ฟาโรห์ปาดิบาสเตตที่ 3
เซเฮอร์อูอิบเร ปาดิบาสเทต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เปดูบาสต์ที่ 3, เปดูบาสทิสที่ 3, เปทูบาสทิสที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() วงกบประตูไม้แต่เดิมปิดด้วยทองคำเปลวและกระจกฝัง เป็นภาพของฟาโรห์เซเฮอร์อูอิบเร เปทูบาสทิสที่ 3 ที่กำลังทรงทำการบูชา[1] จากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์แห่งอียิปต์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 522 ปีก่อนคริสตกาล - 520 ปีก่อนคริสตกาล, ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด[2] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | แคมไบซีสที่ 2[3] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ดาริอุสที่ 1[3] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
เซเฮอร์อูอิบเร ปาดิบาสเทต (อียิปต์โบราณ: shrw-jb-rꜥ pꜣ-dj-bꜣstt) เป็นที่รู้จักกันดีในพระนามภาษากรีกโบราณว่า เปทูบาสทิสที่ 3 (หรือ ที่ 4 โดยขึ้นอยู่กับนักวิชาการ) เป็นผู้ปกครองชาวพื้นเมืองแห่งอียิปต์โบราณ (ทรงปกครองระหว่างประมาณ 522 - 520 ปีก่อนคริสตกาล) ที่ทรงต่อต้านการปกครองของเปอร์เซีย[6]
พระราชประวัติ[แก้]
ฟาโรห์เปทูบาสทิสทรงเป็นผู้ปกครองท้องถิ่น เจ้านาย และอาจจะทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์แห่งซาอิสสายเก่าที่พยายามจะควบคุมอียิปต์และยึดอำนาจ[7] แม้ว่าพระองค์จะปรากฏเป็นพระราชอิสริยยศและตำแหน่งฟาโรห์ แต่พระองค์ก็ทรงเป็นบุคลที่ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวข้องมากนักและทรงเป็นบุคคลที่คลุมเครือในประวัติศาสตร์อียิปต์[7]
การขุดค้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่อาไมดาในโอเอซิสดัคลาได้ปรากฏหลักฐานที่ว่า ฟาโรห์เปทูบาสทิสอาจจะทรงมีที่ประทับของราชวงศ์ที่นั่น ซึ่งอยู่ห่างจากที่ลุ่มแม่น้ำไนล์พอสมควร ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของเปอร์เซีย ก้อนบล็อกจากวิหารแห่งเทพธอธที่ถูกทำลายที่อาไมดาได้ปรากฏคำจารึกที่เกี่ยวข้องของพระองค์ พร้อมพระนามที่เกือบสมบูรณ์ของพระองค์[5] จากที่อาไมดา ฟาโรห์เปทูบาสทิสอาจจะทรงซุ่มโจมตีและทรงเอาชนะสิ่งที่เรียกว่า "กองทัพที่สาบสูญของแคมไบซีส" ซึ่งเฮโรโดตัสอธิบายในหลายทศวรรษต่อมาว่าเป็นคณะเดินทางทางทหารที่กษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ส่งไปยังสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซอุส-อัมมอนในโอเอซิสซีวา ซึ่งถูกพายุทรายพัดกลบไปแล้วนั้น
หลังจากนั้นไม่นาน ฟาโรห์เปทูบาสทิสก็ทรงเดินทางจะไปถึงเมืองเมมฟิสเพื่อทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการในฐานะฟาโรห์ และรับพระนามอิสริยยศที่คล้ายกับราชวงศ์แห่งซาอิสก่อนหน้านี้[5]
ฟาโรห์เปทูบาสทิสอาจจะทรงใช้โอกาสจากการหยุดชะงักที่เกิดจากการแย่งชิงพระราชบัลลังก์เปอร์เซียโดยกษัตริย์บาร์ดิยา หลังจากการสวรรคตของกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 เพื่อก่อการกบฏ[8] ตามคำกล่าวของนายพลชาวกรีกพอลิเอนุสในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ผู้ซึ่งเขียนเกี่ยวกับการก่อกบฏดังกล่าวที่ว่าการเก็บภาษีอย่างกดขี่โดยอารยันดิส ซึ่งเป็นผู้ว่าการมณฑลของเปอร์เซียในขณะนั้น ซึ่งนำไปสู่การก่อกบฏ
จารึกแห่งเบฮิสตูน ซึ่งได้บันทึกข้อมูลเชิงลึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้กล่าวถึงการก่อกบฏในอียิปต์ ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับการก่อกบฏอื่น ๆ ในภาคตะวันออกของจักรวรรดิเปอร์เซีย กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 ผู้ซึ่งโปรดให้บันทึกจารึกแห่งเบฮิสตูนขึ้น ซึ่งไม่ได้ลงรายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับวิธีการที่พระองค์ทรงจัดการกับการก่อกบฏในอียิปต์ ส่วนพอลิเอนุสได้บันทึกไว้ว่า กษัตริย์ดาริอุสทรงเดินทางไปยังอียิปต์ เพื่อปราบปรามการก่อกบฏ และเดินทางเข้าสู่เมืองเมมฟิสในช่วงไว้ทุกข์การสิ้นพระชนม์ของพระโคอาพิส โดยที่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ได้ทรงสัญญาเล่ห์เหลี่ยมด้วยทองคำหนึ่งร้อยตะลันต์สำหรับผู้ที่สรรหาพระโคอาพิสพระองค์ใหม่ ซึ่งได้สร้างความประทับใจให้กับชาวพื้นเมืองจนถึงจุดที่ชาวพื้นเมืองย้ายไปอยู่เคียงข้างพระองค์[9] และชี้ให้เห็นว่าการก่อกบฏยังไม่ยุติลงเมื่อกษัตริย์ดาริอุสมาถึงอียิปต์ในช่วง 518 ปีก่อนคริสตกาล[5]
ในที่สุด ฟาโรห์เปทูบาสทิสก็ทรงพ่ายแพ้ให้กับกษัตริย์ดาริอุส ซึ่งต่อมาได้ควบคุมโอเอซิสตะวันตกโดยเริ่มดำเนินการทางทหารอย่างแข็งขันที่นั่น (ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิหารแห่งฮิบิสที่โอเอซิสคาร์กา) ในเวลาเดียวกัน พระองค์จะทรงทำลายหลักฐานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เกี่ยวกับฟาโรห์เปทูบาสทิสและการก่อกบฏของพระองค์ รวมทั้งวิหารที่อัมไฮดาและชะตากรรมที่แท้จริงของกองทัพแคมไบซีสที่สูญหายไป[5]
หลักฐานยืนยัน[แก้]
ก่อนที่จะมีการค้นพบก้อนบล็อกหลายบล็อกที่อ้างถึงพระองค์ในโอเอซิสดัคลา[5] การมีอยู่ของผู้ปกครองกบฏที่คลุมเครือพระองค์นี้ได้รับการยืนยันโดยคำจารึกที่พบในตราประทับสองชิ้นและตราประทับสคารับหนึ่งชิ้นที่ปรากฏพระนามของพระองค์ ซึ่งเขียนในคาร์ทูช[5] รูปสลักพระองค์ของพระองค์ปรากฏบนวงกบประตู ซึ่งครั้งหนึ่งเคยปิดด้วยทองคำเปลว ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และแผ่นกระดานสี่เหลี่ยมที่กรุไม้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในโบโลญญา (เคเอส 289)[1] นอกจากนี้ยังมีเอกสารที่ระบุช่วงเวลาย้อนไปถึงช่วง 522 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นปีแรกในรัชสมัยของพระองค์ด้วย[7]
ดูเพิ่ม[แก้]
- พซัมเมติคัสที่ 4 – ผู้ปกครองอียิปต์ซึ่งก่อกบฏต่อการปกครองของจักรวรรดิอะคีเมนิดในช่วง 480 ปีก่อนคริสตกาล
- อินารอสที่ 2 – ผู้ปกครองชาวอียิปต์อีกพระองค์ที่กบฏต่อการปกครองของจักรวรรดิอะคีเมนิดในช่วง 460 ปีก่อนคริสตกาล
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 Jean Yoyotte: Pétoubastis III, Revue d'Egyptologie 24 (1972): pp. 216-223, plate 19
- ↑ จัดให้อยู่ในราชวงศ์นี้ด้วยเหตุผลตามลำดับเวลาเท่านั้น เนื่องจากพระองค์ทรงไม่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์อะคีเมนิด
- ↑ 3.0 3.1 "Ancient Egypt: History and Chronology, 27th dynasty".
- ↑ Hermann Ranke: Die ägyptischen Personennamen. Verlag von J. J. Augustin in Glückstadt, 1935, p.123
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Kaper, Olaf E. (2015). "Petubastis IV in the Dakhla Oasis: New Evidence about an Early Rebellion against Persian Rule and Its Suppression in Political Memory". ใน Silverman, Jason M.; Waerzeggers, Caroline (บ.ก.). Political memory in and after the Persian empire (SLB monograph, no. 13). Society of Biblical Literature. pp. 125–149. ISBN 978-0-88414-089-4.
- ↑ "Ancient Egypt: History and Chronology, 27th dynasty".
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Eiddon Stephen Edwards, The Cambridge Ancient History, Cambridge University Press, 2005, p 262
- ↑ Clayton,P, Chronicle of the Pharaohs, Thames & Hudson, 2006
- ↑ Polyaenus, Stratagems VII, 11 §7.