ทันต์อมานิ
ทันต์อมานิ | |||||
---|---|---|---|---|---|
กษัตริย์คูชแห่งนาปาตา | |||||
รูปสลักผู้ปกครองแห่งคูชและฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าพระนามว่า มันต์อมานิ (จากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์) | |||||
ก่อนหน้า | ทาฮาร์กา | ||||
ถัดไป | อัตลาเนอร์ซา | ||||
ฝังพระศพ | อัล-คุรรุ (สุสานหมายเลข 16) | ||||
คู่อภิเษก | พิอังค์อาร์ติ, [..]ซัลคา, อาจจะเป็นมาลากาเย, | ||||
พระราชบุตร | อาจจะเป็นอัตลาเนอร์ซา, สมเด็จพระราชินีเยทูโร, สมเด็จพระราชินีคาลิเซต | ||||
| |||||
พระราชบิดา | ชาบากา (หรือ เชบิตคู?) | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระราชินีกัลฮาตา |
ทันต์อมานิ (อียิปต์โบราณ: tnwt-jmn, อัสซีเรียใหม่: tanṭammanē, กรีกโบราณ: Τεμένθης Teménthēs)[1] หรือที่รู้จักกันในพระนาม ทานุตอมานิ หรือ ทันเวตอมานิ (สวรรคตเมื่อ 653 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นผู้ปกครองแห่งราชอาณาจักรคุช ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณซูดานเหนือ และเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ พระนามครองราชย์ของพระองค์ คือ บาคาเร ซึ่งแปลว่า "ความรุ่งโรจน์คือวิญญาณแห่งเทพรา"[2]
พระราชโอรสแห่งกษัตริย์
[แก้]พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ชาบาคา และเป็นพระราชนัดดาของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์นามว่า ทาฮาร์กา[3] ในบางแหล่งข้อมูลกล่าวว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เชบิตคู[4] บันทึกของชาวอัสซีเรียได้บันทึกว่าเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ชาบาคา และกล่าวถึงพระนางกัลฮาตา ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระองค์ว่าเป็นพระขนิษฐาของฟาโรห์ทาฮาร์กา นักไอยคุปต์วิทยาบางคนตีความข้อมูลจากอัสซีเรียว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เชบิตคู แต่ปัจจุบันถือว่าฟาโรห์ทันต์อมานิน่าจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ชาบากามากกว่า[5]
การปกครองในหลัง
[แก้]การพิชิตของอัสซีเรียได้ยุติการควบคุมของนิวเบียเหนือดินแดนอียิปต์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของฟาโณห์ทันต์อมานิยังคงได้รับการยอมรับในอียิปต์บนจนถึงปีที่ 8 แห่งการครองราชย์ ในช่วง 656 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อกองทัพเรือของฟาโรห์พซัมติกที่ 1 ได้เข้าควบคุมเมืองธีบส์อย่างสันติและรวมอียิปต์ทั้งหมดเป็นปึกแผ่น เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์
หลังจากนั้น ฟาโรห์ทันต์อมานิทรงปกครองเพียงเฉพาะบริเวณนิวเบีย (ราชอาณาจักรคุช) พระองค์เสด็จสวรรคตในช่วง 653 ปีก่อนคริสตกาล และพระราชบัลลังก์ได้ถูกสืบทอดต่อโดยกษัตริย์อัตลาเนอร์ซา ซึ่งเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทาฮาร์กา พระองค์ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในสุสานหลวงที่อัล-คุรรุ ชาร์ลส์ บอนเน็ต นักโบราณคดีได้ค้นพบรูปสลักของฟาโรห์ทันต์อมานิที่เคอร์มา (ปัจจุบันเรียกว่า ดูกกิ เกล) ในปี ค.ศ. 2003[6]
หลุมฝังพระบรมศพ
[แก้]หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ทันต์อมานิตั้งอยู่ใต้พีระมิด ซึ่งปัจจุบันได้หายไปแล้ว ณ ที่ตั้งในสุสานหลวงที่อัล-คุรรุ ปัจจุบันเหลือแค่ประตูทางเข้าและห้องหับ ซึ่งประดับด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังอย่างสวยงาม
-
ด้านนอกของสุสานนิวเบียแห่งทันต์อมานิ[7]
-
ภาพฟาโรห์ทันต์อมานิในหลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ในอัล-คุรรุ
-
หลุมฝังพระบรมศพของพีระมิดแห่งทันต์อมานิที่บริเวณอัล-คุรรุ
-
ห้องฝังพระบรมศพของฟาโรห์ทันต์อมานิ
-
หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ทันต์อมานิ
-
ห้องฝังพระบรมศพของฟาโรห์ทันต์อมานิ
-
หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ทันต์อมานิ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "URdammaniʾ [TANUTAMON, PHARAOH OF EGYPT] (RN)". Oracc: The Open Richly Annotated Cuneiform Corpus.
- ↑ Clayton, Peter A. (1994). Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. London: Thames and Hudson. p. 190. ISBN 0-500-05074-0.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3.
- ↑ Dunham, Dows; Macadam, M. F. Laming (1949). "Names and Relationships of the Royal Family of Napata". Journal of Egyptian Archaeology. 35: 139–149. doi:10.1177/030751334903500124. S2CID 192423817.
- ↑ Morkot, R. G. (2000). The Black Pharaohs: Egypt's Nubian Rulers. The Rubicon Press. ISBN 0-948695-23-4.
- ↑ "Digging into Africa's past". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2007.
- ↑ "Sudan National Museum". sudannationalmuseum.com.