ราชวงศ์อาร์กีด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์อาร์กีด
พระราชอิสริยยศบาซิเลอุสแห่งมาเกโดนีอา, กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย, กษัตริย์แห่งเอเชีย, ฟาโรห์แห่งอียิปต์ (ราชวงศ์ที่สามสิบสองแห่งอียิปต์), ประมุขแห่งสหพันธ์เฮลเลนิค, ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกรีซ
ปกครองมาเกโดนีอา (กรีซโบราณ)
สาขาราชวงศ์ทอเลมี (?)
ประมุขพระองค์สุดท้ายอเล็กซานเดอร์ที่ 4 แห่งมาเกโดนีอา
สถาปนา808 ปีก่อนคริสตกาล
สิ้นสุด310 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์อาร์กีด (กรีก: Ἀργεάδαι, อักษรโรมัน: Argeádai) หรือที่รู้จักในชื่อ ราชวงศ์เทเมนิด เป็นราชวงศ์มาซิโดเนียโบราณที่มีเชื้อสายกรีกของชาวดอเรียน[1][2][3] ซึ่งเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์และปกครองอาณาจักรมาซิโดเนียตั้งแต่ประมาณ 700 ถึง 310 ปีก่อนคริสตกาล[4]

ตามที่อธิบายไว้ในประวัติศาสตร์กรีกโบราณ สามารถสืบหาต้นกำเนิดของราชวงศ์ที่เมืองอาร์กอสของแคว้นเพโลพอนนีส ทางตอนใต้ของกรีซ จึงเป็นเหตุให้ราชวงศ์นี้มีชื่อว่า อาร์กีดส์ หรือ อาร์กิเวส[5][6][1] เมื่อถึงรัชสมัยของกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 ซึ่งได้ขยายการปกครองออกไปอีก โดยรวมถึงรัฐมาซิโดเนียตอนบนทั้งหมด สมาชิกที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของราชวงศ์คือกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนียและอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ ภายใต้การนำของราชอาณาจักรมาซิโดเนียที่ค่อย ๆ มีอำนาจเหนือกว่าทั่วกรีซ และเอาชนะจักรวรรดิอะคีเมนิด และขยายไปไกลถึงอียิปต์และอินเดีย ผู้สถาปนาราชวงศ์อาร์กีดในตำนานคือกษัตริย์คารานัส[7][8] โดยราชวงศ์อาร์กีดได้อ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากเทพเฮราคลีส ผ่านปนัดดาของพระองค์นามว่า เทเมนัส ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอาร์กอสด้วย

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ทริโอโบลแห่งอาร์กอส (บน) และเหรียญทองแดงของกษัตริย์อมินตัสที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย (ล่าง) กษัตริย์แห่งราชวงศ์อาร์กีดในยุคแรก ๆ มักจะคัดลอกเหรียญของหมาป่าแห่งอาร์กอสมาไว้บนเหรียญของพระองค์เองเพื่อเน้นย้ำถึงบรรพบุรุษที่มาจากเมืองนี้[9]

คำว่า Argead และ Argive มาจาก (ผ่านทางภาษาละติน Argīvus[10]) ภาษากรีกว่า Ἀργεῖος (Argeios หมายถึง "ของหรือจากอาร์กอส") ซึ่งมีการใช้คำนี้ครั้งแรกในโฮเมอร์ ซึ่งคำนี้ยังใช้เป็นคำเรียกรวมสำหรับชาวกรีก ("Ἀργείων Δαναῶν", Argive Danaans)[11][12] ราชวงศ์อาร์กีดได้อ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากเทเมนิดส์แห่งอาร์กอสในแคว้นเพโลพอนนีส ซึ่งมีบรรพบุรุษในตำนานคือ เทเมนัส ปนัดดาของเทพเฮราคลีส[1]

เส้นทางของราชวงศ์อาร์กีดจากเมืองอาร์กอสในแคว้นเพโลพอนนีสไปยังมาซิโดเนียตามคำกล่าวของเฮโรโดตุส

กษัตริย์แห่งราชวงศ์อาร์กีด[แก้]

ข้อพิพาทการสืบสันตติวงศ์[แก้]

การสวรรคตของกษัตริย์มักก่อให้เกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับราชวงศ์และมักจะเกิดสงครามสืบราชสันตติวงศ์ระหว่างสมาชิกของราชวงศ์อาร์กีด ซึ่งนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ[13] โดยรวมถึงเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

  • ช่วงว่างระหว่างรัชกาลมาซิโดเนียหกปี (399–393 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์อาร์เคลาอุส โดยเกิดข้อพิพาทระหว่างโอเรสเตส, แอโรปัสที่ 2, อมินตัสที่ 2 และเพาซาเนียส[14]
  • สงครามสืบราชสันตติวงศ์มาซิโดเนีย (393–392 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์เพาซาเนียส โดยเกิดข้อพิพาทระหว่างอมินตัสที่ 3 และอาร์เกอุสที่ 2
  • สงครามสืบราชสันตติวงศ์มาซิโดเนีย (369–368 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากการสวรรคตของกษัตริย์อมินตัสที่ 3 โดยเกิดข้อพิพาทระหว่างปโตเลมีแห่งอาโลรอสและอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย
  • สงครามสืบราชสันตติวงศ์มาซิโดเนีย (360–359 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์เพอร์ดิกคัสที่ 3 โดยเกิดข้อพิพาทระหว่างฟิลิปที่ 2 (ผู้ปลดกษัตริย์อมินตัสที่ 4), อาร์เกอุส (ได้รับการสนับสนุนโดยเอเธนส์), เพาซาเนียส (ได้รับการสนับสนุนโดยเทรซ) และอาร์เคลาอุส (ได้รับการสนับสนุนโดยสหพันธ์แห่งคาลซิเดีย)[13]
  • สงครามไดอาโดคี (323–277 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ระหว่างไดอาโดจิ ("ผู้สืบทอด") ของพระองค์

นอกจากนี้ กษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานยังอาจจะเผชิญกับการก่อกบฏโดยพระญาติ เมื่อเห็นว่าอดีตกษัตริย์อ่อนแอ เช่น การก่อกบฏของเจ้าชายฟิลิปต่อกษัตริย์เพอร์ดิกคัสที่ 3 ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ในช่วงเริ่มสงครามเพโลพอนนีเซียน (433–431 ปีก่อนคริสตกาล)

พระราชพงศาวลีแห่งราชวงศ์อาร์กีด

รายพระนามกษัตริย์[แก้]

กษัตริย์แห่งราชวงศ์อาร์กีด
รูปภาพ รัชสมัย พระนาม คำอธิบาย
ป. 808-778 ปีก่อนคริสตกาล คารานอส ผู้สถาปนาราชวงศ์อาร์กีด และเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของมาซิดอน (อาจจะเป็นเรื่องสมมติ)
ป. 778-750 ปีก่อนคริสตกาล คออินอส (อาจจะเป็นเรื่องสมมติ)
ป. 750-700 ปีก่อนคริสตกาล ไทริมมัส (อาจจะเป็นเรื่องสมมติ)
ป. 700-678 ปีก่อนคริสตกาล เพอร์ดิกคัสที่ 1
ป. 678-640 ปีก่อนคริสตกาล อาร์เกอุสที่ 1
ป. 640-602 ปีก่อนคริสตกาล ฟิลิปที่ 1
ป. 602-576 ปีก่อนคริสตกาล แอโรปุสที่ 1
576-547 ปีก่อนคริสตกาล อัลเคตัส
547-498 ปีก่อนคริสตกาล อมินตัสที่ 1 ทรงเป็นข้าราชบริพารของจักรวรรดิอะคีเมนิด ในช่วง 512/511 ปีก่อนคริสตกาล นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่า กษัตริย์อมินตัสเป็นกษัตริย์มาซิโดเนียพระองค์แรกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
497-454 ปีก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์ที่ 1 อาณาจักรมาซิโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอะคีเมนิด หลังจาก 492 ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์หลังจาก 479 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากการถอนทัพของจักรวรรดิอะคีเมนิด
454-413 ปีก่อนคริสตกาล เพอร์ดิกคัสที่ 2
413-399 ปีก่อนคริสตกาล อาร์เคลาอุส
399-396 ปีก่อนคริสตกาล โอเรสเตส ทรงปกครองร่วมกับกษัตริย์แอโรปุสที่ 2 จนกระทั่งพระองค์ทรงถูกสังหารโดยกษัตริย์แอโรปุสที่ 2
399-394/393 ปีก่อนคริสตกาล แอโรปุสที่ 2 ทรงปกครองร่วมกับกษัตริย์โอเรสเตสจนถึง 396 ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นทรงปกครองแต่เพียงพระองค์เดียว
393 ปีก่อนคริสตกาล อมินตัสที่ 2 ทรงปกครองอย่างสั้น ๆ รัชสมัยของพระองค์สิ้นสุดลงด้วยการทรงถูกสังหารโดยขุนนางแห่งเอลิมิโอติสนามว่า เดอดัส
393 ปีก่อนคริสตกาล เพาซาเนียส ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยกษัตริย์อมินตัสที่ 3 ในปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์
393 ปีก่อนคริสตกาล อมินตัสที่ 3 (รัชสมัยแรก)
393-392 ปีก่อนคริสตกาล อาร์เกอุสที่ 2 ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์จากกษัตริย์อมินตัสที่ 3 เป็นเวลาประมาณหนึ่งปีด้วยความช่วยเหลือจากชาวอิลลิเรียน
392-370 ปีก่อนคริสตกาล อมินตัสที่ 3 (รัชสมัยที่สอง) ทรงคืนสู่พระราชบัลลังก์หลังจากนั้นประมาณหนึ่งปี
370-368 ปีก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยปโตเลมีแห่งอาโลรอสผู้เป็นพระมาตุลา
368-359 ปีก่อนคริสตกาล เพอร์ดิกคัสที่ 3 ปโตเลมีแห่งอาโลรอสเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ 368-365 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งถูกปลงพระชนม์โดยกษัตริย์เพอร์ดิกคัสที่ 3
359 ปีก่อนคริสตกาล อมินตัสที่ 3 ทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์เพอร์ดิกคัสที่ 3 ซึ่งพระองค์ทรงถูกแย่งชิงพระราชบัลลังก์โดยกษัตริย์ฟิลิปที่ 2
359-336 ปีก่อนคริสตกาล ฟิลิปที่ 2 ทรงขยายอาณาเขตและอิทธิพลของมาซิโดเนียเพื่อครอบครองคาบสมุทรบอลข่าน และรวบรวมนครรัฐกรีกส่วนใหญ่ในสหพันธ์แห่งคอรินธ์ภายใต้อำนาจของพระองค์
336-323 ปีก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์ที่ 3 มหาราช ทรงเป็นกษัตริย์แห่มาซิโดเนียที่โดดเด่นที่สุดและเป็นหนึ่งในกษัตริย์และนักยุทธศาสตร์การทหารที่โด่งดังที่สุดตลอดกาล เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยของพระองค์ อเล็กซานเดอร์มหาราชทรงได้เป็นกษัตริย์แห่งมาซิโดเนีย ฟาโรห์แห่งอียิปต์ และกษัตริย์แห่งเปอร์เซียไปพร้อม ๆ กัน และได้พิชิตอาณาจักรอะคีเมนิดในอดีตทั้งหมดรวมถึงบางส่วนของหุบเขาสินธุตะวันตก
323-317 ปีก่อนคริสตกาล ฟิลิปที่ 3 อาร์ริเดอุส ทรงเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดแห่งจักรวรรดิมาซิโดเนีย ในช่วงต้นของสงครามไดอาโดคี เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระอาการทางจิตในระดับหนึ่ง และทรงถูกสำเร็จโทษโดยโอลิมเปียส
323/317-309 ปีก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์ที่ 4 เป็นพระราชโอรสในกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชกับพระนางร็อกซานาแห่งบัคเตรีย ซึ่งยังทรงไม่ประสูติในขณะที่พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ ทรงเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์ตั้งแต่ประสูติในช่วง 317 ปีก่อนคริสตกาล ทรงเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดแห่งจักรวรรดิมาซิโดเนีย ในช่วงสงครามไดอาโดคีช่วงต้น-กลาง และทรงถูกสำเร็จโทษโดยแคสแซนเดอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Howatson & Harvey 1989, p. 339: "In historical times the royal house traced its descent from the mythical Temenus, king of Argos, who was one of the Heracleidae, and more immediately from Perdiccas I, who left Argos for Illyria, probably in the mid-seventh century BC, and from there captured the Macedonian plain and occupied the fortress of Aegae (Vergina), setting himself up as king of the Macedonians. Thus the kings were of largely Dorian Greek stock (see PHILIP (1)); they presumably spoke a form of Dorian Greek and their cultural tradition had Greek features."
  2. Cosmopoulos 1992, p. 30.
  3. Grant 1988, p. 259: "It was the descendants of these Dorians [...] who formed the upper class among the Macedonians of subsequent epochs."
  4. Cosmopoulos 1992, "TABLE 2: The Argeiad Kings" (p. 30).
  5. Argive, Oxford Dictionaries.
  6. Hammond 1986, p. 516: "In the early 5th century the royal house of Macedonia, the Temenidae was recognised as Macedonian by the Presidents of the Olympic Games. Their verdict considered themselves to be of Macedonian descent."
  7. Green 2013, p. 103.
  8. According to Pausanias (Description of Greece 9.40.8–9), Caranus set up a trophy after the Argive fashion for a victory against Cisseus: "The Macedonians say that Caranus, king of Macedonia, overcame in battle Cisseus, a chieftain in a bordering country. For his victory Caranus set up a trophy after the Argive fashion, but it is said to have been upset by a lion from Olympus, which then vanished. Caranus, they assert, realized that it was a mistaken policy to incur the undying hatred of the non-Greeks dwelling around, and so, they say, the rule was adopted that no king of Macedonia, neither Caranus himself nor any of his successors, should set up trophies, if they were ever to gain the good-will of their neighbors. This story is confirmed by the fact that Alexander set up no trophies, neither for his victory over Dareius nor for those he won in India."
  9. Hoover 2011, p. 161; Hoover 2016, p. 295.
  10. Lewis & Short 1879, Argīvus.
  11. Cartledge 2011, Chapter 4: Argos, p. 23: "The Late Bronze Age in Greece is also called conventionally 'Mycenaean', as we saw in the last chapter. But it might in principle have been called 'Argive', 'Achaean', or 'Danaan', since the three names that Homer does in fact apply to Greeks collectively were 'Argives', 'Achaeans', and 'Danaans'."
  12. Homer. Iliad, 2.155–175, 4.8; Odyssey, 8.578, 4.6.
  13. 13.0 13.1 Roisman, Joseph (2002). Brill's Companion to Alexander the Great. Leiden/Boston: Brill. pp. 71–75. ISBN 9789004217553. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  14. Errington, Robert Malcolm (1990). A History of Macedonia. Berkeley: University of California Press. pp. 28–29. ISBN 9780520063198. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.