ฟาโรห์ฮอรัส ซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฮอรัส ซา (หรือ ซา) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ตอนต้น พระองค์อาจจะทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงราชวงศ์ที่สองหรือสามของอียิปต์ การมีอยู่ของพระองค์เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และการตีหมายของวัตถุโบราณซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยันการมีอยู่ของพระองค์

หลักฐานยืนยัน[แก้]

ฟาโรห์ฮอรัส ซาทรงเป็นที่รู้จักมาจากเศษภาชนะที่มีจารึกพระนามของพระองค์ด้วยหมึกสีดำ ภาชนะดังกล่าวถูกพบในห้องโถงทางทิศตะวันออกใต้พีระมิดของฟาโรห์ดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์ เป็นคำจารึกขนาดสั้นและเขียนด้วยลายมือแบบเล่นหาง พระนามของฟาโรห์ "ฮอรัส ซา" ไม่ได้ปรากฏในเซเรคและมีการโต้แย้งในการระบุว่าเป็นพระนามฮอรัส[1][2]

พระนาม "ฮอรัส ซา" ปรากฏอยู่ในจารึก Ḥwt-k3 Ḥrw-z3 ("เรือนแห่งดวงวิญญาณของฮอรัส ซา") ซึ่งพบร่วมกับนามของอินิคนุมและมา'อา-อาเพอร์-มิน ซึ่งทั้งสองคนเป็นขุนนางตำแหน่งระดับสูงที่ทำหน้าที่ในเรือนแห่งดวงวิญญาณ (Ka-house) ในช่วงสมัยต้นราชวงศ์ของอียิปต์ เรือนแห่งดวงวิญญาณนั้นเป็นต้นแบบของวิหารบูชาพระบรมศพในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำพิธีบูชาดวงวิญญาณ (Ka) ของฟาโรห์ที่เสด็จสวรรคต คำจารึกเพิ่มเติมของ Ḥwt-k3 Ḥrw-z3 ถูกพบในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ที่ซักกอเราะฮ์ ในบริเวณหลุมฝังศพของมายา และซึ่งใกล้กับหลุมฝังศพของเมริรา-เมรินิธอย่างมาก[3] โดยมายาและเมริรา-เมรินิธเป็นขุนนางราชสำนักในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบแปด ซึ่งนำสุสานจากสมัยราชวงศ์ที่สองกลับมาใช้ใหม่สำหรับตัวเอง ประมาณ 1,500 ปี หลังจากการตายของเจ้าของเดิม[3][4]

การระบุตัวตน[แก้]

เยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธ, ดีทริช วิลดุง และปีเตอร์ คาพลอนี ได้เสนอว่า "ซา" เป็นคำย่อของพระนามฮอรัสว่า ซานัคต์[5] ส่วนว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์คได้ปฏิเสธข้อสันนิษฐานดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่าจารึกหมึกจากห้องโถงใต้ดินทางตะวันออกของพีระมิดแห่งดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์ ส่วนใหญ่แล้วมาจากรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์หรือหลังจากนั้นไม่นาน ในขณะที่ฟาโรห์ซานัคต์​ทรงครองราชย์ในช่วงกลางราชวงศ์ที่สาม นอกจากนี้ จารึกที่กล่าวถึง "เรือนแห่งดวงวิญญาณของโฮเทปเซเคมวี" ซึ่งมีลักษณะโวหารที่คล้ายกับของฟาโรห์ฮอรัส ซา ซึ่งจะระบุให้ฟาโรห์ซาทรงอยู่ในราชวงศ์ที่สอง เนื่องจากฟาโรห์โฮเทปเซเคมวีทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกของราชวงศ์ที่สอง ดังนั้น เฮ็ลท์คจึงเสนอว่า ฮอรัส ซา เป็นพระนามฮอรัสของผู้ปกครองที่ยังคลุมเครืออีกพระองค์หนึ่งของราชวงศ์ที่สองซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับฟาโรห์เวเนก ซึ่งยังไม่ทราบพระนามฮอรัส[6]

โจเชม คาห์ล นักไอยคุปต์วิทยาเพิ่งได้ตั้งข้อสงสัยกับข้อสมมติฐานดัง โดยระบุฟาโรห์เวเนกเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ราเนบ[7] ส่วนคาพลอนียังได้สร้างพระนามฮอรัสของฟาโรห์เวเนกขึ้นใหม่จากชิ้นส่วนของศิลาแห่งปาแลร์โมว่า เวเนกเซเคมวี[8] ในทั้งสองกรณีดัลกล่าวในข้างต้น ฮอรัส ซา ไม่สามารถเป็นพระนามฮอรัสของฟาโรห์เวเนกได้ และทั้งสองข้อนี้จะไม่ระบุว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกัน ด้วยเหตุนี้ คาพลอนีจึงเปรียบฮอรัส ซากับฟาโรห์ njswt-bity Wr-Za-Khnwm, "กษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง เวอร์ซาคนุม" และให้ระบุระยะเวลาแห่งการครองราชย์อยู่ที่ 2 เดือน 23 วัน ในช่วงเวลาว่างกษัตริย์ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์คาเซเคมวีและรัชสมัยของฟาโรห์ดโจเซอร์[9] อย่างไรก็ตาม สมมติฐานของคาพลอนีได้ถูกโต้แย้งโดยการค้นพบตราดินเหนียวของฟาโรห์ดโจเซอร์ในหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์คาเซเคมวี ซึ่งบ่งชี้ว่าเกิดการขึ้นครองราชย์ในทันทีและฟาโรห์คาเซเคมวีทรงถูกฝังพระบรมศพในภายหลัง[10] ฮอรัส ซา อาจจะเป็นพระนามฮอรัสของฟาโรห์เซเนดจ์หรือฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สอง ซึ่งทรงปกครองเมืองเมมฟิสในช่วงเวลาที่มีปัญหาหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์[11]

อย่างไรก็ตาม นักไอยคุปต์วิทยาอย่าง ฌ็อง-ฟิลิปป์ เลาเออร์, ปีแยร์ ลาโค และอิโลนา เรกูลสกี ได้โต้แย้งให้ระมัดระวังในการอ่านจารึกอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัญลักษณ์รูปนกบนรูปเรือนแห่งดวงวิญญาณ ซึ่งอาจจะเป็นสัญลักษณ์รูปนกนางแอ่น ซึ่งจะทำให้จารึกอ่านว่า เวอร์-ซา-ฮุต-คา (Wer-sa-hut-Ka, "มหาพิทักษ์ของเรือนแห่งดวงวิญญาณ") แต่เรกูลสกีเห็นว่าน่าจะอ่านเป็นสัญลักษณ์รูปนกฮอรัสมากกว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ทราบอย่างชัดเจนว่าพระนามดังกล่าวจะเป็นพระนามของฟาโรห์ แต่เรกูลสกีได้ระบุช่วงจารึกของจารึกจนถึงช่วงปลายของรัชสมัยฟาโรห์คาเซเคมวี[1]

สถานที่ฝังพระบรมศพ[แก้]

ไม่ทราบสถานที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์ฮอรัส ซา แต่นาบิล สเวลิมได้เชื่อมโยงฟาโรห์ฮอรัส ซา กับพื้นที่เขตกำแพงล้อมที่ยังไม่เสร็จของกิสร์ อัมมุดิร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของซักกอเราะฮ์ แต่ข้อสมมติฐานดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและกิสร์ อัมมุดิร์ได้มีการอ้างถึงกับฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สองหลายพระองค์ โดยเฉพาะฟาโรห์คาเซคเอมวี หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง นักไอยคุปต์วิทยา โยริส ฟาน วอเทอริง ได้เสนอว่าหลุมฝังศพของมหาปุโรหิตแห่งอาเตน นามว่า เมริรา-เมรินิธ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของซักกอเราะฮ์ เดิมที่แล้วหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ฮอรัส ซา เนื่องจากมีการค้นพบจารึก Ḥwt-k3 Ḥrw-z3 ในบริเวณใกล้เคียงหลุมฝังศพดังกล่าว[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Ilona Regulski: Second dynasty ink inscriptions from Saqqara paralleled in the Abydos material from the Royal Museums of Art and History in Brussels. pp. 953–959.
  2. Wolfgang Helck, Die Datierung der Gefäßaufschriften aus der Djoserpyramide, in: Zeitschrift für ägyptische Sprache und Altertumskunde 106, 1979, ISSN 0044-216X, pp. 120–132.
  3. 3.0 3.1 3.2 Joris van Wetering: The Royal Cemetery of the Early Dynastic Period at Saqqara and the Second Dynasty Royal Tombs, in Proceedings of the Krakow Conference, 2002.
  4. 4.0 4.1 René van Walsem, Sporen van een revolutie in Saqqara. Het nieuw ontdekte graf van Meryneith alias Meryre en zijn plaats in de Amarnaperiode, Phoenix : bulletin uitgegeven door het Vooraziatisch-Egyptisch Genootschap Ex Oriente Lux, 47 (1-2), pp. 69-89.; see also M. J. Raven and R. Walsem: Preliminary report on the Leiden Excavations at Saqqara, 2001, 2003, 2004, 2007, Complete list เก็บถาวร 17 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, p. 243.
  6. Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit, p. 103 and 108.
  7. Jochem Kahl, Ra is my Lord - Searching for the rise of the Sun God at the dawn of Egyptian history, Harrassowitz, Wiesbaden 2007, ISBN 3-447-05540-5, pp. 12–14 & 74.
  8. Peter Kaplony: Steingefässe mit Inschriften der Frühzeit und das Alten Reiches. Monographies Reine Elisabeth, Bruxelles 1968
  9. Peter Kaplony: Die Inschriften der Ägyptischen Frühzeit. O. Harrassowitz, Wiesbaden 1963, pp. 380, 468 & 611.
  10. Toby Wilkinson: Early Dynastic Egypt. Routledge, London 1999, p. 83 & 95
  11. Thomas Von der Way: Zur Datierung des "Labyrinth-Gebäudes" auf dem Tell el-Fara'in (Buto), in: Göttinger Miszellen 157, 1997, 107-111

บรรณานุกรม[แก้]

  • Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3
  • Pierre Lacau & Jean-Philippe Lauer: La Pyramide à Degrés V. – Inscriptions Gravées sur les Vases: Fouilles à Saqqarah, Service des antiquités de l'Égypte, Kairo 1936
  • Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit. Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4
  • Nabil Swelim: Some Problems on the History of the Third Dynasty, Archaeology Society, Alexandria 1983
  • Ilona Regulski: Second dynasty ink inscriptions from Saqqara paralleled in the Abydos material from the Royal Museums of Art and History in Brussels. In: Stan Hendrickx, R.F. Friedman, Barbara Adams & K. M. Cialowicz: Egypt at its origins. Studies in memory of Barbara Adams. Proceedings of the international Conference „Origin of the State, Predynastic and Early Dynastic Egypt“, Kraków, 28th August – 1st September 2002 (= Orientalia Lovaniensia analecta. Vol. 138). Peeters Publishers, Leuven (NL) 2004, ISBN 90-429-1469-6.