ฟาโรห์ทีออส
ฟาโรห์เทออส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ดเจดฮอร์, ดเจดเฮอร์, ทาโชส, ทาคอส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เศษจานรองไฟสลักพระนาม เทออส จากพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์เพทรี, กรุงลอนดอน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 361/0–359/8 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ครองราชสมบัติร่วม | สามปีกับฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เนคทาเนโบที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เนคทาเนโบที่ 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | เคเดนิธอิร์บิเนตที่ 2(?)[4] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | เนคทาเนโบที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สามสิบ |
ดเจดฮอร์ หรือที่รู้จักกันดีในพระนามว่า เทออส (กรีกโบราณ: Τέως) หรือทาโชส (กรีกโบราณ: Τάχως) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สามสิบ
พระราชประวัติ
[แก้]พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 และทรงได้สำเร็จราชการร่วมกับพระราชบิดาของพระองค์เป็นระยะเวลา 3 ปี[5] ก่อนที่จะทรงขึ้นครองราชย์ในระหว่าง 361 ถึง 360 ปีก่อนคริสตกาล
การสำรวจทางการทหาร
[แก้]ความสำเร็จของฟาโรห์เนคทาเนโบที่หนึ่งในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ในการต่อต้านกองทัพเปอร์เซียที่บุกรุกในช่วงระหว่าง 374 ถึง 373 ปีก่อนคริสตกาล ได้สนับสนุนให้ฟาโรห์เทออสได้ทรงริเริ่มวางแผนสำรวจทางการทหารเข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์และฟีนิเซีย ซึ่งเป็นดินแดนในการควบคุมโดยเปอร์เซีย พระองค์ได้ทรงใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของจักรวรรดิอะเคเมนิด เนื่องจากการก่อจลาจลในบางเขตปกครองในเอเชียไมเนอร์ พระองค์ยังทรงขอความช่วยเหลือจากทั้งกษัตริย์อาเกซิลาอุสแห่งสปาร์ตา และนายพลชาบรีอุสแห่งเอเธนส์ รวมถึงทหารรับจ้างจำนวน 200 คนจากดินแดนกรีก[6] อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์เทออสทรงต้องกำหนดภาษีใหม่และเวนคืนสิ่งของของวิหารมาเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการสำรวจดังกล่าว ส่งผลให้ทำลายสมดุลอันละเอียดอ่อนที่พระราชบิดาของพระองค์ทรงสร้างขึ้น การกระทำนี้ทำให้ฟาโรห์เทออสทรงไม่เป็นที่ชอบใจอย่างมาก[7][8][9]
การปฏิบัติการต่อต้านชาวเปอร์เซียเริ่มต้นด้วย การที่ชาบรีอุสได้เป็นผู้บัญชาการกองเรือ กษัตริย์อาเกซิลาอุสทรงเป็นผู้บัญชาการทหารรับจ้างชาวกรีก และเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบ พระราชนัดดาของพระองค์ทรงเป็นผู้นำของกองทหารชั้นต่ำ (ดิโอโดรัส ซิคูลัสได้กล่าวเกินจริงอย่างแน่นอน โดยอ้างว่า กองทัพทหารชั้นต่ำดังกล่าวมีจำนวน 80,000 คน[10]) และพระองค์ทรงวางตนเองเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของการเดินทาง (ซึ่งกษัตริย์อาเกซิลาอุสที่อ้างสิทธิ์ในตำแหน่งดังกล่าว) และทรงโปรดให้ เจ้าชายทจาฮาปิมู ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์และเป็นพระบิดาของเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การเดินทางในครั้งได้เดินทางไปยังเมืองฟีนิเซียโดยไม่มีปัญหาใดเป็นพิเศษ[11][9]
การทรยศและการสิ้นสุดรัชสมัย
[แก้]เป็นเศร้าสลดอย่างยิ่งต่อฟาโรห์เทออส ที่เจ้าชายทจาฮาปิมู ผู้เป็นพระอนุชากำลังวางแผนต่อต้านพระองค์ โดยใช้ประโยชน์จากความไม่เป็นที่ชอบใจของฟาโรห์เทออส และด้วยการสนับสนุนของชนชั้นนักบวช เจ้าทจาฮาปิมูได้ทรงโน้มน้าวให้เจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบ ซึ่งเป็นพระโอรสให้ก่อกบฏต่อฟาโรห์เทออส และปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นฟาโรห์ โดยเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบได้ทรงเกลี้ยกล่อมกษัตริย์อาเกซิลาอุสให้เข้าร่วมการก่อกบฏโดยใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกษัตริย์สปาร์ตาและองค์ฟาโรห์ ต่อมาเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบได้รับการยอมรับให้ขึ้นเป็นฟาโรห์ ซึ่งรู้จักกันดีในพระนาม เนคทาเนโบที่ 2 และส่วนฟาโรห์เทออสที่ทรงถูกทรยศนั้นไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องหนีลี้ภัยไปนครซูซา ซึ่งเป็นตั้งของราชสำนักของฝ่ายศัตรู[11][9]
พระชะตากรรมสุดท้ายของฟาโรห์เทออสนั้นทราบมาจากคำจารึกของขุนนางนามว่า เวนเนเฟอร์ ผู้ซึ่งได้เข้าร่วมการเดินทางอันโชคร้ายของพระองค์ในฐานะแพทย์ เวนเนเฟอร์ถูกส่งตัวโดยฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 เพื่อค้นหาตัวฟาโรห์เทออสและให้กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 แห่งเปอร์เซียซึ่งควบคุมตัวพระองค์ไว้ที่นครซูซา เวนเนเฟอร์จึงนำตัวพระองค์กลับมาพร้อมกับล่ามโซ่ฟาโรห์แห่งอียิปต์[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lloyd 1994, p. 358.
- ↑ Depuydt 2006, p. 270.
- ↑ Late Period Dynasty 30: Teos accessed January 22, 2007
- ↑ Dodson & Hilton 2004.
- ↑ Lloyd 1994, p. 341.
- ↑ Lloyd 1994, pp. 348–349.
- ↑ Lloyd 1994, p. 343.
- ↑ 8.0 8.1 Wilkinson 2010, pp. 457–59.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Grimal 1992, pp. 377–378.
- ↑ Lloyd 1994, p. 342.
- ↑ 11.0 11.1 Lloyd 1994, p. 341; 349.
บรรณานุกรม
[แก้]- Depuydt, Leo (2006). "Saite and Persian Egypt, 664 BC - 332 BC". ใน Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David A. (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. Brill, Leiden/Boston. pp. 265–283. ISBN 978 90 04 11385 5.
- Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd. ISBN 0-500-05128-3.
- Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Oxford: Blackwell Books. ISBN 9780631174721.
- Lloyd, Alan B. (1994). "Egypt, 404–322 B.C.". ใน Lewis, D.M.; Boardman, John; Hornblower, Simon; และคณะ (บ.ก.). The Cambridge Ancient History (2nd ed.), vol. VI – The Fourth Century B.C. Cambridge University Press. pp. 337–360. ISBN 0 521 23348 8.
- Wilkinson, Toby (2010). The Rise and Fall of Ancient Egypt. London: Bloomsbury. ISBN 978 1 4088 10026.