ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เนบิไรรอที่หนึ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซวัดจ์เอนเร เนบอิร์อาว (หรือเรียกอย่างอื่นว่า เนบอิร์อาอูที่ 1, เนบอิร์เอราเวทที่ 1) เป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบหก ซึ่งปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ในอียิปต์บนในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง

รัชกาล

[แก้]

ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ได้บันทึกไว้ว่าพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 26 ปีและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ก็ใช้พระนามว่า เนบอิร์อาวที่ 2 ซึ่งสันนิษฐานได้อาจจะเป็นพระราชโอรสของพระองค์[3] ตราประทับที่เป็นของพระองค์ ส่วนใหญ่ทำมาจากดินเหนียวหรือฟริต (วัตถุที่ใช้ทำเครื่องเคลือบหรือกระจก) มากกว่าทำจากหินสบู่ ซึ่งหมายความว่าไม่มีการทำเหมืองแร่ในทะเลทรายตะวันออกของอียิปต์ในรัชสมัยของพระองค์[4] มีการพบตราประทับของพระองค์สองชิ้นอยู่ที่ลิชต์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งชองชาวฮิกซอส การค้นพบนี้อาจจะแสดงให้เห็นถึงการติดต่อทางการทูตระหว่างฟาโรห์ชาวธีบส์ในอียิปต์บนและฟาโรห์ชาวฮิกซอสในอียิปต์ล่างในรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าจะไม่แน่นอนก็ตาม[5]

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

นอกเหนือจากการกล่าวถึงในบันทึกพระนามแห่งตูรินและตราประทับดังกล่าวแล้ว ฟาโรห์เนบอิร์อาวที่ 1 ยังเป็นที่ทราบมาจากศิลานิติศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่รู้จักกันดี ซึ่งลงช่วงเวลาย้อนไปถึงในช่วงปีที่ 1 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ไคโร (JE 52453)[6] นอกจากนี้ ในกรุงไคโร (JE 33702) ยังมีกริชทองแดงที่มีพระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระองค์ ซึ่งค้นพบโดยฟลินเดอร์ส เพตรีในสุสานที่เมืองฮูในช่วงปลายทศวรรษที่ 1890[7][8] พระองค์ยังปรากฎพร้อมกับเทพีมาอัตบนจารึกศิลาขนาดเล็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของของสะสมอียิปต์โบราณตั้งอยู่ในกรุงบอนน์[9]

พระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระองค์ คือ เซวัดจ์เอนเร (พร้อมด้วยกับพระนามสร้อยว่า "เทพเจ้าที่ดี" และ "ผู้ล่วงลับ") ปรากฏบนฐานของรูปหล่อทองสัมฤทธิ์เทพเจ้าฮาร์โปเครติส ซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพธภัณฑ์ไคโร (JE 38189) พร้อมด้วยพระนามอื่นอื่น ๆ อีกสองพระนาม คือ อาโมส และบินปุ เห็นได้ชัดว่าเป็นพระนามของเจ้าชายแห่งราชวงศ์ที่สิบเจ็ด ซึ่งจะมาแทนที่ราชวงศ์ที่สิบหกหลังจากนั้นไม่นาน รูปหล่อดังกล่าวยังกล่าวถึง "เทพเจ้าเนเฟอร์คาเร ผู้ล่วงลับไปแล้ว" ซึ่งโดยทั่วไปเชื่อกันว่าเป็นพระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระราชโอรสและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์นามว่า เนบอิร์อาวที่ 2 อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่ารูปหล่อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สร้างขึ้นร่วมสมัย ณ เวลานั้น เนื่องจากลัทธิการูชาเทพฮาร์โปเครตีสเพิ่งมาได้รับความนิยมในช่วงสมัยปโตเลมี คือประมาณ 1,500 ปีหลังจากนั้นที่บุคคลที่ปรากฏพระนามบนรูปหล่อมีพระชนม์ชีพอยู่[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Titulary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-08. สืบค้นเมื่อ 2008-06-08.
  2. Leprohon, Ronald J. (2013). The great name: ancient Egyptian royal titulary. Writings from the ancient world, no. 33. Atlanta: Society of Biblical Literature. ISBN 978-1-58-983736-2, see p. 84
  3. Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period (=Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20). Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0., pp. 155, 202
  4. Ryholt, pp. 159-60
  5. Ryholt, p. 162
  6. Lacau, Pierre (1949). "Une stèle juridique de Karnak". Annales du Service des Antiquités de l'Égypte. Supplément. 13.
  7. Petrie, Flinders (1901). Diospolis Parva, the cemeteries of Abadiyeh and Hu, 1898-9, pl. 32, n. 17
  8. Ryholt, p. 178, n. 639
  9. Pieke, Gabi (ed.) (2006) Tod und Macht, Jenseitsvorstellungen in Altägypten, Bonn, fig. on p.61
  10. Redford, Donald B. (1986). Pharaonic king-lists, annals and day-books: a contribution to the study of the Egyptian sense of history. Mississauga: Benben Publications. ISBN 0920168078., p. 55

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]