พีระมิดชั้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระมิดชั้น
ซากปรักหักพังของพีระมิดอยู่พ้นจากพื้นทะเลทรายเพียงไม่กี่เมตร ซึ่งอยู่ท่ามกลางกองทรายและก้อนอิฐ
ซากปรักหักหักของพีระมิดชั้น
ยังไม่แน่ว่าฟาโรห์พระองค์ใดเป็นเจ้าของพีระมิด แต่อาจจะเป็นของฟาโรห์บาคา จากราชวงศ์ที่สาม
พิกัดทางภูมิศาสตร์29°55′58″N 31°09′41″E / 29.932820°N 31.161262°E / 29.932820; 31.161262 (Pyramid of Khaba)
การก่อสร้างประมาณ 2630 ปีก่อนคริสตกาล
ประเภทพีระมิดขั้นบันได (เดิมน่าจะเคยมีห้าชั้น)
วัสดุหินธรรมชาติและอิฐโคลน
ความสูงเดินน่าจะสูงประมาณ 42–45 m (138–148 ft) แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 17 m (56 ft)
ฐาน84 m (276 ft)
ความชัน68°

พีระมิดชั้น (เรียกในภาษาอาหรับว่า อัลฮะรัม อัลมิดะว์วัร, อาหรับ: الهرم المدور, แปลว่า 'พีระมิดเนินหิน') เป็นพีระมิดขั้นบันไดที่อยู่ในสภาพปรักหักพังตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 2686 ปีก่อนคริสตกาล จนถึง 2613 ปีก่อนคริสตกาล) และตั้งอยู่ในสุสานหลวงของซาวยัต อัลอัรยัน ไม่ทราบว่าฟาโรห์พระองค์ใดเป็นทรงเป็นเจ้าของพีระมิดแห่งนี้อย่างแน่ชัดและอาจจะเป็นพีระมิดของฟาโรห์คาบา อย่างไรก็ตาม สถาปัตยกรรมพีระมิดนั้นคล้ายคลึงกับพีระมิดที่ถูกฝังของฟาโรห์เซเคมเคต และด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีข้อมูลแน่ชัดถึงราชวงศ์ที่สาม

พีระมิดถูกขุดค้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยทีมงาน 2 ทีมที่รายงานการประมาณที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับขนาดและจำนวนห้องใต้ดิน ไม่พบสิ่งของใดๆ ในระหว่างการขุดค้น และไม่พบร่องรอยของการฝังศพ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีความชัดเจนว่าพีระมิดถูกใช้เป็นที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์หรือถูกทิ้งร้างหลังจากการเสด็จสวรรคตก่อนเวลาอันควรของฟาโรห์

ในช่วงเวลาของการก่อสร้าง พีระมิดถูกล้อมรอบด้วยสุสาน ซึ่งมีมาสตาบาขนาดใหญ่ที่เป็นของขุนนางระดับสูงของรัฐในช่วงราชวงศ์ที่สาม วิหารบูชาพระบรมศพถูกสร้างขึ้นทางด้านตะวันออกของพีระมิด และวิหารรับพระบรมศพอาจอยู่ห่างจากพีระมิดหลายร้อยเมตร ในปัจจุบันนี้ พีระมิดตั้งอยู่ในขอบเขตของเขตทหารที่จำกัด ยกเว้นการขุดค้นภายในพื้นที่ในปัจจุบัน

ผังของพีระมิดชั้น

ประวัติการสำรวจพีระมิด[แก้]

พีระมิดชั้นได้รับการตรวจสอบและสำรวจสภาพแวดล้อมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1839 โดยจอห์น เช เพอร์ริง ไม่นานหลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1848 คาร์ล ริชาร์ด เล็พซีอุส ระบุว่าพีระมิดดังกล่าวเป็นพีระมิดหมายเลข 14 ซึ่งระบุว่าเป็นพีระมิดหมายเลข 14 ในรายชื่อของพีระมิดช่วงแรก ๆ ของเล็พซิอุส[1][2] ประมาณ 40 ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1886 แกสตัน มัสเปโร พยายามค้นหาทางเข้าทางเดินใต้ดินของพีระมิด แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งฌาคส์ เดอ มอร์แกนได้ค้นพบทางเข้าในปี ค.ศ. 1896[3] โดยเดอ มอร์แกนได้ทำการขุดค้นพีระมิด แต่ต้องหยุดลงหลังจากจัการกับบันไดทางลงสองสามขั้นแรกได้[4][5]

จากนั้นมีการสำรวจเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 1900 โดยอเลสซานโดร บาร์ซานติ[3] ซึ่งเป็นผู้เปิดปล่องทางเข้าแนวตั้งที่นำไปสู่ห้องฝังพระบรมศพ เมื่อบาร์ซานติเห็นว่าทางเดินและห้องหลายห้องดูเหมือนยังไม่แล้วเสร็จและทั้งหมดไม่ปรากฏโบราณวัตถุใดเลย จึงถือว่าพีระมิดดังกล่าวไม่เคยถูกใช้งานเลย[3] หลังจากนั้นไม่นาน ในปี ค.ศ. 1910–1911 จอร์จ ไรส์เนอร์และคลาเรนซ์ เอส. ฟิชเชอร์ ได้สำรวจบนพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้ง[6] โดยขุดค้นด้านนอกทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของพีระมิด ตลอดจนสุสานรอบๆ[2][4][5][7] ขนาดของพีรามิดตามที่ประเมินโดย บาร์ซานติ, ไรส์เนอร์ และฟิชเชอร์นั้นแตกต่างกันอย่างมาก และถึงแม้แต่จำนวนของห้องชุดใต้ดินที่ทั้งสามคนรายงานก็ยังขัดแย้งกัน[8] และน่าเสียดายที่พีระมิดอยู่ในเขตทหารที่โดยจำกัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 และด้วยเหตุดังกล่วจึงไม่มีการขุดค้นที่นั่นเลยตั้งแต่งานสำรวจอย่างไม่ละเอียดของไรส์เนอร์และฟิชเชอร์[4][5] ทำให้โครงสร้างใต้พีระมิดยังคงเป็นปริศนา ยิ่งกว่านั้น พีระมิดโดดทับถมโดยทราย ส่งผลการประมาณขนาดของพีระมิดในปัจจุบันนั้นยังเป็นอุปสรรค[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Karl Richard Lepsius: Denkmäler aus Aegypten und Aethiopien, Text 1, p.128, Pyramid no. XIV, available online.
  2. 2.0 2.1 Mark Lehner: Z500 and The Layer Pyramid of Zawiyet-el-Aryan, Excerpt available online เก็บถาวร 2014-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 3.0 3.1 3.2 Alexandre Barsanti: Ouverture de la pyramide de Zaouiet el-Aryân, Annales du service des antiquités de l'Égypte, Vol. 2, 1902, pp. 92-94, available online.
  4. 4.0 4.1 4.2 Rainer Stadelmann: King Huni: His Monuments and His Place in the History of the Old Kingdom. In: Zahi A. Hawass, Janet Richards (Hrsg.): The Archaeology and Art of Ancient Egypt. Essays in Honor of David B. O’Connor. Band II, Conceil Suprême des Antiquités de l’Égypte, Kairo 2007, p. 425–431, available online
  5. 5.0 5.1 5.2 Miroslav Verner: Die Pyramiden. Rowohlt, Wiesbaden 1999, ISBN 3-499-60890-1, p. 174-177.
  6. G.A. Reisner and C.S. Fisher: "The Work of the Harvard University - Museum of Fine Arts Egyptian Expedition" (pyramid of Zawiyet el-Aryan), Bulletin of the Museum of Fine Arts (BMFA) 9, Boston, No. 54 Vol. IX (December 1911), pp. 54-59, available online เก็บถาวร 2014-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Dows Dunham: Zawiyet el-Aryan - The Cemeteries Adjacent To The Layer Pyramid, Museum of Fine Art, Boston 1978, ISBN 978-0-87846-108-0
  8. 8.0 8.1 Aidan Dodson: The Layer Pyramid of Zawiyet El-Aryan Its Layout and Context, Journal of the American Research Center in Egypt, Vol. 37 (2000), pp. 81-90, Available online