ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เวเนก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เวเนก (หรือ ยูเนก) หรือที่เรียกว่า เวเนก-เนบติ เป็นพระนามครองราชย์ของฟาโรห์ในสมัยราชวงศ์ตอนต้น ซึ่งทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ ถึงแม้ว่าตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์จะชัดเจนแล้วสำหรับนักไอยคุปต์วิทยา แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนที่ว่าฟาโรห์เวเนกทรงปกครองเป็นระยะเวลานานแค่ไหน และยังคลุมเครือว่าทรงเป็นกษัตริย์ฮอรัสที่สามารถระบุตัวตนทางโบราณคดีใดที่สอดคล้องกับพระองค์เลย

รัชสมัย

[แก้]

ไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับรัชสมัยของฟาโรห์เวเนก แต่ปรากฏคำจารึกบนภาชนะที่กล่าวถึงพระนามของพระองค์ที่บอกเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ของพิธี เช่น "การยกเสาของเทพฮอรัส" พิธีการดังกล่าวนี้ได้ถูกกล่าวบ่อยครั้งบนภาชนะจากรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์ ซึ่งทำให้ตำแหน่งตามลำดับเวลาของฟาโรห์เวเนกใกล้เคียงกับของฟาโรห์นิเนทเจอร์มาก

ไม่ทราบช่วงระยะเวลาแห่งการปกครองของพระองค์ แต่ถ้าหากพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์วัดจ์เอนเอสที่ทรงครองราชย์ (ตามที่ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูริน) เป็นระยะเวลา 54 ปี และถ้าหากพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ "ทลาส" ที่กล่าวถึงโดยนักประวัติศาสตร์นามว่า แมนิโธ พระองค์จะทรงปกครองเป็นระยะเวลา 17 ปี แต่นักไอยคุปต์วิทยาสมัยใหม่ก็ยังตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลทั้งสองและประเมินว่าเป็นการตีความที่ผิดหรือเกินจริง หากฟาโรห์เวเนกทรงเป็นผู้ปกครองที่ไม่ได้เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับพระองค์ใดเลยจริงๆ ดังที่ริชาร์ด ไวลล์และปีเตอร์ คาพลอนีได้เชื่อว่า พระองค์อาจจะปกครองเป็นระยะเวลาเวลา 12 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตีความจากศิลาจารึกไคโรขึ้นใหม่

อีกข้อเสนอหนึ่งที่เสนอว่า ราชอาณาจักรอียิปต์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นปึกแผ่นได้ถูกแบ่งออกหลังจากการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์นิเนทเจอร์ออกเป็นสองส่วน ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากการสวรรคตของฟาโรห์เวเนก ฟาโรห์สองพระองค์ที่ทรงปกครองอียิปต์พร้อมกันนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวก็จะสื่อว่าฟาโรห์เวเนกทรงเป็นผู้ปกครองอิสระ สมมติฐานดังกล่าวนี้ขึ้นอยู่กับการค้นพบว่าบันทึกพระนามทั้งของไทนิสและเมมฟิสในช่วงสมัยรามเสสได้กล่าวถึงพระนาม "วัดจ์เอนเอส" และ "เซเนดจ์" ในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากฟาโรห์นิเนทเจอร์ ตัวอย่างเช่น บันทึกพระนามแห่งอไบดอสได้กล่าวถึงฟาโรห์เพียงหกพระองค์ในช่วงราชวงศ์ที่สอง ในขณะที่บันทึกพระนามอื่นๆ ทั้งหมดได้บันทึกพระนามของฟาโรห์จำนวนถึงเก้าพระนาม ดังนั้น ฟาโรห์เวเนก อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายที่ปกครองอียิปต์ทั้งหมดก่อนที่พระราชบัลลังงก์จะถูกแบ่งออก (และอำนาจควบคุมอียิปต์) ให้กับฟาโรห์พระองค์อื่น แต่ยังไม่แน่ชัดว่าฟาโรห์พระองค์อื่นนั้นคือฟาโรห์พระองค์ใด[2][3][4][5][6][7] ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์เซเนดจ์ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีความไม่แน่นอนในช่วงเวลาที่คลุมเครือของราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. see: P. Lacau, J.P. Lauer: La Pyramide a Degeres IV. Inscriptions Gravees sur les Vases. Cairo 1959; obj.104
  2. Iorwerth Eiddon Stephen Edwards: The Cambridge ancient history, Vol. 1, Pt. 2: Early history of the Middle East, 3rd reprint. Cambridge University Press, Cambridge 2006, ISBN 978-0-521-07791-0, p. 31.
  3. Peter Kaplony: Steingefäße der Frühzeit und des Alten Reiches. In: Zeitschrift für ägyptische Sprache und Altertumskund, Volumes 133-135. Akademie-Verlag, Berlin 1981, ISSN 0044-216X.
  4. Aidan Dodson: The Mysterious Second Dynasty. In: Kemet, volume 7, chapter 2 (1996), page 19-31
  5. Werner Kaiser: Zur Nennung von Sened und Peribsen in Saqqara B3. In: Göttinger Miszellen - Beiträge zur ägyptologischen Diskussion. No. 122. Ägyptologisches Seminar der Universität Göttingen, Göttingen 1991, ISSN 0344-385X, page 22–23.
  6. Barbara Bell: Oldest Records of the Nile Floods. In: Geographical Journal, volume 136, 1970, page 569–573.
  7. Hans Goedike in: Journal of Egypt Archaeology. volume 42, 1998, page 50.