ข้ามไปเนื้อหา

สมัยนะกอดะฮ์ที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นะกอดะฮ์ที่ 3
25°54′N 32°43′E / 25.900°N 32.717°E / 25.900; 32.717
ภูมิภาคอียิปต์
สมัยช่วงต้นสมัยสัมฤทธิ์ที่ 1
ช่วงเวลาประมาณ 3300 ปีก่อนคริสตกาล – ประมาณ 2900 ปีก่อนคริสตกาล[1]
แหล่งโบราณคดีสำคัญนะกอดะฮ์, ทาร์คัน, เนเคน
ก่อนหน้านะกอดะฮ์ที่ 2
ถัดไปสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์
แผ่นศิลานาร์เมอร์

สมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 เป็นช่วงสุดท้ายของวัฒนธรรมนะกอดะฮ์ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ มีอายุตั้งแต่ประมาณ 3200 ถึง 3000 ปีก่อนคริสตกาล[2] เป็นช่วงเวลาที่กระบวนการก่อตั้งรัฐ ซึ่งเริ่มขึ้นในสมัยนะกอดะฮ์ที่ 2 ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน โดยมีกษัตริย์ที่ปรากฏพระนามเป็นผู้นำทางการเมืองที่มีอำนาจ สมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 มักถูกเรียกว่าราชวงศ์ที่ศูนย์แห่งอียิปต์ หรือช่วงสมัยกึ่งยุคราชวงศ์ (Protodynastic)[2] เพื่อสะท้อนถึงการมีอยู่ของกษัตริย์ที่เป็นผู้นำของรัฐที่มีอิทธิพล แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว กษัตริย์ที่เกี่ยวข้องจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว พระนามของกษัตริย์เหล่านั้นถูกจารึกไว้ในรูปแบบของเซเรคบนพื้นผิวต่างๆ รวมทั้งเครื่องปั้นดินเผาและหลุมฝังพระบรมศพ

ประวัติศาสตร์สมัยนะกอดะฮ์ที่ 3

[แก้]

ช่วงสมัยกึ่งยุคราชวงศ์ในอียิปต์โบราณมีลักษณะเป็นกระบวนการต่อเนื่องของการรวมกันทางการเมือง ซึ่งถึงจุดสูงสุดในการก่อตัวของรัฐเดียวได้เริ่มต้นช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์ นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวเองที่ภาษาอียิปต์ได้รับการบันทึกเป็นอักษรอียิปต์โบราณเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีที่ชัดเจนเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชาวอียิปต์ในทางใต้ของคานาอัน ในช่วงช่วงสมัยกึ่งยุคราชวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นอาณานิคมหรือท่าเรือขนส่ง

การก่อตัวของรัฐเริ่มขึ้นในยุคนี้และอาจจะเร็วกว่านั้นด้วยซ้ำ นครรัฐเล็ก ๆ หลายแห่งเกิดขึ้นตามลำแม่น้ำไนล์ การพิชิตในหลายศตวรรษส่งผลให้อียิปต์บนเหลือรัฐใหญ่สามรัฐ ได้แก่ ไธนิส, นะกอดะฮ์ และเนเคน ซึ่งรัฐนะกอดะฮ์ที่อยู่ระหว่างรัฐไธนิสและเนเคนก็ล่มสลายเป็นรัฐแรก จากนั้นรัฐไธนิสก็ได้พิชิตอียิปต์ล่าง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเนเคนและรัฐไธนิสนั้นยังคงคลุมเครืออยู่ แต่ทั้งสองรัฐอาจจะผนวกรวมเข้าด้วยกันอย่างสันติ โดยมีราชวงศ์แห่งไธนิสได้ปกครองอียิปต์ทั้งหมด กษัตริย์แห่งไธนิสจะทรงถูกฝังพระบรมศพไว้อไบดอสในสุสานอุมมุลกะอับ

นักไอยคุปต์วิทยาในช่วงแรก เช่น ฟลินเดอร์ส เพตรี ได้เป็นผู้เสนอทฤษฎีการแข่งขันกันระหว่างราชวงศ์ ซึ่งตั้งสมมติฐานว่าหัวหน้าเผ่าและผู้ปกครองอียิปต์กลุ่มแรกมีต้นกำเนิดจากเมโสโปเตเมีย[3] แต่แนวคิดกล่าวกลับไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการสมัยใหม่[4][5][6][7][8]

นักไอยคุปต์วิทยาส่วนใหญ่ถือว่ากษัตริย์นาร์เมอร์ทรงเป็นทั้งกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของช่วงเวลาดังกล่าวและเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ ซึ่งอาจจะมีบางส่วนของอียิปต์บนที่ปกครองก่อนหน้าพระองค์โดยกษัตริย์คร็อกโคไดล์, อิริ-ฮอร์ คา หรือโดยกษัตริย์สกอร์เปียนที่ 2 ซึ่งพระนามดังกล่าวอาจจะหมายถึงหรือได้มาจากเทพธิดาเซอร์เคต โดยเทพธิดาเซอร์เคตเป็นเทพพิทักษ์ของเทพเจ้าอื่นๆ และผู้ปกครอง[9]

สมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 ได้แผ่ขยายไปทั่วอียิปต์และมีลักษณะที่โดดเด่นบางประการ:

  • การใช้เซเรคอย่างต่อเนื่องครั้งแรก
  • สุสานหลวงของราชวงศ์แท้จริงแห่งแรก

จากข้อมูลของกระทรวงโบราณวัตถุแห่งอียิปต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2020 นักโบราณคดีอียิปต์ได้ค้นพบหลุมฝังศพจำนวน 83 หลุมที่มีอายุย้อนไปถึง 3000 ปีก่อนคริสตกาล หรือที่เรียกว่าสมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 ซึ่งค้นพบหม้อดินเผาขนาดเล็กในรูปทรงต่างๆ และเปลือกหอย อุปกรณ์แต่งหน้า อายไลน์เนอร์ และเพชรพลอยที่ถูกใช้ในพิธีฝังศพด้วย[12][13]

แผ่นศิลาเครื่องสำอางตกแต่ง

[แก้]

แผ่นศิลาดังกล่าวที่โดดเด่นหลายชิ้นที่มีอายุถึงสมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 เช่น แผ่นศิลาแห่งนักล่า

โบราณวัตถุอื่นๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hendrickx, Stan. "The relative chronology of the Naqada culture: Problems and possibilities [in:] Spencer, A.J. (ed.), Aspects of Early Egypt. London: British Museum Press, 1996: 36-69" (ภาษาอังกฤษ): 64. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. 2.0 2.1 Shaw 2000, p. 479.
  3. Derry, D.E. (1956). "The Dynastic Race in Egypt". Journal of Egyptian Archaeology. 42: 80–85. doi:10.1177/030751335604200111. S2CID 194596267.
  4. Wilkinson, Toby (1999). Early dynastic Egypt. London: Routledge. pp. 15. ISBN 0415186331.
  5. Yurco, Frank (1996). "An Egyptological Review". (1996). Black Athena revisited. Chapel Hill: University of North Carolina Press. pp. 62–100. ISBN 0807845558.
  6. Zakrzewski, Sonia R. (2007). Population continuity or population change: Formation of the ancient Egyptian state. Highfield, Southampton: Department of Archaeology, University of Southampton.
  7. * Pg33-"Early Nile Valley populations were primarily coextensive with indigenous African populations. Linguistic and archaeological data provide key supporting evidence for a primarily African origin".Shomarka Keita and A.J. Boyce "The Geographic and Origins and Population Relationships of Early Ancient Egyptians". Celenko Theodore (ed). (1996). Egypt in Africa. Indianapolis, Ind.: Indianapolis Museum of Art. pp. 20–33. ISBN 0936260645.
  8. * Pg84-85 "major burial sites of those founding locales of ancient Egypt in the fourth millennium BCE, notably El-Badari as well as Naqada, show no demographic indebtedness to the Levant. They reveal instead a population with cranial and dental features with closest parallels to those of other longtime populations of the surrounding areas of northeastern Africa, such as Nubia and the northern Horn of Africa".Ehret, Christopher (20 June 2023). Ancient Africa: A Global History, to 300 CE (ภาษาอังกฤษ). Princeton: Princeton University Press. pp. 83–86, 167–169. ISBN 978-0-691-24409-9.
  9. Shaw 2000, p. 71.
  10. Meza, A.I. (2007) “Neolithic Boats: Ancient Egypt and the Maltese Islands. A Minoan Connection” J-C. Goyon,C. Cardin (Eds.) Actes Du Neuvième Congrès International Des Égyptologues, p. 1287.
  11. Robinson, D. (2012). "Review of: Anderson, A., et al. (2010), The Global Origins and Development of Seafaring". International Journal of Nautical Archaeology. 41 (1): 206–208. doi:10.1111/j.1095-9270.2011.00333_2.x. S2CID 162515460.
  12. Geggel, Laura (21 February 2020). "Dozens of ancient Egyptian graves found with rare clay coffins". livescience.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  13. "الكشف عن 83 مقبرة أثرية بمنطقة آثار كوم الخلجان بمحافظة الدقهلية". اليوم السابع. 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  14. Brovarski, Edward. "REFLECTIONS ON THE BATTLEFIELD AND LIBYAN BOOTY PALETTES" (ภาษาอังกฤษ): 89. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

บรรณานุกรม

[แก้]