ข้ามไปเนื้อหา

ไมดุม

พิกัด: 29°23′17″N 31°09′25″E / 29.38806°N 31.15694°E / 29.38806; 31.15694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระมิดไมดุม
ทัศนียภาพของพีระมิดไมดุม
พิกัดทางภูมิศาสตร์29°23′17″N 31°09′25″E / 29.38806°N 31.15694°E / 29.38806; 31.15694
ประเภทพีระมิดขั้นบันได
ความสูง65 เมตร (213 ฟุต) (พังทลาย) ซึ่งน่าจะเคยสูง 91.65 เมตร (301 ฟุต) หรือ 175 ศอก
ฐาน144 เมตร (472 ฟุต) หรือ 275 ศอก
ความชัน51°50'35"
ไมดุมตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
ไมดุม
ที่ตั้งในประเทศอียิปต์

มีดุม, มายดุม หรือ ไมดุม (อาหรับ: ميدوم, อียิปต์โบราณ: Mr(y)-Jtmw, แปลว่า 'เป็นที่รักแห่งอาตุม', กรีกโบราณ: Μοι(ε)θυμις)[1] เป็นแหล่งโบราณคดีในบริเวณอียิปต์ล่าง ประกอบด้วยพีระมิดขนาดใหญ่และมาสตาบาที่สร้างด้วยอิฐโคลนหลายหลัง และมีพีระมิดเป็นพีระมิดทรงตรงแห่งแรกของอียิปต์ แต่ได้พังทลายลงบางส่วนในสมัยโบราณ[2] พื้นที่นี้ตั้งอยู่ประมาณ 72 กิโลเมตร (45 ไมล์) ทางตอนใต้ของกรุงไคโรในปัจจุบัน

พีระมิด

[แก้]
โครงสร้างของพีระมิด

พีระมิดที่ไมดุมเชื่อว่าเป็นเพียงพีระมิดแห่งที่สองที่สร้างขึ้นหลังจากพีระมิดแห่งดโจเซอร์[3] และเดิมทีอาจถูกสร้างขึ้นสำหรับฟาโรห์ฮูนิ ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สาม และดำเนินการสร้างต่อในรัชสมัยของฟาโรห์สเนเฟอร์อู เนื่องจากลักษณะที่ผิดปกติ พีระมิดจึงถูกเรียกว่า อัล-ฮะรัม อัล-กัดตะอับ ในภาษาอาหรับอียิปต์ หรือพีระมิดเทียม

ในส่วนการขยายพีระมิดครั้งที่สองได้เปลี่ยนจากการออกแบบพีระมิดขั้นบันไดดั้งเดิมให้เป็นพีระมิดแท้ (ลักษณะพีระมิดอียิปต์ที่คุ้นกันในปัจจุบัน) โดยเติมชั้นด้วยหินปูน ถึงแม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะสอดคล้องกับการออกแบบพีระมิดแท้อื่นๆ แต่พีระมิดที่ไมดุมกลับก็ได้รับผลกระทบจากข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง ประการแรก ชั้นนอกวางอยู่บนทราย ไม่ใช่หินเหมือนชั้นใน ประการที่สอง พีระมิดขั้นบันไดด้านในได้รับการออกแบบเป็นขั้นตอนสุดท้าย ดังนั้นพื้นผิวด้านนอกจึงถูกขัดเงาและพื้นของขั้นบันไดไม่ได้อยู่ในแนวนอน แต่หลุดออกไปด้านนอก ซึ่งได้ทำลายความมั่นคงอย่างรุนแรงและมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการพังทลายของพีระมิดไมดุมในขณะที่มีฝนห่าใหญ่ขณะที่อาคารยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง[4]

ฟรังค์ มงนิเยร์[5] และคนอื่นๆ เชื่อว่าพีระมิดยังไม่พังทลายจนกระทั่งสมัยราชอาณาจักรใหม่ แต่ปรากฏข้อเท็จจริงหลายประการที่ขัดแย้งกับข้อสันนิษฐานดังกล่าว คือ พีระมิดแห่งไมดุมดูเหมือนจะสร้างไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ นับตั้งแต่รัชสมัยของฟาโรห์สเนเฟอร์อูจนถึงราชวงศ์ที่สิบสอง พีระมิดที่สร้างทั้งหมดจะวิหารรับพระบรมศพ ซึ่งไม่ได้ถูกสร้างในพีระมิดที่ไมดุม วิหารบูชาพระบรมศพ ซึ่งถูกพบอยู่ใต้ซากปรักหักพังที่ฐานของพีระมิด ดูเหมือนจะสร้างไม่เสร็จเช่นกัน ผนังยังถูกขัดเงาเพียงบางส่วนเท่านั้น จารึกศิลาสองชิ้นข้างในซึ่งปกติจะปรากฏพระนามของฟาโรห์แต่กลับไม่ปรากฏเลย ห้องฝังพระบรมศพภายในพีระมิดนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยมีผนังดิบและฐานไม้ที่ยังคงอยู่ ซึ่งมักจะถูกถอดออกหลังจากการก่อสร้างแล้ว มาสตาบาบริวารไม่เคยถูกใช้งานหรือสร้างเสร็จเลย และไม่พบการฝังศพตามปกติ ในที่สุด การตรวจสอบครั้งแรกของพีระมิดแห่งไมดุมก็พบทุกสิ่งใต้พื้นผิวของกองเศษหินหรืออิฐที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ หินจากที่กำบังชั้นนอกถูกขโมยไปหลังจากที่ขุดพบเท่านั้น ซึ่งทำให้เป็นไปได้ว่าพีระมิดจะเสียหายอย่างหนักมากกว่าแบบค่อยเป็นค่อยไป การพังทลายของพีระมิดดังกล่าวในรัชสมัยของฟาโรห์สเนเฟอร์อูเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้สำหรับการเปลี่ยนแปลงจากมุมเอียง 54 มาเป็นมุมเอียง 43 องศาของพีระมิดแห่งที่สองของพระองค์ที่ดาห์ชูร์ หรือพีระมิดโค้งงอ[4]

เมื่อการสำรวจของนโปเลียนในปี ค.ศ. 1799 พีระมิดไมดุมเหลือเพียงสามชั้นในปัจจุบัน โดยทั่วไปสันนิษฐานว่าพีระมิดยังคงมีห้าขั้นอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่สิบห้า และค่อยๆ พังทลายลงไปอีก เพราะอัล-มักรีซีอธิบายว่า มันดูเหมือนภูเขาห้าขั้น แต่เม็นเดิลส์โซนได้อ้างว่าอาจจะเป็นผลมาจากการแปลแบบละเอียดๆ และคำพูดของอัล-มักรีซีจะแปลเป็น "ภูเขาห้าชั้น" จะถูกต้องกว่า[4] ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ตรงกับสถานะปัจจุบันของพีระมิดที่มีผนังก่ออิฐแตกต่างกันสี่แถบที่ฐานและขั้นบันไดด้านบน

การสำรวจพีระมิด

[แก้]
แผนที่อียิปต์ล่างโบราณแสดงที่ตั้งของไมดุม

พีระมิดไมดุมถูกขุดโดยจอห์น เช เพอร์ริงในปี ค.ศ.1837, เล็พซิอุส ในปี ค.ศ. 1843 และจากนั้นฟลินเดอรส์ พีทรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งพบว่ามีการตั้งวิหารบูชาพระบรมศพโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ในปี ค.ศ. 1920 ลุดวิก บอร์ชาร์ดท์ได้ศึกษาพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม ตามด้วยอลัน โรว์ในปี ค.ศ. 1928 และตามด้วยอะลี อัลคอลีในปี ค.ศ. 1970

พีระมิดอยู่ในสภาพเป็นซากปรักหักพัง โดยมีโครงสร้างสูง 213 ฟุต (65 เมตร) และทางเข้าอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ โดยทางเข้าอยู่ทางเหนือสูง 66 ฟุต (20 เมตร) เหนือระดับพื้นดินในปัจจุบัน ทางเดินลงที่สูงชันยาว 57 ฟุต (17 เมตร) นำไปสู่ทางเดินในแนวนอน ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินเดิมเล็กน้อย ที่นำไปสู่ห้องฝังศพ ซึ่งห้องดังกล่าวไม่น่าจะถูกใช้สำหรับการฝังศพใดๆ

ฟลินเดอรส์ พีทรีเป็นนักไอยคุปต์วิทยาคนแรกที่สร้างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขนาดและสัดส่วนการออกแบบดั้งเดิมของพีระมิด[6][7] ในรูปแบบพีระมิดเมื่อยุติการสร้างแล้ว พีระมิดมีขนาด 1,100 ศอก 0.523 ม. โดยรอบสูง 175 ศอก ดังนั้นจึงแสดงสัดส่วนเดียวกับมหาพีระมิดที่กิซา และดังนั้นจึงมีสัญลักษณ์รูปวงกลมเหมือนกัน พีทรีได้เขียนในรายงานการขุดค้นปี ค.ศ. 1892[8] ว่า "เราจะเห็นว่ามีทฤษฎีที่คล้ายคลึงกันทุกประการสำหรับมิติของพีระมิดไมดุมและมหาพีระมิด ซึ่งในแต่ละอัตราส่วนโดยประมาณ 7:44 ถูกนำมาใช้ ดังที่ อ้างถึงรัศมีและวงกลม ... "สัดส่วนเหล่าดังกล่าวเท่ากับหน้าด้านนอกทั้งสี่ที่ลาดเอียงเข้าในอย่างแม่นยำที่มุม 51.842 องศาหรือ 51°50'35" ซึ่งชาวอียิปต์โบราณเข้าใจและแสดงออกว่าเป็นความชันที่ 51⁄ 2 ฝ่ามือ[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Peust, Carsten. "Die Toponyme vorarabischen Ursprungs im modernen Ägypten" (PDF). p. 64.
  2. "BBC - History - Ancient History in depth: Development of Pyramids Gallery". www.bbc.co.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-05-29.
  3. Atalay, Bulent Math and the Mona Lisa (Smithsonian Books/HarperCollins, 2006), p. 64
  4. 4.0 4.1 4.2 Mendelssohn, Kurt (1974), The Riddle of the Pyramids, London: Thames & Hudson
  5. Monnier, Franck L'ère des géants; (Éditions de Boccard, Paris 2017) pp. 73–74
  6. Lightbody 2008: 22
  7. Edwards 1979: 269
  8. Petrie 1892: 6
  9. Verner. The Pyramids. Their Archaeology and History. 2003 pp. 462

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Arnold, Dieter (1991). Building in Egypt: Pharaonic Stone Masonry. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-506350-9
  • Jackson, K. & Stamp, J. (2002). Pyramid: Beyond Imagination. Inside the Great Pyramid of Giza. London: BBC Worldwide. ISBN 978-0-563-48803-3