ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ 𐎸𐎭𐎼𐎠𐎹 Mudrāya | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มณฑลของจักรวรรดิอะคีเมนิด | |||||||||
525 ปีก่อนคริสตกาล – 404 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||
ส่วนด้านตะวันตกของจักรวรรดิอะคีเมนิด และดินแดนอียิปต์[1][2][3][4] | |||||||||
การปกครอง | |||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||
• 525–522 ปี่ก่อนคริสตกาล | แคมไบซีสที่ 2 (พระองค์แรก) | ||||||||
• 423–404 ปีก่อนคริสตกาล | ดาริอุสที่ 2 (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | สมัยอะคีเมนิด | ||||||||
525 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||
• การก่อกบฏของอไมร์เตอุส | 404 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||
|
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ หรือที่เรียกว่า มณฑลอียิปต์ที่ 1 (เปอร์เซียโบราณ: Mudrāya[8]) เป็นมณฑล (Satrapy) ของจักรวรรดิเปอร์เซียแห่งราชวงศ์อะคีเมนิด ระหว่าง 525 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง 404 ปีก่อนคริสตกาล สถาปนาขึ้นขึ้นโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย หลังจากการทำยุทธการที่เปลูเซียม (525 ปีก่อนคริสตกาล) การพิชิตอียิปต์ของราชวงศ์อะคีเมนิด และการขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ในเวลาต่อมา ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดสิ้นสุดเนื่องจากการก่อกบฏและการขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์อไมร์เตอุส ส่วนช่วงที่สองของการปกครองของราชวงศ์อะคีเมนิดในอียิปต์นั้นอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 343–332 ปีก่อนคริสตกาล)
ประวัติราชวงศ์
[แก้]ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ ทรงพ่ายแพ้ต่อกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ในสมรภูมิเปลูเซียมที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ตะวันออกในเดือนพฤษภาคม เมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์แคมไบซีสทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ในฤดูร้อนของปีนั้นอย่างช้าที่สุด ซึ่งเป็นการเริ่มต้นช่วงแรกของการปกครองของเปอร์เซียเหนืออียิปต์ (หรือที่เรียกว่า ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์) จากนั้นอียิปต์ก็เข้าร่วมกับไซปรัสและฟีนิเซียเพื่อก่อตั้งเป็นมณฑลที่หกของจักรวรรดิอะคีเมนิด โดยมีอารยันดิสเป็นผู้ว่าการประจำมณฑล
ในฐานะฟาโรห์แห่งอียิปต์ เห็นว่าในรัชสมัยของกษัตริย์แคมไบซีส ทรัพยากรทางการคลังของวิหารอียิปต์ดั้งเดิมลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งปรากฏพระราชกฤษฎีกาฉบับหนึ่งซึ่งเขียนบนกระดาษปาปิรุสด้วยอักษรเดโมติกได้สั่งจำกัดทรัพยากรสำหรับวิหารอียิปต์ทุกแห่ง ยกเว้นเมมฟิส เฮลิโอโปลิส และเวนเคม (ใกล้กับอาบูซีร์) กษัตริย์แคมไบซีสทรงเดินออกจากอียิปต์ในช่วงต้น 522 ปีก่อนคริสตกาล และสวรรคตระหว่างทางไปเปอร์เซีย และกษัตริย์บาร์ดิยา ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ทรงขึ้นปกครองเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แม้ว่านักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยจะเสนอความเห็นว่า กษัตริย์บาร์ดิยาที่แท้จริงแล้วคือเกามาตา และบาร์ดิยาตัวจริงถูกสังหารเมื่อหลายปีก่อนโดยกษัตริย์แคมไบซีส กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 ทรงสงสัยว่ามีการแอบอ้างนี้ จึงทรงก่อรัฐประหารต่อต้าน "บาร์ดิยา" ในเดือนกันยายนของปีนั้น ทรงโค่นล้มฟาโรห์บาร์ดิยาและได้รับการสวมมงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์และฟาโรห์ในเช้าวันรุ่งขึ้น
ในฐานะกษัตริย์เปอร์เซียพระองค์ใหม่ กษัตริย์ดาริอุสทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการปราบกบฏทั่วทั้งอาณาจักรของพระองค์ ช่วงปลายของ 522 ปีก่อนคริสตกาล หรือช่วงต้น 521 ปีก่อนคริสตกาล ผู้ปกครองอียิปต์ในท้องถิ่นก่อการจลาจลและประกาศตนเป็นฟาโรห์เปตูบัสติสที่ 3 ซึ่งไม่ทราบสาเหตุหลักของการกบฏนี้ไม่แน่นอน แต่นักประวัติศาสตร์การทหารชาวกรีกโบราณนามว่า พอลิเอนุส ระบุว่าเกิดจากการเก็บภาษีที่กดขี่ ซึ่งกำหนดโดยอารยันดิส และพอลิเอนุสได้เขียนเพิ่มเติมอีกว่า กษัตริย์ดาริอุสทรงเดินทัพไปยังอียิปต์โดยมาถึงในช่วงที่มีการไว้ทุกข์สำหรับการสิ้นพระชนม์ของพระโคเฮรัลด์แห่งเทพพทาห์อันศักดิ์สิทธิ์ กษัตริน์ดาริอุสทรงประกาศว่าพระองค์จะมอบรางวัลหนึ่งร้อยตะลันต์ให้กับชายผู้ซึ่งสามารถสถาปนาพระโคเฮรัลด์พระองค์ต่อไปได้ จึงสร้างความประทับใจให้กับชาวอียิปต์ด้วยความนับถือของพระองค์จนคนจำนวนมากแห่กันไปข้างพระองค์ ทำให้การกบฏยุติลง[9]
กษัตริย์ดาริอุสทรงสนพระทัยกิจการภายในของอียิปต์มากกว่าแคมไบซีส มีรายงานว่าพระองค์ทรงตราประมวลกฎหมายของอียิปต์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดระบบคลองที่สุเอซจนเสร็จสิ้น ทำให้สามารถเดินทางจากทะเลสาบบิตเตอร์ผ่านไปยังทะเลแดงได้ ซึ่งดีกว่าเส้นทางบนบกที่ทุรกันดารในทะเลทรายมาก ความสำเร็จนี้ทำให้กษัตริย์ดาริอุสทรงสามารถนำเข้าแรงงานและช่างฝีมือชาวอียิปต์ที่มีทักษะมาสร้างพระราชวังของพระองค์ในเปอร์เซีย ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะสมองไหลเล็กน้อยในอียิปต์ เนื่องจากการสูญเสียบุคคลที่มีทักษะเหล่านี้ ทำให้คุณภาพสถาปัตยกรรมและศิลปะของอียิปต์ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตามกษัตริย์ดาริอุสก็ทรงอุทิศพระองค์ให้กับการสนับสนุนวิหารอียิปต์มากกว่ากษัตริย์แคมไบซีส ทำให้พระองค์ได้รับชื่อเสียงในด้านการยอมรับความต่างทางศาสนาในภูมิภาคดังกล่าว ใน 497 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างที่กษัตริย์ดาริอุสทรงไปเยือนอียิปต์ อารยันดิสได้ถูกประหารชีวิตในข้อหากบฏ ซึ่งเป็นไปได้มากว่าอารยันดิสพยายามออกเหรียญของตนเอง จึงเห็นถึงเป็นความพยายามในการแยกอียิปต์ออกจากส่วนที่เหลือของจักรวรรดิเปอร์เซีย[13][14] กษัตริย์ดาริอุสเสด็จสวรรคตใน 486 ปีก่อนคริสตกาล และสืบพระราชบัลลังก์ต่อโดยกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1
หลังจากการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์เซอร์ซีส อียิปต์ได้มีการก่อกบฏอีกครั้ง คราวนี้อาจจะเป็นไปได้ภายใต้ฟาโรห์พซัมติกที่ 4 ถึงแม้ว่าแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะโต้แย้งในรายละเอียดนั้นก็ตาม กษ้ตริย์เซอร์ซีสทรงปราบการกบฏอย่างรวดเร็วโดยแต่งตั้งให้อะเคเมเนส ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ขึ้นเป็นผู้ว่าการมณฑล กษัตริย์เซอร์ซีสทรงยุติสถานะพิเศษของอียิปต์ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ดาริอุส และเพิ่มความต้องการด้านอุปทานจากประเทศนี้ ซึ่งน่าจะเป็นเงินทุนในการรุกรานกรีซของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงส่งเสริมเทพเจ้าอาฮูรา มาซดา ของศาสนาโซโรอัสเตอร์แทนที่เทพเจ้าอียิปต์ดั้งเดิม และทรงหยุดการให้เงินสนับสนุนการสร้างอนุสาวรีย์ในอียิปต์อย่างถาวร กษัตริย์เซอร์ซีสทรงถูกสังหารใน 465 ปีก่อนคริสตกาลโดยอาร์ตาบานุส โดยเริ่มต้นการต่อแย่งชิงอำนาจภายในราชวงศ์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการที่กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1 ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์องค์ต่อไปและครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์
ใน 460 ปีก่อนคริสตกาล การก่อจลาจลครั้งใหญ่ของอียิปต์เกิดขึ้นอีกครั้ง นำโดยผู้ปกครองชาวลิเบียนามว่า อินารอสที่ 2 ซึ่งได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากชาวเอเธนส์แห่งกรีซ[15] โดยที่อินารอสได้เอาชนะกองทัพที่นำโดยอะเคเมเนส ซึ่งถูกสังหารในสมรภูมิดังกล่าว และเข้ายึดเมืองเมมฟิส ในที่สุดก็ได้แผ่อำนาาจควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์ ในที่สุด อินารอสและพันธมิตรชาวเอเธนส์ของเขาก็พ่ายแพ้ต่อกองทัพเปอร์เซียที่นำโดยนายพลเมกะไบซุสในปี 454 ก่อนคริสตกาล และส่งผลให้ต้องล่าถอย โดยเมกะไบซุสได้ให้สัญญาว่าจะไม่ทำอันตรายใดๆ แก่อินารอสหรือผู้ติดตามของเขา หากเขายอมจำนนและยอมจำนนต่อผู้ทรงอำนาจแห่งเปอร์เซีย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่อินารอสยอมตกลง อย่างไรก็ตาม ในที่สุดกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสก็ทรงสั่งประหารอินารอส ถึงแม้ว่าจะเป็นประเด็นถกเถียงกันว่าเกิดขึ้นอย่างไรและเมื่อไหร่ก็ตาม[16] กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสเสด็จสวรรคตเมื่อ 424 ปีก่อนคริสตกาล
ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสพระนามว่า เซอร์ซีสที่ 2 ซึ่งขึ้นปกครองเพียงสี่สิบห้าวัน โดยที่กษัตริย์ซอกเดียนุส ผู้เป็นพระอนุชา ได้ทรงลอบปลงพระชนม์พระองค์ และกษัตริย์ซอกเดียนุสได้ทรงถูกพระอนุชาพระนามว่า โอคัส สังหารพระองค์ และขึ้นครองพระราชบัลลังก์ในพระนามว่า กษัตริย์ดาริอุสที่ 2[17] โดยกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ทรงปกครองตั้งแต่ 423 ถึง 404 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อใกล้สิ้นสุดรัชสมัยของพระองค์ การก่อจลาจลที่นำโดยอไมร์เตอุสก็เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเริ่มการก่อกบฎอย่างเร็วที่สุดเมื่อ 411 ปีก่อนคริสตกาล ใน 405 ปีก่อนคริสตกาล อไมร์เตอุส พร้อมด้วยความช่วยเหลือของทหารรับจ้างชาวครีตได้ขับไล่ชาวเปอร์เซียออกจากเมืองเมมฟิส และประกาศตนเป็นฟาโรห์ในปีต่อมา และการปกครองของราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์สิ้นสุด เมื่อกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ผู้ซึ่งทรงครองพระราชบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ได้ทรงพยายามเริ่มดำเนินการเพื่อยึดอียิปต์คืน แต่เนื่องจากปัญหาทางการเมืองกับพระอนุชาของพระองค์พระนามว่า ไซรัส ผู้เยาว์ พระองค์จึงทรงละทิ้งความพยายามในการดำเนินการดังกล่าว แต่กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสยังคงทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นฟาโรห์โดยชอบธรรมในบางส่วนของอียิปต์จนถึง 401 ปีก่อนคริสตกาล ถึงแม้ว่าการตอบโต้อย่างเชื่องช้าของพระองค์ต่อสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้อียิปต์สามารถประกาศเอกราชได้
ในช่วงระยะเวลาของการปกครองอิสระ ราชวงศ์พื้นเมือง 3 ราชวงศ์ได้ผลัดขึ้นมามีอำนาจ คือ ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด, ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า และราชวงศ์ที่สามสิบ โดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 (358 ปีก่อนคริสตกาล) ได้ทรงพิชิตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำไนล์อีกครั้งในช่วงมณฑลอียิปต์ที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ (343 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเรียกว่าราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์อะคีเมนิดได้เข้ามาปกครองอียิปต์นั้นมักถูกมองว่าอ่อนแอหรือกดขี่ การวิเคราะห์ของ เอช. พี. คอลเบิร์น (2019) ชี้ให้เห็นว่ามรดกของราชวงศ์อะคีเมนิดมีความสำคัญ และชาวอียิปต์มีประสบการณ์ที่หลากหลายในช่วงเวลานี้[18][19]
รายพระนามฟาโรห์
[แก้]ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ทรงปกครองเป็นระยะเวลาประมาณ 121 ปี นับตั้งแต่ 525 ถึง 404 ปีก่อนคริสตกาล โดยผู้ปกครองที่มีพื้นหลังสีม่วงเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ชาวพื้นเมืองที่กบฏต่อการปกครองของราชวงศ์อะคีเมนิด
พระนาม | รูปภาพ | รัชสมัย | พระนามครองราชย์ | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|
แคมไบซีสที่ 2 | 525–522 ปีก่อนคริสตกาล | เมซูติเร | ทรงรบชนะฟาโรห์พซัมติกที่ 3 ในยุทธการที่เปลูเซียมใน 525 ปีก่อนคริสตกาล | |
บาร์ดิยา/เกามาตา | 522 ปีก่อนคริสตกาล | อาจจะเป็นผู้แอบอ้าง | ||
เปทูบาสติสที่ 3 | 522/521–520 ปีก่อนคริสตกาล | เซเฮรูอิบเร | ทรงก่อกบฏต่อฟาโรห์แห่งราชวงศ์อะคีเมนิด | |
ดาริอุสที่ 1 หลมหาราช | 522–486 ปีก่อนคริสตกาล | เซเตตูเร | ||
พซัมติกที่ 4 | ทศวรรษที่ 480 ก่อนคริสตกาล | ทรงตั้งใจก่อกบฏต่อฟาโรห์แห่งราชวงศ์อะคีเมนิด | ||
เซอร์ซีสที่ 1 มหาราช | 486–465 ปีก่อนคริสตกาล | |||
อาร์ตาบานุส | 465–464 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงลอบสังหารกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 และภายหลังทรงถูกสังหารโดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1 | ||
อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1 | 465–424 ปีก่อนคริสตกาล | |||
เซอร์ซีสที่ 2 | 425–424 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงอ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์ | ||
ซอกเดียนุส | 424–423 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงอ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์ | ||
ดาริอุสที่ 2 | 423–404 ปีก่อนคริสตกาล | ฟาโรห์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ |
เส้นเวลาของราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด
[แก้]ผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด
[แก้]รายนาม | ช่วงเวลาปกครอง | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
อารยันดิส | 525–522 ปีก่อนคริสตกาล;
518–ราว 496 ปีก่อนคริสตกาล |
แคมไบซีสที่ 2, ดาริอุสที่ 1 | ถูกปลดจากตำแหน่งจากการปฏิวัติใน 522 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาได้รับการแต่งตั้งในปี 518 ก่อนคริสตกาล จากนั้นถูกปลดจากตำแหน่งอีกครั้งโดยกษัตริย์ดาริอุสที่ 1 |
เฟเรนดาเตส | ราว 496–ราว 486 ปีก่อนคริสตกาล | ดาริอุสที่ 1 | อาจถูกสังหารระหว่างการก่อจลาจล |
อะเคเมเนส | ราว 486–459 ปีก่อนคริสตกาล | เซอร์ซีสที่ 1, อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1 | ทรงเป็นพระอนุชาของกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1, ภายหลังทรงถูกสังหารโดยกบฎอินารอส |
อาร์ซาเมส | ราว 454–ราว 406 ปีก่อนคริสตกาล | อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1, เซอร์ซีสที่ 2, อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 | เป็นผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ที่ปกครองยาวนานที่สุด |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ O'Brien, Patrick Karl (2002). Atlas of World History (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. pp. 42–43. ISBN 9780195219210.
- ↑ Philip's Atlas of World History. 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-17. สืบค้นเมื่อ 2023-06-02.
- ↑ Davidson, Peter (2018). Atlas of Empires: The World's Great Powers from Ancient Times to Today (ภาษาอังกฤษ). i5 Publishing LLC. ISBN 9781620082881.
- ↑ Barraclough, Geoffrey (1989). The Times Atlas of World History (ภาษาอังกฤษ). Times Books. p. 79. ISBN 0723003041.
- ↑ "a Persian hero slaughtering an Egyptian pharaoh while leading four other Egyptian captives" Hartley, Charles W.; Yazicioğlu, G. Bike; Smith, Adam T. (2012). The Archaeology of Power and Politics in Eurasia: Regimes and Revolutions (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. ix, photograph 4.6. ISBN 9781139789387.
- ↑ "Victor, apparently wearing the tall Persian headdress rather than a crown, leads four bareheaded Egyptian captives by a rope tied to his belt. Victor spears a figure wearing Egyptian type crown." in Root, Margaret Cool (1979). The king and kingship in Achaemenid art: essays on the creation of an iconography of empire (ภาษาอังกฤษ). Diffusion, E.J. Brill. p. 182. ISBN 9789004039025.
- ↑ "Another seal, also from Egypt, shows a Persian king, his left hand grasping an Egyptian with an Egyptian hairdo (pschent), whom he thrusts through with his lance while holding four prisoners with a rope around their necks." Briant, Pierre (2002). From Cyrus to Alexander: A History of the Persian Empire (ภาษาอังกฤษ). Eisenbrauns. p. 215. ISBN 9781575061207.
- ↑ electricpulp.com. "ACHAEMENID SATRAPIES – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-09-30.
- ↑ Smith, Andrew. "Polyaenus: Stratagems - Book 7". www.attalus.org. สืบค้นเมื่อ 2017-02-25.
- ↑ Razmjou, Shahrokh (1954). Ars orientalis; the arts of Islam and the East. Freer Gallery of Art. pp. 81–101.
- ↑ "Museum item, accession number: 36.106.2". www.metmuseum.org. Metropolitan Museum of Art.
- ↑ Giovino, Mariana (2006). "Egyptian Hieroglyphs on Achaemenid Period Cylinder Seals". Iran. Iran, vol. 44. 44: 105–114. doi:10.1080/05786967.2006.11834682. JSTOR 4300705. S2CID 193426061.
- ↑ electricpulp.com. "DARIUS iii. Darius I the Great – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-02-25.
- ↑ Klotz, David (19 September 2015). "UCLA Encyclopedia of Egyptology - Persian Period". UCLA Encyclopedia of Egyptology. สืบค้นเมื่อ 25 February 2017.
- ↑ Thucydides. History of the Peloponnesian War.
- ↑ Photius. "Photius' excerpt of Ctesias' Persica (2)". www.livius.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-02-25.
- ↑ S. Zawadzki, "The Circumstances of Darius II's Accession" in Jaarbericht Ex Oriente Lux 34 (1995-1996) 45-49
- ↑ Colburn, Henry P. (2020). Archaeology of Empire in Achaemenid Egypt. Edinburgh University Press. ISBN 9781474452366. JSTOR 10.3366/j.ctvss3wvv.
- ↑ Colburn, Henry Preater (2014). The Archaeology of Achaemenid Rule in Egypt (วิทยานิพนธ์ PhD). hdl:2027.42/107318.
- ↑ Goodnick Westenholz, Joan (2002). "A Stone Jar with Inscriptions of Darius I in Four Languages" (PDF). ARTA: 2.
- ↑ Qahéri, Sépideh. "Alabastres royaux d'époque achéménide". L’Antiquité à la BnF (ภาษาฝรั่งเศส).