จักรพรรดิดาไรอัสที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาริอุสที่ 2
𐎭𐎠𐎼𐎹𐎺𐎢𐏁
ภาพกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 บนสถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ในนักช์-อี รอสตัม
พระราชาธิราชแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด
ครองราชย์423–404 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าซ็อกเดียนุส
ถัดไปอาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2
สวรรคต404 ปีก่อนคริสตกาล
คู่อภิเษกพาริซาทิส
พระราชบุตร
ราชวงศ์อะคีเมนิด
พระราชบิดาอาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1
พระราชมารดาคอสมาร์ติดีนีแห่งบาบิโลน
ศาสนาโซโรอัสเตอร์
ทหารของจักรวรรดิบนสถานที่ฝังพระบรมศพของกษัตริย์ดาริอุสที่ 2
ลำดับของกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ในพระราชพงศาวลีแห่งราชวงศ์อะคีเมนิด

ดาริอุสที่ 2 (เปอร์เซียโบราณ: 𐎭𐎠𐎼𐎹𐎺𐎢𐏁 Dārayavaʰuš; กรีก: Δαρεῖος Dareios) หรือที่รู้จักกันในพระนาม โอคัส (กรีก: Ὦχος Ochos) เป็นพระราชาธิราชแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ระหว่างตั้งแต่ 423 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง 405[1] หรือ 404 ปีก่อนคริสตกาล[2]

กษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1 ซึ่งเสด็จสวรรคตในช่วง 424 ปีก่อนคริสตกาล และพระราชบัลลังก์ของพระองค์ถูกสืบทอดโดยกษัตริย์เซิร์กซีสที่ 2 ผู้เป็นพระราชโอรส หลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือนครึ่ง กษัตริย์เซิร์กซีสที่ 2 ก็ทรงถูกปลงพระชนม์โดยซ็อกเดียนุส ผู้เป็นพระอนุชา ส่วนเจ้าชายโอคัส ซึ่งเป็นพระอนุชานอกสมรสได้มีตำแหน่งเป็นผู้ว่าการมณฑลแห่งเฮอร์เคเนีย ได้ทรงก่อกบฏต่อกษัตริย์ซ็อกเดียนุส และหลังจากการก่อกบฏไม่นานก็พระองค์ก็ทรงสำเร็จโทษกษัตริย์ซ็อกเดียนุส และเจ้าชายอาร์ซิเทส ผู้ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์เองที่ทรงพยายามด้วยการทรยศหักหลังด้วยการก่อกบฏต่อพระองค์ แต่ทรงถูกปราบปรามได้ เจ้าชายโอคัสทรงใช้พระนาม ดาริอุส (ส่วนแหล่งข้อมูลจากกรีกได้เรียกพระองค์ว่า ดาริอุส นอธอส Darius Nothos, "โอรสนอกสมรส") พระนามของกษัตริย์เซิร์กซีสที่ 2 และกษัตริย์ซ็อกเดียนุส ไม่ปรากฏบันทึกแห่งบาบิโลนจำนวนมากที่จากนิปปูร์ โดยที่ปรากฏรัชสมัยของกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ต่อจากรัชสมัยของกษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1[2]

คาดว่าหลุมฝังพระบรมศพของกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 น่าจะอยู่ที่นักช์-อี รอสตัม

นักประวัติศาสตร์ทราบเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับรัชสมัยของกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ซีโนฟอนได้กล่าวถึงการก่อกบฏโดยแคว้นมีดีสในช่วง 409 ปีก่อนคริสตกาล และดูเหมือนว่ากษัตริย์ดาริอุสที่ 2 จะทรงอยู่ในบังคับพระนางพาริซาทิส ผู้เป็นพระมเหสีของพระองค์ค่อนข้างมาก ในข้อความที่ตัดตอนมาจากเซซิอัส ซึ่งมีการบันทึกว่ามีการวางแผนการบางอย่างในราชสำนักฝ่ายในของพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงกลายเป็นส่วนที่ฉาวโฉ่ในแผนการดังกล่าว[2] บันทึกปาปิรุสจากเอลิแฟนไทน์ได้กล่าวถึงกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ว่าเป็นผู้ร่วมสมัยกับมหาปุโรหิตโยฮานันแห่งเอสรา 10:6[3][4]

ข้อพิพาทกับเอเธนส์[แก้]

ตราบเท่าที่อำนาจของเอเธนส์ยังคงอยู่ พระองค์จะทรงไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการของกรีก เมื่อ 413 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์ได้สนับสนุนกลุ่มกบฏอามอร์เกสในคาเรีย กษัตริย์ดาริอุสที่ 2 คงจะไม่ตอบโต้ หากอำนาจของเอเธนส์ไม่ถูกทำลายในปีเดียวกันที่เมืองซีราคิวส์ ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าว กษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ทรงออกคำสั่งให้ข้าหลวงของพระองค์ในเอเชียไมเนอร์อย่างทิสซาเฟอร์เนส และฟาร์นาบาซุส ส่งเครื่องบรรณาการที่ค้างชำระจากเมืองต่างๆ ของกรีกและทรงเริ่มทำสงครามกับเอเธนส์ เพื่อสนับสนุนการทำสงครามกับเอเธนส์ ข้าหลวงแห่งเปอร์เซียได้เข้าเป็นพันธมิตรกับสปาร์ตา ใน 408 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงส่งเจ้าชายไซรัส ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ไปยังเอเชียไมเนอร์ เพื่อทำสงครามด้วยพลังที่ยิ่งใหญ่กว่า

กษัตริย์ดาริอุสที่ 2 อาจจะทรงขับไล่เชื้อพระวงศ์กรีกหลายพระองค์ที่เคยปกครองเมืองต่างๆ ในไอโอเนีย พอซาเนียสได้เขียนว่าพระราชโอรสของเธมิสโทคลีส ซึ่งรวมถึงอาร์คีปโทลิส ผู้ว่าการมณพลแมกนีเซีย "ดูเหมือนจะเดินทางกลับไปเอเธนส์แล้ว" และได้อุทิศภาพวาดของเธมิสโตคลีสในวิหารพาร์เธนอนและสร้างรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ถวายแด่อาร์ทิมิส ลิวโคฟรีเอเน เทพีแห่งแมกนีเซียบนอัครปุระ[5][6][7] ซึ่งทั้งหมดอาจจะกลับมาจากเอเชียไมเนอร์ในวัยชรา หลังจาก 412 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อจักรวรรดิอะคีเมนิดได้เข้าควบคุมเมืองกรีกในเอเชียได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง และบรรดาผู้ปกครองอาจจะถูกขับไล่โดยข้าหลวงแห่งอะคีเมนิดนามว่า ทิสซาเฟอร์เนส ในช่วงระหว่าง 412 ถึง 399 ปีก่อนคริสตกาล[5] ตั้งแต่ 414 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ทรงเริ่มไม่พอพระทัยในอำนาจของเอเธนส์ที่เพิ่มขึ้นในทะเลอีเจียน และให้ทิสซาเฟอร์เนสเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสปาร์ตาเพื่อต่อต้านเอเธนส์ ซึ่งในปี 412 ก่อนคริสตกาล ทำให้เปอร์เซียสามารถพิชิตดินแดนส่วนใหญ่ของไอโอเนียได้[8]

กล่าวกันว่ากษัตริย์ดาริอุสทรงรับการมาเยือนของนักกีฬาชาวกรีกและแชมป์โอลิมปิกนามว่า พอลิดามัสแห่งสโคโทอุสซา ผู้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งด้วยการสังหารคนอมตะสามคนต่อหน้าผู้ปกครองแห่งเปอร์เซีย[9][10] ประติมากรรมที่เป็นตัวแทนของเหตุการณ์ดังกล่าวปรากฏให้เห็นในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณ[11]

กษัตริย์ดาริอุสที่ 2 เสด็จสวรรคตในช่วง 404 ปีก่อนคริสตกาล ในปีที่สิบเก้าแห่งการครองราชย์ของพระองค์ และกษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 2 ก็ขึ้นครองพระราชบัลลังก์ต่อในฐานะกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย[2]

พระราชโอรส-ธิดา[แก้]

ก่อนที่พระองค์จะทรงขึ้นครองราชย์ กษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ทรงอภิเษกสมรสกับธิดาของโกบรีอัส ซึ่งกษัตริย์ดาริอัสที่ 2 กับธิดาของโกบรีอัส มีพระราชโอรสทั้งหมดสี่พระองค์ และพระราชโอรสพระองค์หนึ่งเป็นพระราชบิดาของอาร์ตาบาซาเนส ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งมีเดีย อะโทรปาทีนี ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล[12][13][14]

ประสูติแตพระนางพาริซาทิส[แก้]

และพระราชโอรส-ธิดาที่ไม่ทราบพระนามอีกเจ็ดพระองค์

ประสูติแต่พระมเหสีพระองค์อื่น[แก้]

  • อาร์ทอสเตส
  • ข้าหลวงแห่งมีเดียไม่ทราบพระนามในช่วง 401 ปีก่อนคริสตกาล

อ้างอิง[แก้]

  1. Brill's New Pauly, "Darius".
  2. 2.0 2.1 2.2  ประโยคหรือส่วนของบทความก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติMeyer, Eduard (1911). "Darius" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 7 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 833.
  3. Pritchard, James B. ed., Ancient Near Eastern Texts Relating to the Old Testament, Princeton University Press, third edition with supplement 1969, p. 492
  4. Bezalel Porten (Author), J. J. Farber (Author), C. J. F. Martin (Author), G. Vittmann (Author), The Elephantine Papyri in English (Documenta Et Monumenta Orientis Antiqui, book 22), Koninklijke Brill NV, The Netherlands, 1996, p 125-153.
  5. 5.0 5.1 Harvey, David; Wilkins, John (2002). The Rivals of Aristophanes: Studies in Athenian Old Comedy (ภาษาอังกฤษ). ISD LLC. p. 200. ISBN 9781910589595.
  6. Paus. 1.1.2, 26.4
  7. Habicht, Christian (1998). Pausanias Guide to Ancient Greece (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. p. 5. ISBN 9780520061705.
  8. Smith, William (1867). Dictionary of Greek and Roman biography and mythology. Vol. 3. Boston: Little, Brown. pp. 1154–1156.
  9. Lynch, James (2015). The Ancient Olympiads: 776 BC to 393 AD (ภาษาอังกฤษ). Warwick Press Inc. p. 141. ISBN 9781987944006.[ลิงก์เสีย]
  10. Valavanēs, Panos (2004). Games and sanctuaries in ancient Greece: Olympia, Delphi, Isthmia, Nemea, Athens (ภาษาอังกฤษ). Kapon Editions. p. 433. ISBN 9789607037435.
  11. Ministry of Culture and Sports | Museum of the History of the Olympic Games of antiquity. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2023-06-12.
  12. ARTABAZANES, Encyclopedia Iranica
  13. García Sánchez, M (2005): "La figura del sucer del Gran Rey en la Persia Aqueménida", in V. Troncoso (ed.), Anejos Gerión 9, La figura del sucesor en las monarquías de época helenística.
  14. Hallock, R (1985): "The evidence of the Persepolis Tablets", in Gershevitch (ed.) The Cambridge History of Iran v. 2, p. 591.