จักรพรรดิปรอบุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปรอบุส
จักรพรรดิโรมัน

รูปสลักหินอ่อนขนาดเท่าของจริงในพิพิธภัณฑ์คาปิโตลิเน โรม[1][2]
พระนามเต็ม มาร์กุส เอาเรลิอุส ปรอบุส
อภิไธย อิมแปราตอร์ ไกซาร์ มาร์กุส เอาเรลิอุส ปรอบุส เอากุสตุส
ครองราชย์
สมัย ป. มิถุนายน ค.ศ. 276 – กันยายน ค.ศ. 282[3]
ก่อนหน้า ตากิตุสและฟลอริอานุส
ถัดไป การุส
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ ระหว่าง ค.ศ. 230 ถึง ค.ศ. 235, ซีร์มิอูง ปันนอนิอาอีงแฟริออร์
สวรรคต กันยายน ค.ศ. 282 (พระชนมพรรษา 50 พรรษา)[4], ซีร์มิอูง
พระราชบิดา ดัลมาติอุส[5]
พระบุตร มีพระราชบุตร[4]
หมวดหมู่: จักรพรรดิโรมัน
จักรพรรดิโรมันตะวันตก - จักรพรรดิโรมันตะวันออก

มาร์กุส เอาเรลิอุส ปรอบุส (ละติน: Marcus Aurelius Probus; ช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่าง ค.ศ. 230 ถึง ค.ศ. 235 – กันยายน ค.ศ. 282) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ ค.ศ. 276 จนถึง ค.ศ. 282 จักรพรรดิปรอบุสทรงเป็นแม่ทัพที่แข็งแกร่งและประสบความสำเร็จในการดำเนินการทางทหาร นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้ปกครองที่มีมโนธรรม และในระยะเวลา 6 ปีแห่งการครองราชย์ของพระองค์ พระองค์ทรงรักษาความรุ่งเรืองภายในมณฑลแห่งโรมันได้ในขณะที่ต้องทนต่อการรุกรานซ้ำแล้วซ้ำเล่าของชนเผ่าอนารยชนในเกือบทุกส่วนของชายแดน[6]

ภายหลังจากการขับไล่ศัตรูของจักรวรรดิ จักรพรรดิปรอบุสทรงถูกบังคับให้จัดการกับการก่อกบฏภายในอีกหลายครั้ง แต่พระองค์แสดงให้เห็นถึงความเมตตาผ่อนปรนและทรงไม่ทำการรุนแรงต่อฝ่ายที่พ่ายแพ้ในทุกที่ที่ทรงทำได้[7] ในรัชสมัยของพระองค์ อำนาจตามรัฐธรรมนูญของวุฒิสภาโรมันถูกรักษาไว้อย่างคงที่ และพระองค์เป็นจักรพรรดิที่ทรงได้รับชัยชนะ ซึ่งทรงนำกองทัพของพระองค์ไปสู่ชัยชนะเหนือแม่น้ำไรน์ โดยที่อ้างว่าพระองค์ทรงทำตามการอนุมัติของวุฒิสภา[8]

เมื่อทรงเอาชนะกลุ่มเจอร์แมนิกได้ จักรพรรดิปรอบุสทรงโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ป้อมปราการโบราณของจักรพรรดิฮาดริอานุสขึ้นใหม่ระหว่างแม่น้ำไรน์กับแม่น้ำดานูบ เพื่อป้องกันพื้นที่อะกริ เดกูมาเตส (ทุ่งเดคูมาเทียน)[9] และทรงเรียกร้องขอเอาส่วยของกำลังพลจากผู้พิชิตเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ในมณฑลที่จำนวนประชากรลดลงภายในจักรวรรดิและจัดหาการป้องกันชายแดนอย่างเพียงพอ[10] แม้ว่าพระองค์จะทรงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่จักรพรรดิปรอบุสทรงก็ทรงถูกสังหารในการก่อกบฏของพลทหารในขณะที่อยู่ระหว่างการเตรียมการสำหรับการทำสงครามกับเปอร์เซีย ซึ่งจะดำเนินการทำสงครามดังกล่าวในรัชสมัยของจักรพรรดิการุส ผู้สืบทอดตำแหน่งของพระองค์[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wood, p. 128 (note 70).
  2. Fittschen & Zanker.
  3. Peachin, p. 47.
  4. 4.0 4.1 Jones, Martindale & Morris, p. 736.
  5. Victor, 37:1
  6. Edward Gibbon (1932), The Decline and Fall of the Roman Empire, The Modern Library, ch. XII, p. 284
  7. Gibbon, pp. 289, 290
  8. Gibbon, p. 283
  9. Gibbon, p. 287
  10. Gibbon, p. 288
  11. Gibbon, p. 292

บรรณานุกรม[แก้]

  • Wood, Susan (1987). "Child-Emperors and Heirs to Power in Third-Century Portraiture". ใน Jiří Frel; Arthur Houghton & Marion True (บ.ก.). Ancient Portraits in the J. Paul Getty Museum: Volume 1. Occasional Papers on Antiquities. Vol. 4. Malibu, CA, US: J. Paul Getty Museum. pp. 115–136. ISBN 0-89236-071-2.
  • Gibbon, Edward (1888) History of the Decline and Fall of the Roman Empire
  • Fittschen, Klaus & Zanker, Paul (1985). Katalog der römischen Porträts in den Capitolinischen Museen und den anderen kommunalen Sammlungen der Stadt Rom. 1. Kaiser-und Prinzenbildnisse [Catalogue of Roman Portraits in the Capitoline Museums and other Municipal Museums of the City of Rome] (in German). Mainz: Philipp von Zabern. ISBN 3-8053-0596-6.
  • Peachin, Michael (1990). Roman Imperial Titulature and Chronology, A.D. 235–284. Amsterdam: Gieben. ISBN 90-5063-034-0.
  • Jones, A.H.M.; J.R. Martindale & J. Morris (1971). The Prosopography of the Later Roman Empire Volume 1: A.D. 260–395. Cambridge University Press. ISBN 0-521-07233-6.