่าวคือ เข้าใจว่า อิมิเรเมชอาว ควรเป็นชื่อตำแหน่งมากกว่าพระนาม[3] ส่วนเยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธ ได้เสนอว่า ฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงมาจากต่างถิ่นและมีพระนามภาษาต่างถิ่นที่ชาวอียิปต์ไม่สามารถเข้าใจได้ และด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอียิปต์ด้วยตำแหน่งทางทหารของพระองค์[1][7] นอกจากนี้ฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงไม่ได้ใช้พระนามแฝงใดๆ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าพระองค์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับฟาโรห์เคนดเจอร์ ผู้ทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์และไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์อย่างแน่นอน[1] ดังนั้น นักวิชาการจึงเสนอว่าพระองค์อาจจะทรงขึ้นสู่พระราชอำนาจโดยเตรียมการรัฐประหารโดยกองทัพกับฟาโรห์เคนดเจอร์ ผู้ทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์[3]

เบเกอร์และไรฮอล์ทได้โต้แย้งข้อสมมติฐานดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นถึงการขาดหลักฐานของการทำรัฐประหารโดยทหาร เนื่องจากไม่สามารถแยกแยะการแย่งชิงด้วยวิธีทางการเมืองได้ นอกจากนี้ ได้ทราบว่า อิมิเรเมชอาว เป็นชื่อสามัญทั่วไปในขณะนั้น ชื่อสามัญที่คล้ายกัน ได้แก่ อิมิริเคว (แปลตามตัวอักษร คือ "ผู้ดูแลปศุสัตว์"), อิมิเรเปอร์ ("พ่อบ้าน") และอิมิเรเคนเรต ("ผู้ดูแลพื้นที่")[1] ด้วยเหตุผลเหล่านี้ สตีเฟน เควิร์ก จึงเสนอว่าพระนามของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวอาจจะเป็นเพียงการสะท้อนถึงประเพณีของครอบครัว และไรฮอล์ทก็เสริมอีกว่าอาจจะบ่งบอกถึงครอบครัวที่มีภูมิหลังทางทหารได้[1][8]

ตำแหน่งตามลำดับเวลาและระยะเวลาการครองราชย์

[แก้]
รูปสลักหินไซยีไนต์ของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว ถ่ายภาพโดยฟลินเดอร์ส เพตรีระหว่างการขุดค้นที่ทานิส

ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวในราชวงศ์ที่สิบสามยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากความคลุมเครือที่ส่งผลกระทบต่อฟาโรห​์พระองค์ก่อนๆ ของราชวงศ์ ตามบันทึกพระนามแห่งตูริน ฟาโรห์อิมิเรเมชอาวทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์เคนดเจอร์ โดยเบเกอร์จัดให้พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ 22 ของราชวงศ์ ส่วนไรฮอล์ทมองพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ 23 และเยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธได้ตั้งให้พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ 18 ของราชวงศ์

ระยะเวลาที่แน่นอนของการครองราชย์ของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวได้สูญหายไปในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามแห่งตูรินและไม่สามารถกู้คืนได้ ยกเว้นช่วงท้ายที่ว่า "[กับอีก] 4 วัน" โดยไรฮอล์ทเสนอว่า การครองราชย์ร่วมกันของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว และผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์สองพระองค์ของพระองค์ คือ เซเฮเทปคาเร อินเตฟ และเซธ เมอร์อิบเรนั้นอยู่ที่ประมาณ 10 ปี หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับรัชสมัยของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวจากในช่วงราชวงศ์ที่สิบสามชื่อว่า บันทึกปาปิรุสโบลัก หมายเลข 18 ซึ่งได้บันทึก เหนือสิ่งอื่นใด สมาชิกราชวงศ์ประกอบด้วยพระภคินีของกษัตริย์จำนวนสิบพระองค์ พระภราดรของกษัตริย์ไม่ระบุจำนวน พระราชธิดาสามพระองค์ของกษัตริย์ มีพระราชโอรสพระนามว่า เรดิเอนเอฟ และพระราชินีพระนามว่า อายา ถึงแม้ว่าพระนามของฟาโรห์จะสูญหายไปในส่วนที่เสียหาย แต่การวิเคราะห์ของไรฮอล์ทที่เกี่ยวกับบันทึกปาปิรุสดังกล่าวทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกี่ยวข้องกับฟาโรห์อิมิเรเมชอาวและฟาโรห์ เซเฮเทปคาเร อินเตฟทเท่านั้น[1] สซึ่งิ่งนี้มีความสำคัญ เนื่องจากตบันทึกปาปิรุสได้บันทึกในช่วงปีที่ 3 และปีที่ 5 ของฟาโรห์พระองค์นี้ นอกจากนี้ ในช่วง "ปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ เดือนที่ 3 แห่งเชมู วันที่ 18" เป็นที่ทราบจากกลุ่มพีระมิดที่สร้างไม่เสร็จซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับพีระมิดของฟาโรห์เคนดเจอร์ ซึ่งรู้จักกันในนามพีระมิดแห่งทางใต้ซักกอเราะฮ์ใต้ ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นโดยฟาโรห์พระองค์เดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นฟาโรห์อิมิเรเมชอาว[1] ยังไม่ทราบช่วงเวลาที่แน่นอนของการสิ้นสุดรัชสมัยของฟาโรห์อิมิเรเมชอาว แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเตฟ ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์ ทรงไม่ได้ใช้พระนามที่เกี่ยวข้องผู้ปกครองพระองค์ก่อนที่ชี้ให้เห็นความเห็นเชื้อพระวงศ์ ดังนั้นไรฮอล์ทจึงเสนอว่าฟาโรห์อินเตฟอาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์ก็เป็นได้[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  2. 2.0 2.1 Thomas Schneider following Detlef Franke: Lexikon der Pharaonen, Albatros, 2002
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 134
  4. Flinders Petrie: A history of Egypt from the earliest times to the 16th dynasty, pp. 209-210, 1897, available online
  5. British Museum database
  6. W. Davies: A royal statue reattributed, British Museum occasional paper 28, London, 1981
  7. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964, p. 52
  8. Stephen Quirke in Middle Kingdom Studies, S. Quirke editor, SIA publishing, 1991, p. 131