ฟาโรห์นูบวอเซอร์เร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นุบวอเซอร์เร ยา'อัมมู (หรือเรียกได้อีกว่า ยา'อามู,[4] จามู และ จาอัม[5]) เป็นผู้ปกครองในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองของอียิปต์โบราณ โดยสมมติฐานที่ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบหกนั้นก็ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสนับสนุนโดยนักวิชาการ เช่น เยือร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ[5] ถึงแม้ว่าเมื่อไม่นานที่ผ่านมา คิม ไรโฮลต์ จะเสนอให้พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สองของราชวงศ์ที่สิบสี่ก็ตาม[6]

การพิสูจน์ตัวตน[แก้]

ดูเหมือนว่าผู้ปกครองพระองค์นี้จะไม่ปรากฏพระนามในคาร์ทูช โดยเป็นการเขียนพระนามของของฟาโรห์ ซึ่งใช้สำหรับเขียนพระนามครองราชย์เท่านั้นชื่อบัลลังก์เท่านั้น "นุบวอเซอร์เร" ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เสมอไปก็ตาม[7] ส่วนพระนามประสูติก็ไม่ปรากฏอยู่ในคาร์ทูชเช่นกัน ซึ่งปรากฏเพียงแค่ว่า "พระราชโอรสแห่งรา, ยา'อัมมู"

เช่นเดียวกันกับผู้ปกครองยากบิม เซคาเอนเร ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าที่เป็นสันนิษฐานนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดที่แสดงให้เห็นว่าพระนามครองราชย์ของพระองค์ คือ นุบวอเซอร์เร โดยข้อสันนิษฐานนี้มีพื้นฐานมาจากลักษณะของตราประทับและเสนอโดยวิลเลียม แอรส์ วอร์ด[8] และต่อมามีรายละเอียดเพิ่มเติมโดยไรฮอล์ต[9] แต่ดาฟนา เบน-ทอร์โต้แย้งข้อพิสูจน์ตัวตนดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าตราประทับของผู้ปกครองหลายพระองค์ที่ทรงพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกันเกินกว่าจะสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวบนพื้นฐานของลักษณะการออกแบบเพียงอย่างเดียว[4] ส่วนในบันทึกพระนามแห่งตูรินก็ไม่สามารถช่วยแก้ไขข้อถกเถียงดังกล่าวได้ เนื่องจากไพระนามของพระองค์สูญหายในบริเวณที่เสียหายของบันทึก[10]

ถ้าหากสมมติว่าวอร์ดและไรโฮลต์กล่าวถูก ผู้ปกครองนุบวอเซอร์เร ยา'อัมมู ได้รับการพิสูจน์ตัวตนจากตราประทับสคารับที่ไม่ปราณีตจำนวน 26 ชิ้น (ให้เจาะจงกว่านั้นคือปรากฏพระนาม นุบวอเซอร์เร จำนวน 19 ชิ้น และอีก 7 ตัวนั้นปรากฏพระนาม ยา'อัมมู)[1][11] จากข้อมูลดังกล่าว ไรโฮลต์สันนิษฐานว่า รัชสมัยของพระองค์ยาวนานประมาณสิบปี ในช่วง 1780–1770 ปีก่อนคริสตกาล[6] แต่อย่างไรก็ตามไม่มีใครทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระองค์เลย

ราฟาเอล กิเวียน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอิสราเอลระบุว่า ยา'อัมมู เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ปกครองยากบิม [12]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Ben-Tor, D. (2010). "Sequences and chronology of Second Intermediate Period royal-name scarabs, based on excavated series from Egypt and the Levant". ใน Marcel Marée (บ.ก.). The Second Intermediate Period: Current Research, Future Prospects. Orientalia Lovaniensa Analecta. Vol. 192. Leuven, Paris and Walpole, MA: Uitgeverij Peeters and Departement Oosterse Studies. pp. 91–108.
  • Ryholt, K. S. B. (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800–1550 BC. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0.
  • Ward, W. A. (1984). "Royal-name scarabs". ใน O. Tufnell (บ.ก.). Scarab Seals and their Contribution to History in the Early Second Millennium B.C. Studies on Scarab Seals. Vol. 2. Warminster: Aris & Phillips. pp. 151–192.