มหาปุโรหิตแห่งอามุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทพเจ้าอามุนในคาร์นัก
R8U36T8nimn
n
N5
มหาปุโรหิตแห่งอามุน
ḥm nṯr tpj n jmn
สมัย: ราชอาณาจักรใหม่
(1550–1069 BC)
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

มหาปุโรหิตแห่งอามุน หรือ อัครประกาศกแห่งอามุน (ḥm nṯr tpj n jmn) เป็นตำแหน่งขั้นสูงสุดของนักบวชในฐานะนักบวชแห่งเทพเจ้าอามุนในศาสนาอียิปต์โบราณ[1] ตำแหน่งมหาปุโรหิตแห่งอามุนปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบแปดในสมัยราชอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์

ประวัติมหาปุโรหิตแห่งอามุน[แก้]

นักบวชแห่งอามุนได้เรืองอำนาจขึ้นในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ ผ่านความศรัทธาและการยกย่องเทพเจ้าอามุนโดยผู้ปกครอง เช่น พระนางฮัตเชปสุต และที่มากไปกว่านั้น คือ ฟาโรห์ทุตโมสที่ 3[2] นักบวชแห่งอามุนในธีบส์นั้นประกอบด้วยตำแหน่งนักบวชระดับสูงจำนวน 4 ตำแหน่ง ได้แก่[3]

  • อัครประกาศกแห่งอามุนที่คาร์นัก (''ḥm nṯr tpj n jmn'') เรียกอีกอย่างว่า มหาปุโรหิตแห่งอามุน
  • ประกาศกแห่งอามุนขั้นที่สามที่คาร์นัก (''ḥm nṯr ḫmtnw n jmn khemet-nu'') เรียกอีกอย่างว่า ปุโรหิตแห่งอามุนขั้นที่สาม
  • ประกาศกแห่งอามุนขั้นที่สี่ที่คาร์นัก (''ḥm nṯr jfdw n jmn'') เรียกอีกอย่างว่า ปุโรหิตแห่งอามุนขั้นที่สี่

อำนาจของนักบวชแห่งอามุนได้ถูกลดทอนลงชั่วคราวในช่วงสมัยอามาร์นา ซึ่งมีการบันทึกเกี่ยวกับมหาปุโรหิตนามว่า มายา ในปีที่ช่วง 4 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อาเคนอาเตน ฟาโรห์อาเคนอาเตนทรงได้ลบพระนามของเทพอามุนออกจากอนุสรณ์สถานในรัชสมัยของพระองค์เฉกเช่นเดียวกับชื่อของเทพเจ้าพระองค์อื่น ๆ แต่หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระองค์ ลัทธิของเทพอามุนได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อย่างโดดเด่นท่ามกลางหมู่ลัทธิต่างๆ ในอียิปต์โดยยุวกษัตริย์นามว่า ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ซึ่งทรงได้ฟื้นฟูลัทธิของเทพอามุนกลับสู่จุดเดิมที่เคยรุ่งเรืองในอดีต[4]

มหาปุโรหิตแห่งอามุนที่ธีบส์ได้รับการแต่งตั้งจากฟาโรห์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตำแหน่งดังกล่าวจะถูกแต่งตั้งขึ้นโดยบุคคลสำคัญ ซึ่งให้ดำรงตำแหน่งเพิ่มเติมในส่วนการปกครองของฟาโรห์ มหาปุโรหิตหลายคนในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ก็ดำรงตำแหน่งราชมนตรีในเวลาเดียวกันเช่นกัน[5]

ในช่วงปลายของสมัยราชอาณาจักรใหม่ สถานะของนักบวชแห่งอามุนในช่วงสมัยราชราชวงศ์ที่ยี่สิบนั้นเป็นช่วงเวลาการดำรงตำแหน่งของราเมสเซสนัคต์เป็นส่วนใหญ่ และในที่สุดอเมนโฮเทป ผู้ซึ่งเป็นบุตรชายก็สืบต่อตำแหน่งจากบิดาและพบว่าได้เกิดความขัดแย้งกับอุปราชแห่งคุชนามว่า พิเนเฮซิ ซึ่งยกกองทัพขึ้นเหนือและปิดล้อมเมืองธีบส์ หลังจากช่วงเวลาดังกล่าวแม่ทัพนามว่า เฮอร์อิฮอร์ และ พิอังค์ ได้เข้ามาตำแหน่งมหาปุโรหิต

เฮฮร์อิฮอร์

เมื่อเฮอร์อิฮอร์ได้รับแต่งตั้งเป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุนในปี 1080 ปีก่อนคริสตกาล ในปีที่ 19 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์รามเสสที่ 11 สถานะของนักบวชแห่งอามุนก็มีอำนาจเหนือทางระบบเศรษฐกิจของอียิปต์ นักบวชแห่งอามุนเป็นเจ้าของที่ดินกัลปนาวิหารจำนวนสองในสามของอียิปต์ และกองเรือจำนวนร้อยละ 90 รวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ อีกมากมาย[6] ด้วยเหตุนี้ จึงมีอำนาจเทียบเท่ากับฟาโรห์ และมหาปุโรหิตแห่งอามุนมีอำนาจและอิทธิพลจนสามารถตั้งตนเป็นผู้ปกครองแห่งอียิปต์บนตั้งแต่ 1080 ถึงราว 943 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นอิทธิพลของมหาปุโรหิตแห่งอามุนก็ลดลง อย่างไรก็ตาม เหล่ามหาปุโรหิตแห่งอามุนไม่ถือว่าเป็นราชวงศ์ที่ปกครองด้วยพระราชสิทธิพิเศษของฟาโรห์ และหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว อิทธิพลของนักบวชแห่งอามุนก็ลดลง พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของมหาปุโรหิตนามว่า พิเนดจ์เอมที่ 1 ซึ่งได้ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์และปกครองอียิปต์เป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษในฐานะฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1 ส่วนในขณะที่มหาปุโรหิตแห่งธีบส์นามว่า ซูเซนเนสที่ 3 ก็จะขึ้นครองพระราชบัลลังก์ในฐานะฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 2 ซึ่งทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์

อ้างอิง[แก้]

  1. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2010). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28857-3.
  2. Breasted, Ancient Records of Egypt, vol. 2: The Eighteenth Dynasty
  3. Dodson, Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt, 2004
  4. Aldred, Akhenaten: King of Egypt, Thames & Hudson (1991)
  5. Kitchen, Ramesside Inscriptions, Translated & Annotated, Translations, Volume III, Blackwell Publishers, 1996
  6. Clayton, Peter A. (2006). Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28628-9.