ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์แรเมซีสที่สิบเอ็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมนมาอัตเร ราเมสเซสที่ 11 (หรือจะเขียนพระนามว่า รามเสส หรือ ราเมเซส) ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 1107 ปีก่อนคริสตกาลถึง 1078 ปีก่อนคริสตกาลหรือ 1077 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบและพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ และเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายแห่งสมัยราชอาณาจักรใหม่ พระองค์ทรงปกครองอียิปต์เป็นเวลาอย่างน้อย 29 ปี ถึงแม้ว่านักไอยคุปต์วิทยาบางคนคิดว่าพระองค์ทรงสามารถปกครองได้นานถึง 30 ปีก็ตาม ซึ่งตัวเลขปีหลังนี้อาจจะนานถึง 2 ปี หลังจากช่วงเวลาที่ทราบสูงสุดของฟาโรห์พระองค์นี้คือปีที่ 10 ของสมัยเวเฮม เมซุต หรือปีที่ 28 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[3] อัด ธิจส์ นักวิชาการคนหนึ่งเสนอว่า ฟาโรห์ราเมสที่ 11 อาจจะทรงครองราชย์ได้นานถึง 33 ปีด้วยซ้ำ[4]

เป็นที่เชื่อกันว่า ฟาโรห์รามเสสที่ 11 ทรงปกครองถึงปีที่ 29 แห่งการครองราชย์ เนื่องจากปรากฏจารึกที่บันทึกว่านายพลและมหาปุโรหิตแห่งอามุนนามว่า พิอังค์ ได้เดินทางกลับไปที่เมืองธีบส์จากนิวเบียในเดือนที่ 3 แห่งเชมู วันที่ 23 หรืออีกเพียง 3 วันในการเริ่มต้นรัชสมัยปีที่ 29 ของฟาโรห์รามเสสที่ 11 และเป็นที่ทราบกันดีว่า พิอังค์ได้ดำเนินการทางทหารในบริเวณนิวเบียในช่วงปีที่ 28 ของรัชสมัย (หรือปีที่ 10 ของสมัยเวเฮม เมซุต) และจะเดินกลับอียิปต์ในปีถัดไป

สถานที่ฝังพระบรมศพ

[แก้]

ในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาในอียิปต์นั้น ฟาโรห์รามเสสที่ 11 เสด็จสวรรคตโดยไม่ทราบสาเหตุ ในขณะที่พระองค์มีหลุมฝังพระบรมศพที่เตรียมไว้สำหรับพระองค์เองในหุบเขาแห่งกษัตริย์ (เควี 4) ซึ่งยังคงสร้างไม่แล้วเสร็จและตกแต่งเพียงบางส่วน จึงทำให้ฝังพระบรมศพห่างจากเมืองธีบส์ ซึ่งอาจอยู่ใกล้เมมฟิสแทน อย่างไรก็ตาม หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ดังกล่าวมีลักษณะที่ไม่ธรรมดา เช่น เสาสี่เหลี่ยมสี่เสาในห้องฝังพระบรมศพ และปล่องฝังพระบรมศพตรงกลางที่ลึกมาก ยาวกว่า 30 ฟุต หรือ 10 เมตร ซึ่งบางทีอาจจะออกแบบเป็นเหมือนอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการปล้นสุสาน[5] ในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดภายใต้การปกครองของมหาปุโรหิตแห่งธีบส์พระนามว่า พิเนดจ์เอมที่ 1[6] หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์รามเสสที่ 11 ถูกใช้เป็นการแปรรูปวัตถุพิธีศพจากการฝังพระบรมศพของฮัตเชปซุต ทุตโมสที่ 3 และรวมถึงทุตโมสที่ 1 ด้วย หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์รามเสสที่ 11 ได้เปิดอยู่แล้วตั้งแต่สมัยโบราณและถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยกลุ่มคอปติก[7]

เนื่องจาก ฟาโรห์รามเสสที่ 11 ทรงได้ถูกฝังพระบรมศพไว้ที่อียิปต์ล่าง และฟาโรห์สเมนเดสก็ทรงขึ้นเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ตามธรรมเนียมที่รู้จักกันดีว่าผู้ที่ฝังพระบรมศพอดีตฟาโรห์จะได้รับพระราชบัลลังก์ เนื่องจากฟาโรห์สเมนเดสทรงฝังพระบรมศพฟาโรห์รามเสสที่ 11 จึงทำให้พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ได้อย่างถูกต้องตามกฏมณเฑียรบาล และทรงสถาปนราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดจากฐานอำนาจของพระองค์ที่ทานิส แม้ว่าพระองค์จะทรงไม่ได้ควบคุมอียิปต์กลางและอียิปต์บนก็ตาม ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้อำนาจของมหาปุโรหิตแห่งอามุนที่ธีบส์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Titulary from von Beckerath, Königsnamen, pp. 174–175 (T2 and E2)
  2. [1] เก็บถาวร 2013-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ramesses XI Menmaatre-setpenptah
  3. Erik Hornung, Rolf Krauss & David Warburton (editors), Handbook of Ancient Egyptian Chronology (Handbook of Oriental Studies), Brill: 2006, p.475
  4. Ad Thijs, "Reconsidering the End of the Twentieth Dynasty. Part III: Some Hitherto Unrecognised Documents from the Whm Mswt," Göttinger Miszellen 173 (1999), pp. 175-192.
  5. Nicholas Reeves & Richard H. Wilkinson, The Complete Valley of the Kings, Thames & Hudson Ltd., 1996. p.173
  6. Reeves & Wilkinson, p.173
  7. Reeves & Nicholson, p.172