ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์

ราว 2613 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 2494 ปีก่อนคริสตกาล
พีระมิดโค้งงอของฟาโรห์สเนเฟรูที่ดาห์ชูร์, การทดลองการสร้างพีระมิดที่แท้จริงเบื้องต้น
พีระมิดโค้งงอของฟาโรห์สเนเฟรูที่ดาห์ชูร์, การทดลองการสร้างพีระมิดที่แท้จริงเบื้องต้น
เมืองหลวงเมมฟิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
ราว 2613 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ราว 2494 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์ในช่วง "ยุคทอง" ของสมัยราชอาณาจักรเก่าของอียิปต์โบราณ ราชวงศ์ที่สี่มีอำนาจขึ้นมมาปกครองนับตั้งแต่ ราว 2613 ถึง 2494 ปีก่อนคริสตกาล[1] นับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองรวมถึงช่วงเวลาที่มีการบันทึกการค้ากับดินแดนอื่น ๆ

ราชวงศ์ที่สี่ขึ้นสู่จุดสูงสุดของช่วงเวลาแห่งการสร้างพีระมิด ความสงบสุขจากราชวงศ์ที่สามทำให้ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์ที่สี่ทรงมีเวลาว่างในการสำรวจศิลปะและวัฒนธรรมมากขึ้น การทดลองสร้างของฟาโรห์สเนเฟรู ได้นำไปสู่วิวัฒนาการจากพีระมิดขั้นบันไดรูปแบบมาสตาบาซ้อนชั้น ไปสู่พีระมิดด้านเรียบที่ “แท้จริง” เช่น หมู่พีระมิดบนที่ราบสูงกิซา ไม่มีช่วงเวลาอื่นใดในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ที่เทียบเท่ากับความสำเร็จทางสถาปัตยกรรมของราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์ได้[2] ผู้ปกครองแต่ละพระองค์ของราชวงศ์นี้ (ยกเว้นฟาโรห์เชปเซสคาฟ ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์) ได้ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดอย่างน้อยหนึ่งแห่งเพื่อใช้เป็นสุสานหรืออนุสาวรีย์[ต้องการอ้างอิง]

ราชวงศ์ที่สี่เป็นราชวงศ์ลำดับที่สองในสี่ราชวงศ์ที่จัดรวมกันอยู่ในช่วงสมัย "ราชอาณาจักรเก่า" โดยที่ฟาโรห์สเนเฟรู ซึ่งทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สี่ ทรงได้ครอบครองดินแดนตั้งแต่ลิเบียโบราณทางตะวันตกไปจนถึงคาบสมุทรซีนายทางตะวันออก ไปจนถึงนิวเบียในทางใต้ เป็นยุคที่ประสบความสำเร็จ และยุคนี้ขึ้นชื่อเรื่องความก้าวหน้าและการปกครองที่เข้มแข็ง ดังที่เห็นได้จากการสร้างพีระมิดและอนุสรณ์สถานอื่นๆ

ความรู้เกี่ยวกับสมัยราชอาณาจักรเก่า ส่วนใหญ่มาจากสิ่งก่อสร้างและวัตถุโบราณที่ค้นพบในสุสานทะเลทรายแห่งกิซ่า

ราชวงศ์ที่สาม, ราชวงศ์ที่สี่, ราชวงศ์ที่ห้า และราชวงศ์ที่หก เป็นกลุ่มราชวงศ์ที่ปกครองอยู่ในช่วงเวลาของสมัยราชอาณาจักรเก่า ซึ่งมักจะเรียกว่าเป็น ยุคแห่งพีระมิด เมืองหลวงในเวลาดังกล่าวคือเมืองเมมฟิส

รายนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สี่

[แก้]
ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์
พระนาม พระนามฮอรัส ช่วงเวลาที่ทรงครองราชย์ พีระมิด พระมเหสี
สเนเฟรู เนบมา'อัต 2613–2589 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดแดง

พีระมิดโค้งงอ พีระมิดที่ไมดุม

เฮเทปเฮอร์เอสที่ 1
คูฟู"คีออปส์" เมดเจดอู 2589–2566 ปีก่อนคริสตกาล มหาพีระมิดแห่งกิซา เมริตอิเตสที่ 1เฮนุตเซน
ดเจดเอฟเร เคเปอร์ 2566–2558 ปีก่อนคริสตกาล ? พีระมิดแห่งดเจดเอฟเร เฮเทปเฮอร์เอสที่ 2เคนท์เอตคา
คาฟเร ยูเซอร์อิบ 2558–2532 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดแห่งคาฟเร เมอร์เอสอังค์ที่ 3

คาร์เมอร์เออร์เนบติที่ 1 เฮเคนูเฮดเจต เพอร์เซเนต

บิเคอร์ริส(อาจจะเป็นฟาโรห์บาคาหรือฟาโรห์บาอูฟรา) ราว 2532 ปีก่อนคริสตกาล? พีระมิดทางด้านเหนือที่ยังสร้างไม่เสร็จที่ซาวเยต อัล อัรยัน?
เมนคาอูเร คาเคต 2532–2503 ปีก่อนคริสตกาล ? พีระมิดแห่งเมนคาอูเร คาร์เมอร์เออร์เนบติที่ 2
เชปเซสคาฟ เชปเซสเคต 2503–2496 ปีก่อนคริสตกาล ? มัสตาบัต อัล-ฟิร์'อาอูน บูเนเฟอร์

เคนท์คาอุสที่ 1?

ดเจดเอฟฟทาห์(การดำรงอยู่เป็นที่ถกเถียงกัน) 2496-2494 ปีก่อนคริสตกาล? เคนท์คาอุสที่ 1?

ประวัติราชวงศ์

[แก้]
พีระมิดแดงแห่งสเนเฟรูที่ดาห์ชูร์ นับเป็นความพยายามครั้งแรกของอียิปต์ในการสร้างพีระมิดด้านเรียบที่ "แท้จริง"

ฟาโรห์สเนเฟรู

[แก้]

ฟาโรห์สเนเฟรูทรงได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้นำแห่งความงาม" "เจ้าแห่งความยุติธรรม" และ "ผู้ปกครองแม่น้ำไนล์ล่างและบน" ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สี่ พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลในอียิปต์กลางที่อาศัยอยู่ใกล้กับเมืองเฮอร์โมโพลิส และน่าจะทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์อย่างเป็นไปได้มากที่สุดด้วยการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงรัชทายาท ซึ่งยังมีการถกเถียงกันว่าพระราชบิดาของพระองค์คือใคร โดยมักจะสันนิษฐานว่าคือฟาโรห์ฮูนิ แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ เนื่องจากความแตกแยกของราชวงศ์ กับพระราชมารดาของพระองค์พระนามว่า เมอร์เอสอังค์ที่ 1 ซึ่งเป็นเป็นพระมเหสีรองหรือพระสนมของฟาโรห์ฮูนิ

อียิปต์ในสามพันปีก่อนคริสตกาลนั้นเป็นดินแดนแห่งความสงบและอุดมสมบูรณ์ ชนชั้นสูงมักจะกินเป็ดและห่านอ้วนๆ และสวมผ้าลินินสีขาวเนื้อดี

จนกระทั่งรัชสมัยของพระองค์ ฟาโรห์อียิปต์ถูกยกย่องว่าเป็นร่างอวตารของเทพฮอรัสบนโลกมนุษย์ โดยทรงได้รับการบูชาอย่างเทพเจ้าเฉพาะในช่วงหลังสวรรคตเท่านั้น แต่ฟาโรห์สเนเฟรูทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ทรงประกาศว่าพระองค์เป็นอวตารแห่งเทพรา ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งฟาโรห์คูฟูก็ทรงเดินตามรอยพระราชบิดาของพระองค์ โดยใช้พระนามว่า บุตรแห่งเทพดวงอาทิตย์

โดยรวมแล้ว อียิปต์ถูกปกครองโดยศูนย์กลางอำนาจสองแห่ง ได้แก่ อำนาจทางกฎหมายและอำนาจตามประเพณี อำนาจทางกฎหมายที่จัดตั้งขึ้นปกครองโดยฟาโรห์ ไม่ใช่ประชาชนโดยตรง แต่ผ่านทางราชมนตรีและขุนนาง อำนาจตามประเพณีมาจากแนวคิดที่ว่าเทพเจ้าทรงประทานสิทธิอันสูงส่งแก่ฟาโรห์ในการปกครองตามความประสงค์ หัวใจสำคัญคือคณะรัฐบาลอียิปต์สมัยราชวงศ์ที่สี่ได้รับการจัดระเบียบเพื่อให้มีเพียงฟาโรห์เท่านั้นที่สามารถสั่งการอำนาจตามประเพณีได้

พีระมิดโค้งงอเป็นความพยายามครั้งแรกของฟาโรห์สเนเฟรูในการสร้างโครงสร้างพีระมิดที่สมบูรณ์แบบ แต่ในที่สุดมันก็ลาดเอียงและโค้งงอเป็นมุมที่ต่ำกว่า ทำให้โครงสร้างพีระมิดดูบิดเบี้ยว พีระมิดแดงของพระองค์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นพีระมิดที่แท้จริงตัวแรก และได้รับชื่อจากโทนสีแดงในหินปูนที่ใช้ พีระมิดแดงถือว่าเป็นพีระมิดแห่งแรกในช่วงประมาณ 150 ปีหลังจากพีระมิดที่ฟาโรห์ดโจเซอร์ทรงโปรดให้สร้างขึ้น[3] พีระมิดแดงเป็นพีระมิดแรกที่ได้รับรากฐานที่มั่นคงเพื่อให้มั่นคงเพียงพอสำหรับโครงสร้างอาคารที่สูงขึ้น พระองค์ยังกล่าวกันว่าเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างพีระมิดหลายแห่งที่สร้างขึ้นในไซลา พระองค์ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดทั้งหมดสามแห่ง แต่มีประวัติที่ชี้ไปที่พีระมิดหนึ่งในสี่แห่ง แม้ว่าพระองค์จะไม่ได้สร้างพีระมิดใดๆ ที่กิซ่า แต่พระก็เป็นที่รู้จักในฐานะฟาโรห์ที่เคลื่อนย้ายหินและอิฐมากที่สุด การเดินทางทางการเมืองของฟาโรห์สเนเฟรูจำนวนหลายครั้งไปยังดินแดนอื่น ๆ นั้น เพื่อรักษาสองสิ่ง คือ กำลังแรงงานจำนวนมากและการเข้าถึงคลังวัสดุขนาดใหญ่ พระองค์ทรงสั่งให้เดินทางไปยังนิวเบียและลิเบียเพื่อเข้าถึงทรัพยากรดังกล่าว การรุกรานของพระองค์ในพื้นที่เหล่านี้ ทำให้ฟาโรห์สเนเฟรูทรงสามารถจัดหาแรงงานจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เป็นการรุกรานขนาดใหญ่มากจนสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อดินแดนที่ถูกโจมตี นอกจากนี้ พระองค์ทรงยังต้องการปศุสัตว์และแหล่งอาหารอื่น ๆ เพื่อมอบให้กับผู้คนที่สร้างพีระมิดของพระองค์ ในตอนท้ายของความพยายามทางทหาร พระองค์ทรงสามารถจับเชลยได้ 11,000 คน และหัวปศุสัตว์อีก 13,100 หัว[ต้องการอ้างอิง]

ฟาโรห์คูฟู

[แก้]
ฟาโรห์คูฟูทรงโปรดให้สร้างมหาพีระมิดแห่งกิซา

ฟาโรห์คูฟูหรือที่ชาวกรีกรู้จักในพระนาม คีออปส์ และเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์สเนเฟรู ถึงแม้ว่าจะไม่แน่ชัดว่าพระองค์จะทรงเป็นพระราชโอรสทางสายพระโลหิตของฟาโรห์สเนเฟรูหรือไม่ แต่ก็ทรงเป็นฟาโรห์ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงยังเป็นที่รู้จักดีในสื่อปัจจุบัน ทั้งในภาพยนตร์ นวนิยาย และรายการโทรทัศน์ ชื่อเสียงของพระองค์มาจากพีระมิดของพระองค์บนที่ราบสูงทางตะวันออกเฉียงเหนือของกิซา ซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ วิหารบูชาพระบรมศพของพระองค์ถูกสร้างขึ้นทางตอนเหนือสุดของพีระมิด ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้อีกต่อไป เนื่องจากถูกปล้นสะดมโดยโจรปล้นหลุมฝังศพ มีเพียงภาพนูนต่ำสามมิติเท่านั้นที่ได้รับการซ่อมแซมและคงอยู่ถึงในปัจจุบัน รวมถึงรูปสลักครึ่งตัวที่ทำจากหินปูนและรูปปั้นดินเผาจำนวนมาก กิจกรรมในรัชสมัยของฟาโรห์คูฟูทั้งในและนอกดินแดนอียิปต์นั้นไม่ค่อยถูกบันทึกไว้ (ยกเว้นงานสถาปัตยกรรมของพระองค์) และชาวกรีกโบราณก็รู้สึกดูดีจนเกินความเป็นจริงไปมาก ชาวกรีกเหล่านี้รู้สึกว่าฟาโรห์คูฟูทรงเป็นคนชั่วร้ายที่ทำให้เทพเจ้าขุ่นเคืองและบังคับให้ราษฎรไปเป็นทาส[4] เชื่อกันว่าฟาโรห์คูฟูในฐานะพระราชโอรสของฟาโรห์สเนเฟรูทรงเป็นคนผิดทำนองคลองธรรมและทรงไม่คู่ควรกับพระราชบัลลังก์ แม้ว่าพระองค์จะเป็นพระราชโอรสแท้ๆ ของฟาโรห์สเนเฟรู แต่พระองค์ก็ทรงทำได้น้อยมากในการขยายดินแดนอียิปต์และทรงล้มเหลวในการเดินตามรอยเท้าของพระราชบิดา มีเพียงไม่กี่บันทึกที่ระบุว่าพระองค์มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองใดๆ นักประวัติศาสตร์คาดเดาได้ดีที่สุดว่ามีหลักฐานการก่อสร้างท่าเรือบนชายฝั่งทะเลแดงที่ขุดค้นพบโดยจอห์น การ์ดเนอร์ วิลกินสันและเจมส์ เบอร์ตันในปี ค.ศ. 1823

ฟาโรห์ดเจดเอฟเร

[แก้]
สฟิงซ์หินปูนทาสีของเฮเทปเฮอร์เอสที่ 2 ซึ่งอาจเป็นสฟิงซ์ตัวแรก พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในสมาชิกราชวงศ์ที่สี่ที่มีอายุยืนยาวที่สุด พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์คูฟู และเป็นพระมเหสีในฟาโรห์เจดีเฟร และทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในรัชสมัยของฟาโรห์เชปซีสคาฟ

ฟาโรห์ดเจดเอฟเรทรงได้รับการกำหนดจากนักประวัติศาสตร์ด้วยที่พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลาแปดปี ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวข้องรวมถึงทายาทที่คลุมเครือของพระองค์ และเป็นไปได้ว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสหรือเป็นพระอนุชาของฟาโรห์คูฟู ซึ่งมีความคิดเห็นว่าอย่างกว้างขวางว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสของพระมเหสีรอง ผู้ซึ่งทรงสังหารองค์รัชทายาทโดยชอบธรรมและเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของฟาโรห์ดเจดเอฟเรพระนามว่า มกุฎราชกุมารคาวาบ ฟาโรห์ดเจดเอฟเรทรงเลือกที่จะสร้างพีระมิดของพระองค์ห่างจากกิซ่าไปทางเหนือหลายกิโลเมตร ซึ่งเกิดการคาดเดาว่ามีความบาดหมางในะรัราชวงศ์ที่ทำให้ฟาโรห์ดเจดเอฟเรต้องการอยู่ห่างจากที่ฝังพระบรมศพศพของฟาโรห์คูฟู ข้อสรุปที่น่ายินดีกว่านั้นคือฟาโรห์ดเจดเอฟเรทรงเลือกที่จะฝังพระบรมศพไว้ใกล้กับเมืองยูนู ซึ่งเป็นศูนย์กลางของลัทธิเทพรา พีระมิดของพระองค์ทรงยังมีรูปสลักของพระมเหสีของพระองค์พระนามว่า เฮเทปเฮอร์เอสที่ 2 ในรูปแบบของสฟิงซ์ พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์คูฟู และเป็นพระชายาของเจ้าชายคาวาบ บางครั้งก็มีการเสนอว่าเป็นสฟิงซ์ที่แท้จริงตัวแรก ถึงแม้ว่าจะมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับสฟิงซ์ที่กิซาซึ่งกล่าวว่าเป็นผลงานของฟาโรห์คาฟเร พระองค์ทรงกลายเป็นสมาชิกแห่งราชวงศ์ที่ทรงมีพระชนมายุยาวที่สุดในราชวงศ์จนถึงรัชสมัยของฟาโรห์เชปเซสคาฟ

ฟาโรห์คาฟเร

[แก้]

ฟาโรห์คาฟเร เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์คูฟู ซึ่งทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ดเจดเอฟเร ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ หลังจากครองราชย์ได้ไม่นาน พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างพีระมิดใกล้กับพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งมาลักษณะคล้ายกันและมีขนาดใหญ่กว่าเกือบเท่าตัว ที่ด้านหน้าของทางเดินพีระมิดมีมหาสฟิงซ์ ซึ่งกล่าวกันว่ามีลักษณะตามพระองค์ ยังมีการถกเถียงกันว่าสฟิงซ์ของพระองค์จะถูกสร้างขึ้นก่อนรัชสมัยฟาโรห์ดเจดเอฟเรหรือไม่[5] มหาสฟิงซ์แห่งคาฟเรกลายเป็นที่รู้จักและใกล้ชิดกับราษฎรของพระองค์มากขึ้น ทำให้ยากต่อการตัดสินว่าสิ่งไหนสร้างขึ้นก่อน เนื่องจากการจดบันทึกที่มีอคติ

ฟาโรห์เมนคาอูเรและพระนางคาเมอร์เออร์เนบติที่ 2 ผู้เป็นพระขนิษบาและพระมเหสี

ฟาโรห์เมนคาอูเร

[แก้]

เช่นเดียวกับฟาโรห์หลายพระองค์ในราชวงศ์นี้ ระยะเวลาการครองราชย์ของฟาโรห์เมนคาอูเรนั้นยังคลุมเครือ โดยคาดการณ์ไว้ว่าทรงครองราชย์นานกว่า 63 ปี แต่อาจจะเป็นเรื่องเกินจริงอย่างแน่นอน ฟาโรห์เมนเคอูเรทรงสืบพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์คาฟเร ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ พีระมิดของพระองค์เป็นพีระมิดที่สามและเล็กที่สุดในบรรดาพีระมิดกิซ่า และเป็นที่รู้จักในชื่อ เนทเจอร์-เออร์-เมนคาอูเร ซึ่งแปลว่า "เมนคาอูเรคือพระเจ้า" มีโลงศพที่พบในพีระมิด ซึ่งมีความยาวประมาณแปดฟุตและสูงสามฟุต ทำจากหินบะซอลต์ เช่นเดียวกับพีระมิดหลายๆ แห่งก่อนหน้านี้ ฟาโรห์เมนคาอูเรทรงไม่ได้ถูกจารึกไว้เลยและภายในพีระมิดไม่มีการจดบันทึกใดๆ

ฟาโรห์เชปเซสคาฟ

[แก้]

ฟาโรห์เชปเซสคาฟทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สี่ พระองค์สืบพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์เมนคาอูเร ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าพระราชมารดาของพระองค์คือใคร แม้เชื่อกันว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสของพระมเหสีรองก็ตาม และพระมเหสีของพระองค์เป็นใครก็ไม่ทราบเช่นกัน ฟาโรห์เชปเซสคาฟทรงทำลายห่วงโซ่ของการสร้างพีระมิดโดยฟาโรห์ห้าพระองค์ก่อนหน้านี้ แทนที่จะสร้างพีระมิดทรงสามเหลี่ยม พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างบล็อกสี่เหลี่ยม ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ มัสตาบัต อัล-ฟิร์’อาอูน ("ม้านั่งแห่งฟาโรห์")[6] อย่างไรก็ตาม ในทำนองเดียวกัน มีการพบจารึกเล็กๆ น้อยๆ ในหลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ และพระองค์ทรงถูกฝังไว้อย่างเรียบง่าย

บุคคลที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ

[แก้]

ฟาโรห์บาคา

[แก้]

การระบุตัวตนของฟาโรห์บาคานั้นยังคงคลุมเครืออยู่[7] บันทึกพระนามฟาโรห์หลายบันทึกยังคงหลงเหลือ อย่างไรก็ตามบันทึกเหล่านั้นก็บันทึกพระนามไม่เหมือนกันและมีส่วนเสียหาย บันทึกพระนามแห่งตูรินมีส่วนที่สูญหายไประหว่างพระนามของฟาโรห์คาฟเรและฟาโรห์เมนคาอูเร ซึ่งผู้เขียนเคยได้บันทึกพระนามฟาโรห์พระองค์ดังกล่าวที่ทรงครองราชย์ระหว่างรัชสมัยฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ พระนามของพระองค์และระยะเวลาของการครองราชย์น่าจะสูญหายทั้งหมด[8] บันทึกพระนามแห่งซักกอเราะฮ์ยังบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่ครองราชย์ระหว่างรัชสมัยฟาโรห์คาฟเรและฟาโรห์เมนคาอูเร แต่พระนามก็สูญหายไปเช่นกัน[9] นักวิชาการบางคนจึงสันนิษฐานว่าฟาโรห์พระองค์นี้ คือ ฟาโรห์บิเคอร์ริส (Bikheris) ซึ่งปรากฏพระนามในบันทึกพระนามของมาเนโธที่ตรงกับพระนามในภาษาอียิปต์ที่ว่า บาคา หรือ บาคาเร

เคนท์คาอุสที่ 1

[แก้]

บางครั้งหลักฐานที่น่าสนใจที่สุดของราชวงศ์ที่สี่ก็คือพระราชฐานะของพระนางเคนท์คาอุสที่ 1 หรือ เคนติคาเวส พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์เมนคาอูเร และสุสานของพระองค์ถูกสร้างขึ้นตามทางหลวงแห่งเมนคาอูเร ซึ่งพระองค์อาจจะทรงปกครองในฐานะฟาโรห์

หลุมฝังพระศพของพระองค์เป็นหลุมฝังศพมาสตาบาขนาดใหญ่ โดยมีมาสตาบาที่อยู่นอกศูนย์กลางอีกอันวางอยู่ด้านบน จึงทำให้มาสตาบาตัวที่สองไม่สามารถอยู่กึ่งกลางเหนือมาสตาบาหลักของพระองค์ได้ เนื่องจากพื้นที่ว่างที่ไม่ได้รองรับในห้องด้านล่าง

บนประตูหินแกรนิตที่นำไปสู่หลุมฝังพระศพของพระองค์ ปรากฏว่าพระองค์ทรงได้รับตำแหน่งที่อาจจะอ่านได้ว่าทรงเป็น พระราชมารดาของกษัตริย์สองพระองค์แห่งอียิปต์บนและล่าง พระราชมารดาของกษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง และกษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง หรือตามที่นักวิชาการคนหนึ่งอ่าน คือ กษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่างและพระราชมารดาของกษัตริย์สองพระองค์แห่งอียิปต์บนและล่าง

นอกจากนี้ ภาพสลักของพระองค์ที่ประตูทางเข้าดังกล่าวยังปรากฏว่าพระองค์มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ครบถ้วน รวมถึงเคราปลอมของฟาโรห์ด้วย การพรรณนาและพระนามที่ได้รับ ทำให้นักไอยคุปต์วิทยาบางคนคิดว่า พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ในช่วงใกล้สิ้นสุดราชวงศ์ที่สี่

หลุมฝังพระศพของพระองค์สร้างเสร็จในลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมแบบช่องซอก อย่างไรก็ตาม ช่องซอกดังกล่าวถูกฉาบทับด้วยหินปูนเรียบ

ยุคแห่งพีระมิด

[แก้]

ยุคแห่งพีระมิดได้สื่อถึงข้อเท็จจริงที่ว่าราชวงศ์ที่สี่เป็นช่วงเวลาที่พีระมิดที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งรวมถึงพีระมิดที่กิซาด้วย ฟาโรห์สเนเฟรูทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่แสดงความสนใจเกี่ยวกับพิธีฝังพระบรมศพและสุสาน ซึ่งนำพระองค์ไปสู่การวางแผนสร้างพีระมิดที่ใหญ่ที่สุดในอียิปต์ พีระมิดแห่งแรกของพระองค์เรียกว่าพีระมิดโค้งงอและพีระมิดแดง "ยุคแห่งพีระมิด" ไม่ใช่แค่การสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และเป็นที่จดจำได้ง่ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงการฝังพระบรมศพและพิธีกรรมด้วย ซึ่งรวมถึงการฝังศพของชนชั้นสูงในโครงสร้างขนาดใหญ่และการทำมัมมี่อย่างกว้างขวาง

การเปลี่ยนแปลงทางศาสนา

[แก้]

ในช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สี่นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติทางศาสนาอย่างแท้จริง ซึ่งการบูชาดวงอาทิตย์เป็นเรื่องธรรมดา ลัทธิบูชาเทพราได้แผ่ขยายขนาดขึ้น โดยย้อนไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่าหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ดเจดเอฟเรถูกสร้างขึ้นใกล้กับศูนย์กลางการเคารพบูชาในสิ่งที่ชาวกรีกโบราณเรียกว่า เฮลิโอโพลิส[10] ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใกล้กับกรุงไคโรในปัจจุบันที่ถูกยึดครองมาตั้งแต่ยุคก่อนราชวงศ์ ซึ่งมีชื่ออียิปต์โบราณว่า ยูนู (I͗wnw) และแปลว่าเสา

ในยุคสมัยที่การรวมศูนย์ของวัตถุ ปัจจัย และทรัพยากรมนุษย์ของรัฐได้เริ่มพัฒนาขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างฟาโรห์กับเหล่าทวยเทพกลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถขัดขวางได้ และฟาโรห์ก็ทรงเริ่มสลักพระนามของพระองค์ลงในรูปสลักและอนุสาวรีย์ที่ก่อนหน้านี้สงวนไว้สำหรับเทพเจ้า ซึ่งก็จะพูดถึงประเภทของเทพเจ้าที่ซับซ้อนในส่วนของฟาโรห์ รูปสลักที่มีชื่อเสียงของฟาโรห์คาฟเร ซึ่งมีนกเหยี่ยวรวมอยู่ในพระมาลาของพระองค์ จึงเป็นเปรียบว่าองค์ฟาโรห์เป็นเทพเจ้าฮอรัส

อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวได้นำไปสู่การเกิดความขัดแย้ง เป็นการละทิ้งความศรัทธาของฟาโรห์คาฟเรต่อเทพฮอรัส แต่กลับไปศรัทธาต่อลัทธิแห่งเทพราที่กำลังเติบโต ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองเฮลิโพลิส[11] ฟาโรห์ทรงไม่เกี่ยวข้องกับพีระมิดกับพระชนม์ชีพหลังการสวรรคตอีกต่อไป ชีวิตหลังความตายที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าเป็นอาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของสวรรค์ในอุดมคติซึ่งมีเพียงฟาโรห์และหัวใจที่บริสุทธิ์เท่านั้นที่สามารถไปได้ แทน ที่ราชวงศ์ที่สี่เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงในแนวความคิดดังกล่าว กลับกำหนดแนวความคิดที่ว่าชีวิตหลังความตายเป็นสถานที่เข้าถึงได้[12] และพิธีกรรมทางศาสนาเป็นที่เลื่องลือว่ายังคงรักษาเอาไว้ จากสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ทราบ และมีสิ่งที่ต้องการอีกมากจากบันทึกที่ทราบกันในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงทางประเพณีสู่การเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรม

[แก้]
ภาพสลักของโนเฟอร์กับภริยาที่กิซ่า จากสุสาน G2110 ช่วงราชวงศ์ที่ ราว 2575–2465 ปีก่อนคริสตกาล

ในช่วงสมัราชอาณาจักรเก่าปรากฏการเพิ่มขึ้นของการเก็บรักษาศพ ซึ่งทำให้การเตรียมศพมีความซับซ้อนมากขึ้น ตำแหน่งช่างแต่งศพถูกสร้างขึ้น และเป็นงานที่เตรียมศพเป็นการส่วนตัวเท่านั้น การทำมัมมี่ศพมีสามวิธี คือ 1) การฉาบปูนปั้น คือ ศพจะถูกห่อด้วยผ้าลินินเนื้อดีแล้วปิดทับด้วยปูนปั้น ส่วนของร่างกาย (รวมถึงใบหน้า) ได้รับตกแต่งด้วยปูนปลาสเตอร์[13] 2) การห่อผ้าลินิน คือ ศพจะห่อด้วยผ้าลินินซึ่งบางครั้งได้รับการดองด้วยเนตรอน (ส่วนผสมของโซเดียมคาร์บอเนตหลายตัว) และผ้าลินินจะทาด้วยเรซินเพื่อให้สามารถจำลองลักษณะของร่างกายได้[14] และ 3) การขูดเอาเนื้อเยื่อออก[15] คือ เอาเนื้อออกให้หมดและห่อกระดูกด้วยผ้าลินิน โดยทั่วไปแล้ว อวัยวะต่างๆ จะถูกเอาออกและใส่ลงในไหที่จะมาพร้อมกับศพในหลุมฝังศพ และภายในของร่างกายจะถูกชำระออก

สุสานในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สี่นั้นเปลี่ยนไปอย่างมาก หลุมฝังศพที่ "ไม่ใหญ่โต" จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่พอใจของชนชั้นสูง หมายความว่า การที่ยอมใช้โครงสร้างสุสานที่ขนาดเล็กลงหากมีการตกแต่งภายใน งานเขียนอักษรอียิปต์โบราณมีความสำคัญต่อชนชั้นสูง เพราะประการแรก ถือว่าเป็นการแสดงความมั่งคั่งอย่างฟุ่มเฟือย และประการที่สอง จะช่วยนำทางดวงวิญญาณไปสู่ชีวิตหลังความตาย อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์ที่สี่ไม่มีงานเขียนเหล่านี้ หลุมฝังศพนั้นลึกกว่าและโครงสร้างที่ใหญ่โตกว่า หลังจากกลุ่มพีระมิดแห่งกิซาสร้างเสร็จ สุสานรุ่นต่อๆ มาก็มีขนาดที่สมเหตุสมผลกว่า หลังจากสมัยราชอาณาจักรกลาง ราชวงศ์ต่าง ๆ ยกเลิกการสร้างพีระมิด โดยเปลี่ยนมาสร้างหลุมฝังศพที่แกะสลักไว้ในหินบนภูเขาในอียิปต์บนแทน

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์

[แก้]

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์

DjedefptahShepseskafMenkaureBikherisKhafreDjedefreKhufuSneferu

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 480. ISBN 978-0-19-815034-3.
  2. Egypt: Land and Lives of the Pharaohs Revealed, (2005), pp. 80–90, Global Book Publishing: Australia
  3. Levy, Janey (30 December 2005). The Great Pyramid of Giza: Measuring Length, Area, Volume, and Angles. Rosen Classroom. p. 4. ISBN 978-1-4042-6059-7.
  4. Tyldesley, Joyce. "Who was Khufu?". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. Spencer, A. J. (1990). "The Egyptian Pyramids. A Comprehensive Illustrated Reference. By J.P. Lepre. 233 × 156mm. Pp. xviii + 341, many ills. Jefferson, North Carolina: McFarland and Company, Inc.1990. ISBN 0-89950-461-2. £37·50". The Antiquaries Journal (ภาษาอังกฤษ). 70 (2): 479. doi:10.1017/S0003581500070906. S2CID 162040068. สืบค้นเมื่อ 21 April 2018.
  6. Spencer, A. J. (1990). "The Egyptian Pyramids. A Comprehensive Illustrated Reference. By J.P. Lepre. 233 × 156mm. Pp. xviii + 341, many ills. Jefferson, North Carolina: McFarland and Company, Inc.1990. ISBN 0-89950-461-2. £37·50". The Antiquaries Journal (ภาษาอังกฤษ). 70 (2): 479. doi:10.1017/S0003581500070906. S2CID 162040068. สืบค้นเมื่อ 21 April 2018.
  7. Peter Jánosi: Giza in der 4. Dynastie. Die Baugeschichte und Belegung einer Nekropole des Alten Reiches. vol. I: Die Mastabas der Kernfriedhöfe und die Felsgräber, Verlag der Österreichischen Akademie der Wissenschaften, Wien 2005, ISBN 3-7001-3244-1, page 64–65.
  8. Wolfgang Helck: Untersuchungen zu Manetho und den ägyptischen Königslisten, (= Untersuchungen zur Geschichte und Altertumskunde Ägyptens, Bd. 18), Leipzig/ Berlin 1956, page 52
  9. Aidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt, The American University in Cairo Press, London 2004, ISBN 977-424-878-3, page 61
  10. Bolshakov, Andrey O (1991). "The Old Kingdom Representations of Funeral Procession". Göttinger Miszellen (ภาษาอังกฤษ). 121: 31–54. สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.
  11. Baines, John; Lesko, Leonard H.; Silverman, David P. (1991). Religion in Ancient Egypt: Gods, Myths, and Personal Practice. Cornell University Press. p. 97. ISBN 978-0-8014-9786-5.
  12. Roth, Ann Macy (1993). "Social Change in the Fourth Dynasty: The Spatial Organization of Pyramids, Tombs, and Cemeteries". Journal of the American Research Center in Egypt. 30: 33–55. doi:10.2307/40000226. JSTOR 40000226.
  13. "Fragments of stucco from a mummy". Museum of Fine Arts, Boston (ภาษาอังกฤษ). 12 March 2018.
  14. Gill, N.S. (20 August 2018). "Natron, Ancient Egyptian Chemical Salt and Preservative". ThoughtCo.
  15. "BBC – History – Ancient History in depth: Mummies Around the World".

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd., 2006. ISBN 0500286280.

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า ราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์ ถัดไป
ราชวงศ์ที่สาม ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 2613 - 2494 ปีก่อนคริสตกาล)
ราชวงศ์ที่ห้า