ฟาโรห์แรเมซีสที่สิบ
ราเมสเซสที่ 10 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาจจะเขียนพระนามว่า รามเสส หรือ ราเมเซส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() ลักษณะของฟาโรห์รามเสสที่ 10 บนภาพร่างจากสุสานเควี 18 โดยคาร์ล ริชาร์ด เล็พซิอุส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์แห่งอียิปต์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 1111–1107 ปีก่อนคริสตกาล, ราชวงศ์ที่ยี่สิบ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | รามเสสที่ 9 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | รามเสสที่ 11 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | รามเสสที่ 11? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สวรรคต | 1107 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | เควี 18 |
เคเปอร์มาอัตเร ราเมสเซสที่ 10 (หรือจะเขียนพระนามว่า รามเสส หรือ ราเมเซส) (ทรงปกครองประมาณระหว่าง 1111 ปีก่อนคริสตกาล – 1107 ปีก่อนคริสตกาล)[1] เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบ พระนามประสูติของพระองค์ คือ อามอนเฮอร์เคเพเชฟ และพระนามครองราชย์ คือ เคเปอร์มาอัตเร หมายถึง "ความยุติธรรมแห่งเทพราอันรักษาไว้"[2]
วันขึ้นครองราชย์ของพระองค์ตรงกับเดือนที่ 1 แห่งฤดูหนาว วันที่ 27 (1 prt 27)[3] ปีที่ทรงครองราชย์สูงสุดคือ ปีที่ 3 ช่วงเวลาที่สูงสุดตามหลักฐานที่ปรากฏในรัชสมัยคือ "ปีที่ 3 เดือนที่ 2 ของฤดูน้ำหลาก วันที่ 2"[4] หรืออาจเป็น "ปีที่ 3 เดือนที่ 4 (ไม่ปรากฏจำนวนวัน)"[5]
เนื่องจากฟาโรห์รามเสสที่ 11 เสด็จขึ้นครองราชย์ในเดือนที่ 3 ของฤดูร้อน วันที่ 20 (3 šmw 20)[6] จึงเป็นไปตามโดยอัตโนมัติว่าฟาโรห์รามเสสที่ 10 จะต้องมีพระชนม์ชีพอยู่ในปีที่ 4 ซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานตรวจสอบ ข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นการนำเรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์มาอธิบายโดยริชาร์ด ปาร์คเกอร์ว่าฟาโรห์รามเสสที่ 10 อาจจะทรงครองราชย์เป็นเวลา 9 ปี แต่ก็เหตุการณ์ช่วงเวลาที่เหลือก็ได้สูญหายไปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[7] ในทำนองเดียวกัน จารึกแห่งธีบส์ หมายเลข 1860 เอ ได้กล่าวถึงปีที่ 8 อันสมมติ แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์รามเสสที่ 10[8][9] ซึ่งไม่ได้นำมาเป็นหลักฐานสนับสนุนอีกต่อไป[10]
ไอแดน ด็อดสัน นักไอยยคุปต์วิทยาชาวอังกฤษได้เขียนไว้ในหนังสือปี ค.ศ. 2004 ว่า
ไม่ปรากฏหลักฐานใดที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างฟาโรห์พระองค์สุดท้ายอย่างฟาโรห์รามเสสที่ 9 , 10 และ 10 หากเป็นการสืบราชสันตติวงศ์แบบบิดา-บุตร พระนางติติ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นพระราชธิดาแห่งกษัตริย์ พระมเหสีแห่งกษัตริย์ และพระราชมารดาแห่งกษัตริย์ ดูเหมือนจะ [เป็น] บุคคลที่เป็นได้ว่าจะทรงเป็นพระมเหสีในฟาโรห์รามเสสที่ 10 แต่ก็สามารถทราบข้อมูลอย่างอื่นได้[11]

อย่างไรก็ตาม ข้อสมมติฐานของด็อดสันเกี่ยวกับตำแหน่งของพระนางติติก็ต้องถูกล้มล้างไป เนื่องจากมีการพิสูจน์ในปี ค.ศ. 2010 ว่า พระนางติติน่าจะเป็นสมเด็จพระราชินีของฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบก่อนหน้าช่วงเวลาดังกล่าวแทน และพระองค์ถูกกล่าวถึงในบันทึกปาปิรุสแฮร์ริสที่เสียหายเป็นบางส่วนว่า พระองค์เป็นพระมเหสีของฟาโรห์รามเสสที่ 3 ดังที่ด็อดสันเองก็รับทราบ[12]
ฟาโรห์รามเสสที่ 10 เป็นฟาโรห์ที่ปรากฏหลักฐานยืนยันน้อยมาก ในปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ได้ปรากฏในบันทึกปาปิรุสแห่งตูริน หมายเลข 1932 และ 1939 ในขณะที่ปีที่สาม 3 แห่งการครองราชย์ได้รับการบันทึกไว้ในบันทึกสุสานคนงานแห่งเดียร์ อัล-เมดินา[13] ซึ่งบันทึกประจำวันดังกล่าวได้กล่าวถึงความเกียจคร้านโดยทั่วไปของคนงานในสุสาน อย่างน้อยส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากภัยคุกคามจากกลุ่มโจรชาวลิเบียในหุบเขากษัตริย์ โดยบันทึกว่าคนงานแห่งเดียร์ อัล-เมดินาได้ขาดงานในปีที่ 3 เดือนเพเรต (หรือ ฤดูหนาว) วันที่ 6, 9, 11, 12, 18, 21 และ 24 เพราะกลัว "ชาวทะเลทราย" (คือ ชาวลิเบียหรือเมชเวส) ซึ่งเห็นได้ชัดว่าได้ท่องไปในอียิปต์บนและธีบส์อย่างตามอำเภอใจ[14] ส่วนหนึ่งเป็นภาพสะท้อนของการไหลเข้าของชาวลิเบียจำนวนมหาศาลสู่ภูมิภาคดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ตะวันตกของอียิปต์ล่างในช่วงเวลาดังกล่าว ฟาโรห์รามเสสที่ 10 ยังเป็นฟาโรห์แห่งราชอาณาจักรใหม่พระองค์สุดท้ายที่ปกครองนิวเบีย ซึ่งได้รับการยืนยันจากคำจารึกที่อานิบา[15]
หลุมฝังศพ เควี 18 ของพระองค์ในหุบเขากษัตริย์ยังเสร็จไม่แล้วเสร็จ ซึ่งไม่แน่ใจว่าพระองค์ทรงเคยถูกฝังพระบรมศพไว้ที่นั่นหรือไม่ เนื่องจากไม่พบพระบรมศพหรือชิ้นส่วนของวัตถุที่ใช้ทำพระบรมศพภายในนั้น
อ้างอิง[แก้]
- ↑ R. Krauss & D.A. Warburton "Chronological Table for the Dynastic Period" in Erik Hornung, Rolf Krauss & David Warburton (editors), Ancient Egyptian Chronology (Handbook of Oriental Studies), Brill, 2006. p.493
- ↑ Peter Clayton, Chronicle of the Pharaohs, Thames & Hudson Ltd., 2006 paperback, p.167
- ↑ J. von Beckerath, GM 79 (1984), 8-9
- ↑ Botti & Peet, Il Giornale della Necropoli, 55
- ↑ Botti & Peet, Il Giornale della Necropoli, 55, txt d
- ↑ K. Ohlhafer, GM 135 (1993), 59ff
- ↑ R.A. Parker, The Length of the Reign of Ramesses X, RdÉ 11 (1951), 163-164
- ↑ M. Bierbrier, JEA 58 (1972), 195-199
- ↑ M. Bierbrier, JEA 61 (1975), 251
- ↑ L.D. Bell, "Only one High Priest Ramessesnakht and the Second Prophet Nesamun his younger Son, Serapis 6 (1980), 7-27
- ↑ Aidan Dodson & Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, 2004, ISBN 0-500-05128-3, p.191
- ↑ Mark Collier, Aidan Dodson, & Gottfried Hamernik, P. BM 10052, Anthony Harris and Queen Tyti, JEA 96 (2010), pp.242-247
- ↑ E.F. Wente & C.C. Van Siclen, "A Chronology of the New Kingdom" in Studies in Honor of George R. Hughes, (SAOC 39) 1976, p.261
- ↑ J. Cerny, "Egypt from the Death of Ramesses III" in Cambridge Archaeological History (CAH), 'The Middle East and the Aegean Region c.1380-1000 BC', 1975, p.618
- ↑ Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, (Blackwell Books: 1992), p.291