อไบดอส

พิกัด: 26°11′06″N 31°55′08″E / 26.18500°N 31.91889°E / 26.18500; 31.91889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อไบดอส
أبيدو
ส่วนหน้าของวิหารแห่งเซติในเมืองอไบดอส สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 1300 ปีก่อนคริสตกาล
อไบดอสตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
อไบดอส
อไบดอส
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอียิปต์
ชื่ออื่นⲈⲃⲱⲧ; อับดจู
ที่ตั้งอัลบัลยานา, เขตผู้ว่าการซูฮาจญ์, อียิปต์
ภูมิภาคอียิปต์บน
พิกัด26°11′06″N 31°55′08″E / 26.18500°N 31.91889°E / 26.18500; 31.91889
ประเภทที่อยู่อาศัย
ความเป็นมา
สมัยราชวงศ์ที่หนึ่งจนถึงราชวงศ์ที่สามสิบ

อไบดอส /əˈbdɒs/ (อาหรับ: أبيدوس, อักษรโรมัน: Abīdūs or อาหรับ: افود, อักษรโรมัน: Afūd;[1] Sahidic คอปติก: Ⲉⲃⲱⲧ Ebōt) เป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของอียิปต์โบราณ และยังเป็นเขตปกครองท้องถิ่นลำดับที่แปดในอียิปต์บน ตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำไนล์ไปทางตะวันตกประมาณ 11 กิโลเมตร (6.8 ไมล์) ที่ละติจูด 26° 10' N ใกล้กับเมืองอัลอาราบาอัลมัดฟูนา และเมืองอัลบัลยานาของประเทศอียิปต์ ในภาษาอียิปต์โบราณ เมืองนี้ถูกเรียกว่า อับดจู (ꜣbḏw หรือ AbDw) ส่วนในภาษาอังกฤษเรียกว่า Abydos ซึ่งมาจากภาษากรีก Ἄβυδος โดยเป็นชื่อที่นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกยืมมาจากเมืองอไบดอสบนบริเวณช่องแคบดาร์ดะเนลส์

ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญที่สุดในอียิปต์ โดยเฉพาะนครศักดิ์สิทธิ์แห่งอไบดอส ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนวิหารโบราณหลายแห่ง รวมถึงอุมม์ อัล-กา'อับ ซึ่งเป็นสุสานหลวงที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์หลายพระองค์ในยุคแรกๆ[2] สุสานหลวงดังกล่าวได้เริ่มถูกมองว่าเป็นที่ฝังศพที่สำคัญอย่างยิ่ง และในเวลาต่อมามันก็กลายเป็นที่ผู้ใดก็พึงปรารถนาที่จะถูกฝังไว้ในพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่การเจริญเติบโตของความสำคัญของเมืองในฐานะสถานที่ทางศาสนา

ปัจจุบัน อไบดอสมีชื่อเสียงมาจากอนุสรณ์วิหารของฟาโรห์เซติที่ 1 โดยปรากฏคำจารึกจากช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อของ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส บันทึกพระนามดังกล่าวเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ตามลำดับเวลาพร้อมด้วยสลักคาร์ทูชของฟาโรห์ส่วนใหญ่ของอียิปต์โบราณตั้งแต่ฟาโรห์เมเนสจนถึงฟาโรห์แรเมซีสที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์[3] นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักเกี่ยงข้องกับภาพสลักแห่งอไบดอส ซึ่งปรากฏตัวอักษรฟินิเชียนโบราณ และอราเมอิก โดยพบบนผนังของวิหารแห่งเซติ

วิหารขนาดใหญ่และเมืองโบราณส่วนใหญ่ถูกฝังอยู่ใต้อาคารสมัยใหม่ทางทิศเหนือของวิหารแห่งเซติ[4] โครงสร้างดั้งเดิมและวัตถุโบราณภายในจำนวนมากถือว่าไม่สามารถกู้คืนได้และสูญหาย ซึ่งอาจจะถูกทำลายโดยการก่อสร้างในสมัยใหม่

อ้างอิง[แก้]

  1. Peust, Carsten. "Die Toponyme vorarabischen Ursprungs im modernen Ägypten" (PDF). p. 11. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09.
  2. "Tombs of kings of the First and Second Dynasty". Digital Egypt. UCL. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  3. Misty Cryer (2006). "Travellers in Egypt – William John Bankes". TravellersinEgypt.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-14.
  4. "Abydos town". Digital Egypt. UCL. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.