ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์

664 ปีก่อนคริสตกาล–525 ปีก่อนคริสตกาล
รูปสลักฟาโรห์จากราชวงศ์แห่งซาอิส
รูปสลักฟาโรห์จากราชวงศ์แห่งซาอิส
เมืองหลวงซาอิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ฟาโรห์ 
• 664–610 ปีก่อนคริสตกาล
ซามาเจิกที่ 1 (พระองค์แรก)
• 526–525 ปีก่อนคริสตกาล
ซามาเจิกที่ 1 (พระองค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
664 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
525 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์ของฟาโรห์พื้นเมืองสุดท้ายที่ปกครองอียิปต์ก่อนการพิชิตของชาวเปอร์เซียในปี 525 ปีก่อนคริสตกาล (ถึงแม้ว่าจะมีราชวงศ์อื่นตามมาก็ตาม) ช่วงเวลาของราชวงศ์ที่ยี่สิบหกเรืองอำนาจ (ระหว่าง 664–525 ปีก่อนคริสตกาล) เรียกอีกอย่างว่า สมัยซาอิส หลังจากศูนย์กลางการปกครองย้ายมาอยู่ที่เมืองซาอิส และเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยปลายของอียิปต์โบราณ[1]

ประวัติราชวงศ์

[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกอาจจะสืบอำนาจต่อมาจากราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์ โดยฟาโรห์พซัมเตกที่ 1 อาจจะทรงเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากฟาโรห์บาเคนราเนฟ

หลังจากการพิชิตอียิปต์ของอัสซีเรียโดยจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ ในรัชสมัยของฟาโรห์ทาฮาร์กาและฟาโรห์ทันต์อมานิ และการล่มสลายของราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ในเวลาต่อมา ฟาโรห์พซัมเตกที่ 1 ทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นฟาโรห์เพียงพระองค์เดียวที่ทรงปกครองอียิปต์ทั้งหมด พระองค์ทรงสร้างพันธมิตรกับกษัตริย์กิเกสแห่งลิเดีย ซึ่งส่งทหารรับจ้างจากคาเรียและกรีกโบราณมาให้พระองค์ โดยพระองค์ทรงใช้ในการรวมอียิปต์ทั้งหมดภายใต้การปกครองของพระองค์

จากการปล้นเมืองนีนะเวห์ใน 612 ปีก่อนคริสตกาล และการล่มสลายของจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ ทั้งฟาโรห์พซัมเตกที่ 1 และผู้สืบทอดของพระองค์ทรงพยายามที่จะแผ่อำนาจของอียิปต์อีกครั้งในบริเวณตะวันออกใกล้ แต่ก็ล่าถอยไปโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ และด้วยความช่วยเหลือจากทหารรับจ้างชาวกรีก ฟาโรห์เอพรีสสามารถยับยั้งความพยายามของชาวบาบิโลนที่จะพิชิตอียิปต์ได้

ในที่สุด จักรวรรดิเปอร์เซียสามารถรุกรานอียิปต์ในช่วง 525 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ทรงจับกุมและสำเร็จโทษฟาโรห์พซัมเตหกที่ 3 ภายหลังจากการพิชิตอียิปต์ของราชวงศ์อะคีเมนีด และทรงสถาปนาให้ราชวงศ์อะเคมีนีดขึ้นเป็นราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

ด้านทางโบราณคดี

[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2020 ภารกิจทางโบราณคดีของอียิปต์ - สเปนที่นำโดยเอสเธอร์ ปอนเซ ได้เปิดเผยสุสานที่ไม่เหมือนสุสานอื่น ซึ่งประกอบด้วยห้องหนึ่งที่สร้างด้วยหินปูนเคลือบที่มีอายุย้อนไปถึงราชวงศ์ที่ยี่สิบหก (หรือที่เรียกว่า สมัยอัล-ซาวิ) ที่บริเวณเมืองอ็อกซิรินคัสโบราณ นักโบราณคดียังได้ค้นพบเหรียญทองแดง ตราประทับดินเหนียว หลุมฝังศพของชาวโรมัน และไม้กางเขนขนาดเล็ก[2][3][4] เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2020 อียิปต์เปิดตัวโลงศพของนักบวชและเสมียน 59 ศพจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ ซึ่งมีอายุเกือบ 2,500 ปีที่แล้ว[5]

ศิลปะช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบหก

[แก้]

รายพระนามฟาโรห์

[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์ โดยมาเนโธเรียงลำดับผู้ปกครองของราชวงศ์โดยเริ่มต้นด้วย:

  • อัมเมริส ชาวนิวเบีย, ปกครองเป็นระยะเวลา 12 (หรือ 18) ปี
  • สเตฟินาเตส, ปกครองเป็นระยะเวลา 7 ปี
  • เนเคปซอส, ปกครองเป็นระยะเวลา 6 ปี
  • เนโค, ปกครองเป็นระยะเวลา 8 ปี

เมื่อกษัตริย์ชาบากาแห่งนิวเบียทรงเอาชนะฟาโรห์บาเคนราเนฟ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เทฟนัคท์ได้ พระองค์ทรงน่าจะแต่งตั้งผู้บัญชาการชาวนิเบียรั้งขึ้นเป็นเจ้าเมืองซาอิส ซึ่งอาจจะเป็นบุรุษนามว่า อัมเมริส ส่วนสเตฟินาเตส อาจจะเป็นผู้สิบเชื้อสายมาจากฟาโรห์บาเคนเรเนฟ บางครั้งทรงเรียกพระองค์ว่า ฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2 ในวรรณกรรม ผู้ปกครองนามว่า เนเคปซอส ถูกระบุถึงผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า เนคาอูบา (ระหว่าง 678–672 ปีก่อนคริสตกาล) ส่วน เนโคของมาเนโธนั้น ก็คือ ฟาโรห์เนโคที่ 1(ระหว่าง 672–664 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมาเนโธระบุว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลา 8 ปี[7] ฟาโรห์เนโคที่ 1 ทรงถูกสังหารระหว่างความขัดแย้งกับกษัตริย์ทันต์อมานิแห่งนิวเบีย โดยฟาโรห์พซัมเตกที่ 1 ทรงลี้ภัยไปยังนครนีนะเวห์ ซึ่งเมืองหลวงของจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ และนิวัติกลับไปยังอียิปต์ เมื่อกษัตริย์อาชูร์บานิบัลทรงสามารถมีชัยเหนือกษัตริย์ทันต์อมานิได้ และทรงขับไล่กลับไปทางใต้[1] นักวิชาการได้เริ่มนับช่วงเวลาของราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ในรัชสมัยของฟาโรห์พซัมเตกที่ 1[1][7]

ส่วนเซกตัส จูเลียส แอฟริกานัส กล่าวไว้ในบทสรุปของมาเนโธว่า ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกมีฟาโรห์จำนวน 9 พระองค์ เริ่มต้นด้วย "สเตฟินาเตส" (ฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2) และสิ้นสุดที่ฟาโรห์พซัมเตกที่ 3 และแอฟริกานัสยังตั้งบันทึกด้วยว่า ฟาโรห์พซัมเตกที่ 1 และฟาโรห์เนโคที่ 1 ทรงปกครองเป็นเวลา 54 และ 8 ปีตามลำดับ

พระนาม รูปภาพ รัชสมัย พระนามครองราชย์ สถานที่ฝังพระบรมศะ พระมเหสี คำอธิบาย
ซามาเจิกที่ 1พซัมเมติคัสที่ 1 664–610 ปีก่อนคริสตกาล วาห์อิบเร ซาอิส เมอิเทนเวสเคต ทรงรวมร่วมดินแดนอียิปต์เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง และยุติการปกครองของชาวนิวเบียเหนืออียิปต์บน โดยมาเนโธระบุว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 54 ปี
เนโคที่ 2
610–595 ปีก่อนคริสตกาล เวห์เอมอิบเร เคเดบนิธอิร์บิเนตที่ 1 ทรงเป็นฟาโรห์ที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดในหนังสือหลายเล่มของพระคัมภีร์ไบเบิล
ซามาเจิกที่ 2พซัมเมติคัสที่ 2
Statue of Psamtitk II. Louvre Museum
Statue of Psamtitk II. Louvre Museum
595–589 ปีก่อนคริสตกาล เนเฟอร์อิบเร ทาคูอิต
วาห์อิบเร ฮาอาอิบเร

(อพริส)

589–570 ปีก่อนคริสตกาล ฮาอาอิบเร ทรงถูกปลดลงจากพระราชบัลลังก์และทนงถูกเนรเทศโดยฟาโรห์อาโมสที่ 2 และกลับมายังอียิปต์โดยมีกองทัพบาบิโลนเป็นผู้นำ แต่พ่ายแพ้และอาจจะทรงถูกสังหาร โดยมาเนโธระบุว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลา 19 ปี
อมาซิสที่ 2อาโมสที่ 2 570–526 ปีก่อนคริสตกาล คเนม-อิบ-เร ซาอิส เทนต์เคตานัคทูบาสเทราอู เฮโรโดตัสอ้างว่า เมื่อกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ทรงรุกรานอียิปต์ได้แล้วนั้น โดยตระหนักว่าพระองค์ไม่สามารถแก้แค้นให้กับการกระทำที่ผิดและกลอุบายครั้งก่อนของฟาโรห์อาโมสที่ 2 ได้ พระองค์ขุดร่างขึ้น ทำลาย และเผาซากมัมมี่ที่เหลืออยู่
ซามาเจิกที่ 3พซัมเมติคัสที่ 3
526–525 ปีก่อนคริสตกาล อังค์คาเอนเร ทรงปกครองเพียง 6 เดือนตามคำกล่าวของเฮโรโดตัส ก่อนหน้าการรุกรานของเปอร์เซียซึ่งนำโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2

เล้นเวลาของราชวงศ์ที่ยี่สิบหก

[แก้]
Psamtik IIIAmasis IIWahibre HaaibrePsamtik IINecho IIPsamtik I

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Aidan Dodson, Dyan Hilton. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. The American University in Cairo Press, London 2004
  2. Mahmoud, Rasha (2020-05-26). "Egypt makes major archaeological discovery amid coronavirus crisis". Al-Monitor (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-09.
  3. "Unique cemetery dating back to el-Sawi era discovered in Egypt amid coronavirus crisis". Zee News (ภาษาอังกฤษ). 2020-05-28. สืบค้นเมื่อ 2020-09-09.
  4. "StackPath". dailynewsegypt.com. สืบค้นเมื่อ 2020-09-09.
  5. "Egypt unveils 59 ancient coffins in major archaeological discovery". Reuters. October 3, 2020. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
  6. "Metropolitan Museum of Art". www.metmuseum.org.
  7. 7.0 7.1 Kitchen, Kenneth A. The Third Intermediate Period in Egypt, 1100-650 B.C. (Book & Supplement) Aris & Phillips. 1986 ISBN 978-0-85668-298-8

บรรณานุกรม

[แก้]