ฟาโรห์ราโฮเทป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซคเอมเรวาห์คาอู ราโฮเทป (อังกฤษ: Rahotep) เป็นฟาโรห์ชาวอียิปต์โบราณ ปกครองในระยะเวลาช่วงรอยต่อครั้งที่สองแห่งอียิปต์ สมัยที่อียิปต์มีฟาโรห์ปกครองเป็นอิสระแก่กันหลายพระองค์ นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ และ ดาร์เรล เบเกอร์ เชื่อว่าฟาโรห์ราโฮเทป เป็นฟาโรห์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 17[1][3]

หลักฐาน[แก้]

หลักฐานของฟาโรห์ราโฮเทปมีการพบเจอที่ อไบดอส และ คอปโตส มีดังนี้

[1] ศิลาจารึกUC 14327 ที่พบจากการบูรณะเทวสถานเทพมินที่คอปโตส[4] ปัจจุบันจารึกหลักนี้อยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ Petrie ข้อความจารึกมีดังนี้[5][6]

[2] ศิลาจารึกหินปูนBM EA 833 ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช[7] ภาพในศิลานี้แสดงรูปคือฟาโรห์ราโฮเทปกำลังถวายเครื่องบูชาแก่โอซิริส แก่ผู้เสียชีวิตสองคนได้แก่เจ้าหน้าที่และนักบวช โดยศิลานี้น่าจะสร้างขึ้นในแหล่งการผลิตที่อไบดอส และศิลาอื่นๆจากแหล่งผลิตนี้ เป็นของฟาโรห์พันทเจนี และ ฟาโรห์เวปวาเวทเอมซาฟ โดยฟาโรห์ทั้งสามพระองค์นี้ขึ้นครองราชย์ในเวลาใกล้เคียงกัน[8]

[3] พระองค์ยังถูกกล่าวถึงในเครื่องถ้วยของ อเมนีพระราชโอรสกษัตริย์ ซึ่งอุทิศให้กับ "การปรนนิบัติมินในทุกงานเลี้ยงของเทพมิน" ที่คอปโตส[9][10]

[4] เรื่อง คอนซูเอมเฮบกับผี สมัยช่วงปลายราชอาณาจักรใหม่ ตัวเอกพบกับผีที่อ้างว่าเคยเป็น"ผู้คุมการคลังของฟาโรห์ราโฮเทป" อย่างไรก็ตามผียังอ้างว่าเสียชีวิตในปีที่ 14 ของรัชกาลฟาโรห์เมนทูโฮเทปผู้กษัตริย์องค์ต่อมา ข้อความเหล่านี้ดูจะขัดแย้งเนื่องจากฟาโรห์ถัดจากฟาโรห์ราโฮเทปไม่มีพระนามเมนทูโฮเทปที่ครองราชย์มานาน ดังนั้นการระบุกษัตริย์ทั้งสององค์นี้จึงมีปัญหา[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 341-342
  2. Wallis Budge: Hieroglyphic texts from Egyptian stelae, &c., in the British Museum, Part IV, London: Printed by order of the Trustees [by] Harrison and Sons, 1913, available not-in-copyright here, pl. 24.
  3. 3.0 3.1 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  4. H.M. Stewart: Egyptian Stelae, Reliefs and Paintings from the Petrie Collection. Part Two: Archaic to Second Intermediate Period, Warminster 1979, 17-18, no. 78
  5. Image of the stele with translation
  6. Stele on the Petrie Museum catalogue
  7. Stele on the British Museum catalogue
  8. Marcel Marée: A sculpture workshop at Abydos from the late Sixteenth or early Seventeenth Dynasty, in: Marcel Marée (editor): The Second Intermediate period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects, Leuven, Paris, Walpole, MA. 2010 ISBN 978-90-429-2228-0. p. 247, 268
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ryholt2
  10. O. D. Berlev: Un don du roi Rahotep, OLP 6-7 (1975/1976), p. 31-41 pl II.
  11. Simpson, William K. (1973). The Literature of Ancient Egypt. New Haven and London: Yale University Press. ISBN 0-300-01711-1., pp. 139–40