สมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์

ราว 1700–1550 ปีก่อนคริสตกาล
สถานการณ์ทางการเมืองในสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์ (ราว 1650 — ราว 1550 ปีก่อนคริสตกาล)
สถานการณ์ทางการเมืองในสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์ (ราว 1650 — ราว 1550 ปีก่อนคริสตกาล)
เมืองหลวง
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
เดมะนิมอียิปต์และฮิกซอส
การปกครองราชาธิปไตย
ฟาโรห์ 
• ราว 1701 – ราว 1677 ปีก่อนคริสตกาล
เมอร์เนเฟอร์เร ไอย์ (พระองค์แรก)
• ราว 1555 – ราว 1550 ปีก่อนคริสตกาล
คาโมส (พระองค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• ประมาณช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์
ราว 1700
• การสิ้นสุดลงของราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์
1550 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์
ราชอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอียิปต์

สมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์ กินเวลาครอบคลุมตั้งแต่ 1700 ถึง 1550 ปีก่อนคริสตกาล[1]: 123   ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณแบ่งออกเป็นราชวงศ์เล็กๆ เป็นครั้งที่สอง ระหว่างช่วงเวลาของการล่มสลายของราชอาณาจักรกลางและการสถาปนาราชอาณาจักรใหม่ สมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์จะช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สิบสามจนถึงถึงราชวงศ์ที่สิบเจ็ด[2] แนวคิดเรื่อง "สมัยระหว่างกลางที่สอง" ได้เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักไอย์คุปต์วิทยาจากสหราชอาณาจักร[3]

เป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮิกซอสจากเอเชียตะวันตกได้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยฟาโรห์ซาลิทิส และมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เมืองอวาริส ซึ่งอ้างอิงจากหนังสือแอจิปเทียกาของมาเนโธ[4]

การล่มสลายของราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์[แก้]

การปกครองราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์สิ้นสุดลงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนคริสตกาลจากการสวรรคของพระนางโซเบคเนเฟรู (1806–1802 ปีก่อนคริสตกาล)[5] เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงไม่มีรัชทายาท ซึ่งทำให้ราชวงศ์ที่สิบสองถึงจุดสิ้นสุดอย่างกะทันหัน และยุคทองของราชอาณาจักรกลางก็มีราชวงศ์ที่สิบสามที่อ่อนแอกว่ามากขึ้นมาปกครองต่อ เพื่อการรักษาอำนาจต่อจากราชวงศ์ที่สิบสองนั้น ราชวงศ์ที่สิบสามได้ปกครองจากเมืองอิทจ์-ทาวี (แปลว่า "ผู้ยึดครองสองแผ่นดิน") และเปลี่ยนไปปกครองที่เมืองธีบส์ ซึ่งตั้งอยู่ไกลไปทางใต้ ซึ่งธีบส์อาจจะเป็นมาเป็นศูนย์กลางอำนาจนับตั้งแต่รัชสมัยของฟาโรห์เมอร์เนเฟอร์เร ไอย์

อ้างอิง[แก้]

  1. Van de Mieroop, Marc (2021). A history of ancient Egypt. Chichester, West Sussex: Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-119-62087-7. OCLC 1200833162.
  2. Von Beckerath 1964, Ryholt 1997
  3. Ilin-Tomich, Alexander. “Second Intermediate Period” (2016)
  4. "LacusCurtius • Manetho's History of Egypt — Book II".
  5. Kim S. B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800–1550 B.C., Museum Tusculanum Press, Carsten Niebuhr Institute Publications 20. 1997, p.185