ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์
(อียิปต์แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด)
มณฑลของจักรวรรดิอะคีเมนิด
343 ปีก่อนคริสตกาล – 332 ปีก่อนคริสตกาล
Flag of อียิปต์แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด (มณฑลอียิปต์ที่ 2/มณฑลที่ 6)

ส่วนด้านตะวันตกของจักรวรรดิอะคีเมนิด และดินแดนอียิปต์[1][2][3][4]
การปกครอง
ฟาโรห์ 
• 343–338 ปีก่อนคริสตกาล
ฮาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 (พระองค์แรก)
• 336–332 ปีก่อนคริสตกาล
ดาริอุสที่ 3 (พระองค์สุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์สมัยอะคีเมนิด
• การพิชิตของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3
343 ปีก่อนคริสตกาล
• การพิชิตของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช
332 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์
จักรวรรดิมาซิโดเนีย
ราชอาณาจักรทอเลมี

ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์ หรือที่เรียกว่า มณฑลอียิปต์ที่ 2 เป็นราชวงศ์ของจักรวรรดิเปอร์เซียแห่งราชวงศ์อะคีเมนิด ระหว่าง 343 ถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล สถาปนาขึ้นโดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย หลังจากการพิชิตอียิปต์และขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ในเวลาต่อมา และราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดสิ้นสุดลงเมื่อกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชทรงพิชิตอียิปต์

ช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์เป็นครั้งที่สองที่ผู้ปกครองชาวเปอร์เซียปกครองอียิปต์ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า "มณฑลอียิปต์ที่ 2" ก่อนการสถาปนาราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด อียิปต์มีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ได้รับเอกราช โดยราชวงศ์ของฟาโรห์ชาวพื้นเมืองจำนวน 3 ราชวงศ์ผลัดเข้ามาปกครอง (ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด, ยี่สิบเก้า และสามสิบ) ช่วงที่ชาวเปอร์เซียเข้ามาปกครองก่อนหน้านี้เรียกว่า "มณฑลอียิปต์ที่ 1" หรือราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 525–404 ปีก่อนคริสตกาล)

ประวัติราชวงศ์[แก้]

การดำเนินการทางทหารมายังอียิปต์ครั้งแรก[แก้]

ในราว 351 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงได้เริ่มดำเนินการทหารเพื่อตีอียิปต์คืนกลับมา หลังจากการก่อจลาจลในรัชสมัยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ ในเวลาเดียวกัน การก่อจลาจลได้ปะทุขึ้นในเอเชียไมเนอร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธีบส์ ซึ่งจะกลายเหตุการณ์รุนแรง[5] กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงเคลื่อนทัพไปยังอียิปต์โดยระดมกองทัพจำนวนมหาศาลและไปรบกับฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 หลังจากนั้นหนึ่งปีแห่งการต่อสู้กับฟาโรห์แห่งอียิปต์ พระองค์ทรงพ่ายแพ้ให้กับฟาโรห์เนคทาเนโบด้วยการสนับสนุนของทหารรับจ้างที่นำโดยนายพลชาวกรีกดิโอฟานตุสและลามิอุส[6] กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงถูกบังคับให้ล่าถอยและเลื่อนแผนการพิชิตอียิปต์คืนออกไป

การดำเนินการทางทหารมายังอียิปต์ครั้งที่สอง[แก้]

กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 ในฐานะฟาโรห์จากเหรียญกษาปณ์ซิลีเซีย[7]
ตราประทับทรงกระบอกสเวนิโกรอดสกีเป็นภาพกษัตริย์เปอร์เซียแทงหอกใส่ฟาโรห์อียิปต์ ขณะที่จับเชลยสี่คนด้วยเชือก[8][9][10]

ใน 343 ปีก่อนคริสตกาล กองทัพของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสนอกเหนือจากชาวเปอร์เซีย 330,000 คนของพระองค์แล้ว ตอนนี้มีกองกำลังชาวกรีก 14,000 คนโดยเมืองกรีกในเอเชียไมเนอร์: 4,000 คนในการควบคุมของเมนทอร์แห่งรอดส์ ซึ่งประกอบด้วยกองทหารที่นำมาช่วยเหลือของเทนเนสจากอียิปต์ ประกอบด้วย 3,000 คนส่งโดยอาร์กอส และอีก 1,000 คนจากธีบส์ โดยแบ่งกองทหารเหล่านี้ออกเป็นสามกอง และวางไว้แม่ทัพแต่ละฝ่ายเป็นชาวเปอร์เซียและชาวกรีก ผู้บัญชาการชาวกรีกคือ ลาคราเตสแห่งธีบส์, เมนทอร์แห่งรอดส์ และนิคอสตราตุสแห่งอาร์กอส ในขณะที่ชาวเปอร์เซียนำโดย รอสซาเซส, อริสตาซาเนส และบาโกอัส หัวหน้าขันทีของฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ได้ต่อต้านด้วยกองทัพ 100,000 คนโดย 20,000 คนเป็นทหารรับจ้างชาวกรีก ฟาโรห์เนคทาเนโบทรงยึดครองแม่น้ำไนล์และสาขาต่าง ๆ ด้วยกองทัพเรือขนาดใหญ่ของพระองค์ ลักษณะของภูมิประเทศที่ตัดผ่านด้วยลำคลองมากมายและเต็มไปด้วยเมืองที่มีป้อมปราการแน่นหนาเป็นประโยชน์ของพระองค์ และฟาโรห์เนคทาเนโบอาจจะทรงได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อหากไม่ประสบความสำเร็จ แต่พระองค์ขาดนายพลที่ดีและมั่นใจในอำนาจการบังคับบัญชาของพระองค์เองมากเกินไป พระองค์พบว่าพระองค์เองทรงถูกขับไล่โดยนายพลทหารรับจ้างชาวกรีก กองกำลังของพระองค์ได้พ่ายแพ้โดยกองทัพเปอร์เซียที่รวมกันใกล้กับเปลูเซียม[11]

อาจจะเป็นภาพของยุวกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 4 ทรงสวมมงกุฎฟาโรห์[12]

หลังจากพ่ายแพ้ ฟาโรห์เนคทาเนโบทรงรีบหนีไปยังเมืองเมมฟิสโดยทิ้งเมืองที่มีป้อมปราการให้กองทหารรักษาการณ์ปกป้อง กองทหารรักษาการณ์เหล่านี้ประกอบด้วยกองกำลังกรีกบางส่วนและกองทัพอียิปต์บางส่วน ชาวเปอร์เซียสามารถเอาชนะเมืองต่างๆ ทั่วอียิปต์ตอนล่างได้อย่างรวดเร็ว และกำลังบุกโจมตีเมืองเมมฟิส เมื่อฟาโรห์เนคทาเนโบทรงตัดสินพระทัยหนีออกจากอียิปต์และหนีลงใต้ไปยังเอธิโอเปีย[11] จากนั้นกองทัพเปอร์เซียก็ไล่ต้อนชาวอียิปต์จนหมดสิ้นและยึดครองสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ตอนล่าง หลังจากที่ฟาโรห์เนคทาเนโบทรงหนีไปยังเอธิโอเปีย อียิปต์ทั้งหมดก็ยอมจำนนต่อกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีส ชาวยิวในอียิปต์ถูกส่งไปยังบาบิโลนหรือชายฝั่งทางใต้ของทะเลแคสเปียน ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่ชาวยิวในฟีนิเซียเคยถูกส่งไปก่อนหน้านี้

หลังจากชัยชนะเหนือชาวอียิปต์ กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงได้ทำลายกำแพงเมือง ทรงเริ่มการปกครองด้วยความหวาดกลัว และเริ่มปล้นวิหารทั้งหมด เปอร์เซียได้รับความมั่งคั่งจำนวนมากจากการปล้นครั้งนี้ พระองค์ยังทรงเก็บภาษีสูงและพยายามทำให้อียิปต์อ่อนแอลงมากพอที่จะไม่ก่อกบฏต่อเปอร์เซียอีก ในช่วง 10 ปีที่เปอร์เซียควบคุมอียิปต์ ผู้เชื่อในศาสนาพื้นเมืองถูกข่มเหงและหนังสือศักดิ์สิทธิ์ถูกขโมย[13] ก่อนที่พระองค์จะกลับไปเปอร์เซีย พระองค์ทรงแต่งตั้งให้ฟีเรนดาเรสเป็นผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ ด้วยความมั่งคั่งที่ได้รับจากการพิชิตอียิปต์ กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสทรงสามารถให้รางวัลแก่ทหารรับจ้างของพระองค์ได้อย่างเพียงพอ จากนั้นพระองค์ก็เสด็จกลับเมืองหลวง หลังจากสำเร็จการรุกรานและยึดครองอียิปต์แล้ว

การปกครองของผู้ว่าการมณฑลอียิปต์[แก้]

ภาพของซาบาเคส ผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลอียิปต์แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ประมาณ 340-333 ปีก่อนคริสตกาล

ไม่ทราบว่าใครเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลหลังจากรัชสมัยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 แต่เฟเรนดาเตสที่ 2 ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการมณฑลในช่วงแรกๆ ของอียิปต์ ในรัชสมัยกษัตริย์ดาริอุสที่ 3 (ระหว่าง 336–330 ปีก่อนคริสตกาล) มีผู้ว่าการฯ นามว่า ซาบาเคส ซึ่งต่อสู้และเสียชีวิตที่อิสซูส และมาซาเคส ซึ่งเข้ามารั้งตำแหน่งต่อ ชาวอียิปต์ยังต่อสู้ที่อิสซูส เช่น ขุนนางซอมทูเทฟเนเคตแห่งเฮราคลีโอโพลิส ผู้เขียน "จารึกเนเปิลส์" ว่าเขาหลบหนีอย่างไรในระหว่างการต่อสู้กับชาวกรีกและ อาร์ซาเฟส เทพเจ้าประจำเมืองของเขา ปกป้องเขาและให้เขากลับบ้านได้อย่างไร

ใน 332 ปีก่อนคริสตกาล มาซาเซสได้ให้อียิปต์ให้กับกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชโดยไม่มีการต่อสู้ ซึ่งจักรวรรดิอะคีเมนิดได้ล่มสลายไปแล้วนั้น ในขณะที่อียิปต์ได้กลายมาเป็นมณฑลหนึ่งในอาณาจักรของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ต่อมาทอเลมีและโรมันได้ปกครองลุ่มแม่น้ำไนล์อย่างต่อจากนั้น

วัฒนธรรม[แก้]

บุรุษชาวอียิปต์ในชุดเปอร์เซีย ราว 343–332 ปีก่อนคริสตกาล เลขทะเบียน 71.139 พิพิธภัณฑ์บรูคลิน[14]

บางครั้งชาวอียิปต์สวมเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับจากต่างประเทศ รสนิยมของแฟชั่นที่ไม่ใช่ของอียิปต์เกิดขึ้นในช่วงที่มีการค้ากว้างขวางหรือมีการติดต่อทางการทูตกับราชสำนักที่อยู่ห่างไกล หรือเมื่ออียิปต์ถูกควบคุมโดยอำนาจต่างชาติ ชาวเปอร์เซียซึ่งรุกรานลุ่มแม่น้ำไนล์สองครั้งจากถิ่นฐานในเอเชียตะวันตก เข้ามาปกครองอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 525–404 ปีก่อนคริสตกาล) และราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 342–332 ปีก่อนคริสตกาล) รูปสลักนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยหลังการปกครองของเปอร์เซียในอียิปต์[14]

จากการอ้างอิงจากพิพิธภัณฑ์บรูคลิน "กระโปรงยาวที่แสดงรอบร่างของรูปสลักนี้และซ่อนไว้ที่ขอบด้านบนของเสื้อผ้าโดยทั่วไปแล้วเป็นแบบเปอร์เซีย สร้อยคอที่เรียกว่า ทอร์ก ซึ่งประดับด้วยรูปตัวไอเบ็กซ์ สัญลักษณ์แห่งความว่องไวในเปอร์เซียโบราณ และความกล้าหาญทางเพศ ซึ่งรูปสลักนี้แสดงให้เห็นถึงขุนนางผู้นี้ในชุดเปอร์เซียอาจจะเป็นการแสดงถึงความจงรักภักดีต่อผู้ปกครองพระองค์ใหม่”[14]

เหรียญกษาปณ์[แก้]

เหรียญกษาปณ์อียิปต์แห่งราชวงศ์อะคีเมนิด[แก้]

เหรียญกษาปณ์ซิลีเซียกับผู้ปกครองราชวงศ์อะคีเมนิดในฐานะฟาโรห์[แก้]

รายพระนามฟาโรห์[แก้]

พระนาม รูปภาพ รัชสมัย พระนามครองราชย์ คำอธิบาย
อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 343–338 ปีก่อนคริสตกาล ทรงผนวกอียิปต์ให้อยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซียเป็นครั้งที่สอง
อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 4 338–336 ปีก่อนคริสตกาล ทรงปกครองเฉพาะในอียิปต์ล่าง
คาบาคาช 338–335 ปีก่อนคริสตกาล เซเนน-เซเตปุ-นิ-พทาห์ ทรงนำการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของเปอร์เซียในอียิปต์บนประกาศ และทรงตั้งตนเป็นฟาโรห์
ดาริอุสที่ 3 336–332 ปีก่อนคริสตกาล ทรงทำให้อียิปต์บนกลับสู่การควบคุมของเปอร์เซียอีกครั้งเมื่อ 335 ปีก่อนคริสตกาล

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด[แก้]

Darius IIIArtaxerxes IVArtaxerxes III

ผู้ว่าการมณฑลของราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด[แก้]

รายนาม ช่วงเวลาปกครอง รัชสมัย คำอธิบาย
เฟเรนดาเตสที่ 2 343–335 ปีก่อนคริสตกาล[16] อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3
ซาบาเคส 335-333 ปีก่อนคริสตกาล[16] ดาริอุสที่ 3 ถูกสังหารในยุทธการที่อิสซูส
มาซาเคส 333–332 ปีก่อนคริสตกาล[16] ดาริอุสที่ 3

อ้างอิง[แก้]

  1. O'Brien, Patrick Karl (2002). Atlas of World History (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. pp. 42–43. ISBN 9780195219210.
  2. Philip's Atlas of World History. 1999.
  3. Davidson, Peter (2018). Atlas of Empires: The World's Great Powers from Ancient Times to Today (ภาษาอังกฤษ). i5 Publishing LLC. ISBN 9781620082881.
  4. Barraclough, Geoffrey (1989). The Times Atlas of World History (ภาษาอังกฤษ). Times Books. p. 79. ISBN 0723003041.
  5. Artaxerxes III PersianEmpire.info History of the Persian Empire
  6. Miller, James M. (1986). A History of Ancient Israel and Judah. John Haralson Hayes (photographer). Westminster John Knox Press. pp. 465. ISBN 0-664-21262-X.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Kovacs, Frank L. (2002). "Two Persian Pharaonic Portraits". Jahrbuch für Numismatik und Geldgeschichte (ภาษาอังกฤษ). R. Pflaum. pp. 55–60.
  8. "a Persian hero slaughtering an Egyptian pharaoh while leading four other Egyptian captives" Hartley, Charles W.; Yazicioğlu, G. Bike; Smith, Adam T. (2012). The Archaeology of Power and Politics in Eurasia: Regimes and Revolutions (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. ix, photograph 4.6. ISBN 9781139789387.
  9. "Victor, apparently wearing the tall Persian headdress rather than a crown, leads four bareheaded Egyptian captives by a rope tied to his belt. Victor spears a figure wearing Egyptian type crown." in Root, Margaret Cool (1979). The king and kingship in Achaemenid art: essays on the creation of an iconography of empire (ภาษาอังกฤษ). Diffusion, E.J. Brill. p. 182. ISBN 9789004039025.
  10. "Another seal, also from Egypt, shows a Persian king, his left hand grasping an Egyptian with an Egyptian hairdo (pschent), whom he thrusts through with his lance while holding four prisoners with a rope around their necks." Briant, Pierre (2002). From Cyrus to Alexander: A History of the Persian Empire (ภาษาอังกฤษ). Eisenbrauns. p. 215. ISBN 9781575061207.
  11. 11.0 11.1 "Artaxerxes III Ochus ( 358 BC to 338 BC )". สืบค้นเมื่อ March 2, 2008.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FK3
  13. "Persian Period II". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2008. สืบค้นเมื่อ March 6, 2008.
  14. 14.0 14.1 14.2 "The long skirt shown wrapped around this statue’s body and tucked in at the upper edge of the garment is typically Persian. The necklace, called a torque, is decorated with images of ibexes, symbols in ancient Persia of agility and sexual prowess. The depiction of this official in Persian dress may have been a demonstration of loyalty to the new rulers." "Egyptian Man in a Persian Costume". www.brooklynmuseum.org. Brooklyn Museum.
  15. CNG: CILICIA, Myriandros. Mazaios. Satrap of Cilicia, 361/0-334 BC. AR Obol (10mm, 0.64 g).
  16. 16.0 16.1 16.2 Stewart, John (2006). African States and Rulers (Third ed.). London: McFarland. p. 83. ISBN 0-7864-2562-8.