ฟาโรห์เมนทูโฮเตปที่ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนบทาวีเร เมนทูโฮเทปที่ 4 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ที่สิบเอ็ด และดูเหมือนว่าพระองค์จะครองราชย์เป็นระยะเวลา 7 ปี ซึ่งพอดีที่ระบุในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินแต่กลับไม่ได้บันทึกเกี่ยวกับพระองค์

จารึกหิน[แก้]

ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 เป็นที่ทราบมาจากจารึกเพียงไม่กี่ชิ้นในวาดิ ฮัมมามัต ที่ได้บันทึกการออกเดินทางไปยังชายฝั่งทะเลแดงและเหมืองหินสำหรับอนุสาวรีย์ของราชวงศ์ หนึ่งในจารึกเหล่านี้ยืนยันว่าพระราชมารดาของพระองค์มีพระนามว่า ไอมิ และดูเหมือนว่าพระองค์จะเป็นพระราชโอรสของผู้ปกครองพระองค์ก่อนหน้า

นอกจากนี้ พระองค์ยังปรากฏในจารึกที่วาดิ เอล-ฮูดิ[5] และยังพบจารึกอื่นอีกที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ในอายน์ ซุคนา[6] ซึ่งสถานที่เหล่านี้เป็นเมืองท่าเทียบเรือตามปกติสำหรับการเดินทางไปยังไซนาย

ถึงแม้ว่าพระองค์จะค่อนข้างมีความคลุมเครือ เนื่องจากพระนามของพระองค์ไม่ได้ปรากฏบนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส แต่จารึกเหล่านั้นได้แสดงให้เห็นถึง การจัดระเบียบและองค์ประกอบของการออกเดินทางขนาดใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์ หัวหน้าคณะเดินทางไปยังวาดิ ฮัมมามัตมีนามว่า อเมเนมเฮต ผู้รั้งตำแหน่งเป็นราชมนตรี ซึ่งได้ออกเดินทางในช่วงปีที่สองแห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 และสันนิษฐานได้ว่าน่าจะบุคคลเดียวกับฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์และเป็นผู้ขึ้นปกครองต่อจากพระองค์ในทันที

เศษของชามที่ทำจากหินชนวนที่พบในลิชต์เหนือปรากฏพระนามอย่างเป็นทางการของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 ซึ่งถูกจารึกไว้ด้านนอก และด้านในมีพระนามของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ผู้ที่ขึ้นมาปกครองต่อจากพระองค์ แต่เนื่องจากจารึกทั้งสองมีรอยบากในรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน ตามที่โดโรเธีย อาร์โนลด์ได้แสดงความเห็นว่า นี่บ่งชี้ว่าฟาโรห์อเมเนมเฮตได้เพิ่มพระนามของพระองค์ลงในชามดังกล่าวที่เดิมมีเพียงพระนามของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4[7] อย่างไรก็ตาม ปีเตอร์ จาโนซิได้เสนอความเห็นว่า จารึกพระนามด้านนอกชามนั้นไม่กล่าวถึงฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 แต่กลับไปกล่าวถึงฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 เสียมากกว่า[8]

การสิ้นสุดของราชวงศ์[แก้]

นักไอยคุปต์วิทยาบางคนได้สันนิษฐานว่า ฟาโรห์อเมเนมเฮตอาจจะยึดพระราชบัลลังก์หรือยึดพระราชอำนาจหลังจากฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 เสด็จสวรรคตโดยไม่มีองค์รัชทายาท ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีหรือบันทึกที่ยืนยันได้ว่า ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 ถูกปลดออกจากราชบัลลังก์โดยราชมนตรีอเมเนมเฮตหรือทรงแต่งตั้งให้ราชมนตรีอเมเนมเฮตให้เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ และไม่พบมัมมี่และที่ฝังพระศพของพระองค์

อ้างอิง[แก้]

  1. Stewart, John (2006). African States and Rulers (Third ed.). London: McFarland. p. 81. ISBN 0-7864-2562-8.
  2. King List (chronological)
  3. Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p72. 2006. ISBN 0-500-28628-0
  4. Mentuhotep IV's titulary on Eglyphica.de
  5. Fakhry, Ahmed (1952). The Inscriptions of the Amethyst Quarries at Wadi el Hudi.
  6. El-Raziq, Mahmoud Abd (2002). Les Inscriptions d'Ayn Southna. ISBN 9782724703221. |page=4a and 4b }}
  7. Dorothea Arnold, Amenemhat I and the Early Twelfth Dynasty at Thebes. Metropolitan Museum Journal, v. 26 (1991)
  8. Jánosi, Peter (2010). "Montuhotep-Nebtawyre and Amenemhat I: Observations on the Early Twelfth Dynasty in Egypt". Metropolitan Museum Journal. 45: 7–20. doi:10.1086/met.45.41558050.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]