ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์วาช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพของฟาโรห์นาร์เมอร์ทรงเอาชนะฟาโรห์วาช จากแผ่นศิลาแห่งนา์เมอร์[1]
T21
N37
wˁš
ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์

วาช อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากสมัยยุคก่อนราชวงศ์ แต่การมีตัวตนอยู่ของพระองค์กลับเป็นที่ถกเถียงกัน หากถ้าพระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่จริง พระองค์จะได้รับการยืนยันโดยการที่พระองค์ได้ปรากฏอยู่แผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์ ซึ่งในแผ่นศิลาดังกล่าวได้ปรากฏเป็นภาพความพ่ายแพ้ของพระองค์

ตำแหน่งผู้ปกครอง

[แก้]

ฟาโรห์วาชทรงมีอยู่จริงหรือไม่นั้นยังไม่คลุมเครืออยู่ แต่สิ่งเดียวที่เป็นไปได้ในการยืนยันการมีอยู่ของพระองค์ คือ แผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์ ซึ่งพบในเมืองเฮียราคอนโพลิส ทางด้านขวาของแผ่นศิลาดังกล่าวได้ปรากฏภาพเชลยที่คุกเข่า ซึ่งมีลักษณะ "ไม่เหมือนชาวอียิปต์"[2] ที่กำลังจะถูกฟาโรห์นาร์เมอร์ทรงฟาดคทา[3] อักษรอียิปต์โบราณที่แกะสลักใกล้กับรูปเชลยศึก คือ สัญลักษณ์รูปฉมวกและทะเลสาบ ซึ่งได้รับการพิจารณาโดยนักวิชาการว่าเป็นชื่อของสถานที่ของเชตปกครองท้องถิ่นแห่งฉมวก (ตั้งอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับชายแดนลิเบีย) หรือชื่อส่วนตัวของเชลยศึกนั้น ซึ่งออกเสียงว่า วาชอิ หรือ วาช[3][4]

สันนิษฐานว่า การระบุตัวตนแบบอย่างหลังนั้นถูกต้อง และฟาโรห์วาชทรงเป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะทรงเป็นผู้ปกครองคนสุดท้ายของราชวงศ์อียิปต์ล่างที่บูโต ซึ่งท้ายที่สุดก็ทรงพ่ายแพ้ต่อผู้นำแห่งอียิปต์บนพระนามว่า นาร์เมอร์ อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าแผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์จะแสดงให้เห็นภาพเปรียบเทียบมากกว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยวาชอาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผ่นศิลานี้เท่านั้น[5]

นักโบราณคดีอย่าง เอ็ดวิน ฟาน เด็น บริงค์ ได้โต้แย้งว่า ฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ ซึ่งทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ล่างในสมัยก่อนยุคราชวงศ์อีกพระองค์หนึ่ง ก็สามารถระบุได้ว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์วาช ซึ่งอิงจากความคล้ายคลึงกันระหว่างพระนามเซเรคของฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ กับการแกะสลักพระนามของฟาโรห์วาชบนแผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Egypt,” Encyclopædia Britannica (11th ed.), v. 9, 1911, plate II (between pp. 64 and 65),#23.
  2. O'Connor, David (2011). "The Narmer Palette: A New Interpretation". ใน Teeter, Emily (บ.ก.). Before the Pyramids: The Origins of Egyptian Civilization. The Oriental Institute of the University of Chicago. ISBN 978-1885923-82-0., p.148
  3. 3.0 3.1 Heagy, Thomas C. (2014). "Who was Menes?". Archeo-Nil. 24: 59–92. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-01. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09., p.66
  4. Helck, Wolfgang (1987). Untersuchungen zur Thinitenzeit. Ägyptologische Abhandlungen 45. Wiesbaden., p.98
  5. Wilkinson, Toby (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. ISBN 0-203-20421-2., pp.40–41
  6. van den Brink, Edwin (1996). "The Incised Serekh-signs of Dynasties 0–1, Part I: Complete Vessels". ใน Spencer, Alan J. (บ.ก.). Aspects of Early Egypt. London: British Museum Press. pp. 140–158. ISBN 0714109991., p.147