สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ

ราว 664 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 332 ปีก่อนคริสตกาล
อียิปต์ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล
อียิปต์ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล
เมืองหลวงซาอิส, เมนเดส, เซเบนนิโตส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองราชาธิปไตย
ฟาโรห์ 
• ราว 664–610 ปีก่อนคริสตกาล
พซัมติกที่ 1 (พระองค์แรก)
• 336–332 ปีก่อนคริสตกาล
ดาริอุสที่ 3 (พระองค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• เริ่มต้น
ราว 664 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ราว 332 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
สมัยระหว่างกลางที่สามแห่งอียิปต์
จักรวรรดิมาซิโดเนีย
ราชอาณาจักรทอเลมี

สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ หมายถึง ช่วงเวลาความรุ่งโรจน์ช่วงสุดท้ายของผู้ปกครองแห่งอียิปต์พื้นเมือง หลังจากช่วงสมัยระหว่างกลางที่สามแห่งอียิปต์นับตั้งแต่การสถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งซาอิสโดยฟาโรห์พซัมติกที่ 1 แต่รวมถึงช่วงเวลาของการปกครองโดยกษัตริย์เปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ซึ่งปกครองอียิปต์ หลังจากการพิชิตโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ในปี 525 ปีก่อนคริสตกาลด้วยเช่นกัน สมัยปลายกินช่วงเวลาระหว่าง 664 จนถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งนับตั้งแต่เหตุการณ์ช่วงเวลาของการปกครองโดยราชวงศ์ต่างชาติโดยราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งนิวเบีย และช่วงต้นด้วยช่วงเวลาสั้น ๆ ของการมีอำนาจเหนืออียิปต์ของจักวรรดิอัสซีเรียใหม่ สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณสิ้นสุดลงด้วยการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชและการสถาปนาราชวงศ์ทอเลมีโดยนายพลทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ หนึ่งในชาวกรีกโบราณจากมาซิโดเนียทางตอนเหนือของกรีซ ด้วยการพิชิตจักรวรรดิมาซิโดเนียของกรีกในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งช่วงเวลาหลังจากนั้นนับว่าเป็นสมัยเฮลเลนนิสติกแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ในสมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก หรือที่เรียกว่าราชวงศ์แห่งซาอิส หลังจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหกได้สถาปนาศูนย์อำนาจในเมืองซาอิส ก็ได้ขึ้นมาปกครองตั้งแต่ 672 ถึง 525 ปีก่อนคริสตกาล และประกอบด้วยฟาโรห์จำนวนหกพระองค์ ซึ่งเริ่มต้นช่วงเวลาของราชวงศ์ด้วยการรวมอาณาจักรอียิปต์ของฟาโรห์พซัมติกที่ 1 เมื่อราว 656 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผลโดยตรงจากการปล้นสดมภ์เมืองธีบส์โดยจักรวรรดิอัสซีเรียเมื่อ 663 ปีก่อนคริสตกาล และได้เริ่มการขุดคลองจากแม่น้ำไนล์ถึงทะเลแดงในช่วงเวลานี้

ดูเหมือนว่าอียิปต์จะขยายดินแดนเข้าสู่ตะวันออกใกล้ในช่วงต้นของช่วงเวลาดังกล่าง การค้นพบทางโบราณคดีที่จำนวนมากจากเลวานไทน์ แสดงให้เห็นถึงการยึดครองและการควบคุมของอียิปต์ในช่วงปลายทศวรรษของศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์กาล รวมถึงวัตถุต่าง ๆ ของอียิปต์จากหลาย ๆ แห่ง ชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาและเอกสารแสดงระบบบรรณาการ/ภาษี และหลักฐานจากป้อมปราการแห่งเมซาด ฮาชาฟยาฮู[1][2] อิทธิพลของอียิปต์ไปถึงพื้นที่ยูเฟรติสในสถานที่เช่น คิมูฮู และกูรามาติ แต่ต่อมาอียิปต์ก็ต้องถอยร่นจากความพ่ายแพ้ที่คาร์เคมิช แม้ว่าการแทรกแซงของอียิปต์ในตะวันออกใกล้ดูเหมือนจะดำเนินต่อไปหลังจากการสู้รบครั้งนี้[3]

ฟาโรห์อมาซิสที่ 2 ทรงปฏิบัติตามพระราชนโยบายใหม่และมุ่งความสนพระราชหฤทัยไปที่โลกกรีก ทรงผนวกไซปรัสในรัชสมัยของพระองค์[4] ฟาโรห์พซัมติกที่ 2 ได้ทรงส่งคณะเดินทางทางทหารครั้งใหญ่ในทางใต้ที่ลึกเข้าไปในบริเวณนิวเบียบนและก็พ่ายแพ้อย่างหนักกลับมา[5] บันทึกปาปิรุสเดโมติกจากรัชสมัยของฟาโรห์อาโมสที่ 2 ไเ้บรรยายถึงการเดินทางเล็ก ๆ สู่นิวเบีย ซึ่งมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน มีหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับกองทหารอียิปต์ที่ดอร์กินาร์ติในนิวเบียล่างในช่วงราชวงศ์แห่งซาอิส[6]

ปรากฏหลักฐานอีอย่างหนึ่งจากสมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ คือ บันทึกปาปิรุสบรูคลิน ซึ่งเป็นบันทึกปาปิรุสทางการแพทย์ที่มีชุดการรักษาทางการแพทย์และเวทมนตร์สำหรับผู้ที่ถูกงูกัดโดยพิจารณาจากประเภทของงูหรืออาการ[7]

งานศิลปะในช่วงเวลานี้เกี่ยวข้องกับลัทธิบูชาสัตว์และมัมมี่สัตว์ ภาพนี้แสดงให้เห็นเทพเจ้าปาไตโกสทรงสวมแมลงสคารับบนพระเศียร นกหัวมนุษย์สองตัวเกาะบนพระอังสาบ่า ทรงถืองูไว้ในมือข้างละข้าง และประทับยืนอยู่บนหัวจระเข้[8]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์[แก้]

สมัยการปกครองของจักรรวรรดิอะคีเมนิดที่ 1 (ระหว่าง 525–404 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เริ่มต้นจากการรบที่เปลูเซียม ซึ่งอียิปต์ (เปอร์เซียเก่า: 𐎸𐎭𐎼𐎠𐎹 Mudrāya) ได้ถูกพิชิตโดยจักรรวรรดิอะคีเมนิดอันกว้างใหญ่ในรัชสมัยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 และอียิปต์ก็กลายเป็นหนึ่งในมณฑลของจักรรวรรดิอะคีเมนิด ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ประกอบด้วยกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ได้แก่ แคมไบซีสที่ 2, เซอร์ซีสที่ 1 และดาริอุสมหาราช ซึ่งทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ในฐานะฟาโรห์และปกครองผ่านมณฑล เช่นเดียวกันกับฟาโรห์เปทูบาสติสที่ 3 (ปกครองระหว่าง 522–520 ปีก่อนคริสตกาล) (และอาจจะเป็นไปได้พระองค์คือ ฟาโรห์ซัมเมติคัสที่ 4 ตามมีการโต้เถียงกัน) ซึ่งทรงก่อกบฏโดยต่อต้านผู้ปกครองของเปอร์เซีย การก่อกบฏของอินารอสที่ 2 (460-454 ปีก่อนคริสตกาล) ที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นได้รับความช่วยเหลือจากชาวเอเธนส์ในฐานะส่วนหนึ่งของสงครามแห่งสันนิบาตดีเลียน ผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ของเปอร์เซีย คือ อารยันเดส (525–522 ปีก่อนคริสตกาล และ 518–ประมาณ 496 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งปกครองในช่วงของการก่อกบฏโดยฟาโรห์เปทูบาสติสที่ 3, เฟเรนดาเตส (ประมาณ 496–486 ปีก่อนคริสตกาล), อะเคเมเนส (ประมาณ 486–459 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นพระอนุชาของกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 และอาร์ซาเมส (ราว 454 – ราว 406 ปีก่อนคริสตกาล)

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดถึงราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดมีฟาโรห์พระองค์เดียวคือ อไมร์เตอุส ผู้ครองเมืองแห่งซาอิส พระองค์ทรงก่อการกบฏต่อชาวเปอร์เซียได้สำเร็จ นับเป็นการเปิดฉากช่วงสำคัญของความเป็นอิสระในช่วงสุดท้ายของอียิปต์ภายใต้อำนาจอธิปไตยของชนพื้นเมือง ไม่ปรากฏอนุสาวรีย์ใดที่ปรากฏพระนามของพระองค์ ราชวงศ์นี้ปกครองเป็นเวลาหกปีตั้งแต่ 404 ปีก่อนคริสตกาล - 398 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้าขึ้นมาปกครองต่อ ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเมนเดส ตั้งแต่ 398 ถึง 380 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ฮาคอร์จากราชวงศ์นี้ทรงสามารถเอาชนะการรุกรานของชาวเปอร์เซียได้ในรัชสมัยของพระองค์

ราชวงศ์ที่สามสิบได้รับรูปแบบศิลปะจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหก ฟาโรห์จำนวนสามพระองค์ทรงปกครองตั้งแต่ 380 ถึง 343 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์พระนาม เนคทาเนโบที่ 1 พระองค์ทรงอาชนะการรุกรานของเปอร์เซียใน 373 ปีก่อนคริสตกาล และต่อมาผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์พระนามว่า ทีออส พระองค์ได้ทรงต่อต้านจักรวรรดิอะคีเมนิดในตะวันออกใกล้ การเดินทางเริ่มประสบผลสำเร็จและเดินทางไปยังฟีนิเซียโดยไม่มีปัญหาใดเป็นพิเศษ แต่เจ้าชายทจาฮาปิมู ผู้เป็นพระอนุชา ทรงกำลังวางแผนต่อต้านพระองค์ โดยเจ้าชายทจาฮาปิมูทรงโน้มน้าวให้เจ้าชายเนคทาเนโบ ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสลูกชายให้ทรงทำก่อการกบฏต่อฟาโรห์ทีออส และสถาปนาพระองค์เองเป็นฟาโรห์ ซึ่งสามารถก่อการกบฏได้สำเร็จและฟาโรห์ทีออสทรงไม่มีทางเลือกใดอีก นอกจากต้องหนีและคณะสำรวจทางทหารก็แตกพ่าย ผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้และผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของอียิปต์คือ ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ซึ่งทรงพ่ายแพ้ในการสู้รบซึ่งนำไปสู่การผนวกอียิปต์เข้าจักรวรรดิอะคีเมนิดอีกครั้ง

ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์[แก้]

สมัยการปกครองของจักรรวรรดิอะคีเมนิดที่ 2 ได้รวมอียิปต์กลับเข้าเป็นส่วนหนึ่งจักรวรรดิเปอร์เซียในการปกครองของราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด (343–332 ปีก่อนคริสตกาล) อีกครั้ง ซึ่งประกอบด้วยกษัตริย์เปอร์เซียจำนวน 3 พระองค์ที่ทรงปกครองในฐานะฟาโรห์ คือ อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 (343– 338 ปีก่อนคริสตกาล), อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 4 (338–336 ปีก่อนคริสตกาล) และดาริอุสที่ 3 (336–332 ปีก่อนคริสตกาล) และปรากฏการก่อกบฏของภายในราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดโดยฟาโรห์คาบาบาช (338–335 ปีก่อนคริสตกาล) การปกครองของเปอร์เซียในอียิปต์สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิอะคีเมนิดต่อกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งพระองค์ยอมรับการสวามิภักดิ์ของผู้ว่าการมณฑลอียิปต์แห่งเปอร์เซียนามว่า มาซาเคส ใน 332 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองของชาวกรีกในอียิปต์ที่มีเสถียรภาพหลังจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ในสมัยราชอาณาจักรปโตเลมี

อ้างอิง[แก้]

  1. Bar, S.; Kahn, D.; Shirley, J.J. (2011). Egypt, Canaan and Israel: History, Imperialism, Ideology and Literature (Culture and History of the Ancient Near East). BRILL. pp. 268–285.
  2. Federico, Zains. "Some Preliminary Remarks on the Neo-Assyrian City Wall in the Outer Town at Karkemish": 901–902. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Shaw, Ian (2004). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. pp. 372–373.
  4. Hill, George (2010). A History of Cyprus, Vol. 1. Cambridge University Press. p. 109.
  5. Psamtik II
  6. Shaw, Ian (2004). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. pp. 373–374.
  7. Bleiberg, Barbash & Bruno 2013, p. 55.
  8. Bleiberg, Barbash & Bruno 2013, p. 16.

บรรณานุกรม[แก้]