ฟาโรห์เนบมาอัตเร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนบมาอัตเร เป็นพระนามครองพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณที่มีความคลุมเครือในหลักฐานยืนยันในสมัยปลายช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 พระองค์อาจจะเป็นหนึ่งในสมาชิกราชวงศ์ในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ และด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระองค์ได้ครองราชย์เหนือพื้นที่เมืองธีบส์[2] อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ เชื่อว่า พระองค์เป็นฟาโรห์ที่ขึ้นมาปกครองในช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[3][4]

หลักฐานยืนยัน[แก้]

พระนามครองพระราชบัลลังก์ เนบมาอัตเร ปรากฏอยู่บนหัวขวานทองสัมฤทธิ์ ซึ่งค้นพบในหลุมฝังศพที่อัสยูฏในอียิปต์กลาง และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช แค็ตตาล็อกหมายเลข BM EA 63224 นอกจากนี้ยังพบพระนามดังกล่าวเดียวกันนี้จารึกไว้บนเครื่องรางหินสีดำรูปสิงโตที่ไม่ทราบที่มา และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพตรี แค็ตตาล็อกหมายเลข 11587 ระดับความไม่แน่นอนส่งผลต่อความเป็นเจ้าของวัตถุโบราณเหล่านี้ เนื่องจากฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ก็ทรงใช้พระนาม เนบมาอัตเร เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หัวขวานสามารถระบุช่วงเวลาได้ถึงช่วงปลายของสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 โดยพิจารณาจากรูปแบบของวัตถุโบราณและที่มา ในขณะที่ฟลินเดอร์ส เพตรี ระบุว่า เครื่องรางดังกล่าวถูกสร้างด้วยฝีมือหยาบเกินกว่าจะเป็นของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ได้[5][6] เพตรีได้เสนอความเห็นว่า เครื่องรางชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยฟาโรห์ไอบิ ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่คลุมเครือในช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ซึ่งพระนามครองพระราชบัลลังก์บางส่วนยังคงหลงเหลืออยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินในพระนาม "[...]มาอัตเร" อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดของคิม รีฮอล์ตเกี่ยวกับบันทึกพระนามแห่งตูรินได้โต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ว่า เส้นขีดแนวตั้งในส่วนที่เสียหายของบันทึกก่อนหน้า "มาอัตเร" ได้ขีดทับอักษรอียิปต์โบราณ "เนบ"[5]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา[แก้]

ตำแหน่งตามลำดับเวลาของฟาโรห์เนบมาอัตเรในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 นั้นไม่แน่นอนอย่างมาก เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ นักไอย์คุปต์วิทยา ได้เสนอความเห็นว่า พระองค์เป็นผู้ปกครองที่มาจากราชวงศ์ที่สิบห้าหรือสิบหก ซึ่งเขาเห็นว่าราชวงศ์ที่เป็นเชื้อสายของฟาโรห์ชาวฮิกซอสทั้งหมด[7] อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง คิม รีฮอล์ตได้ตั้งสมมติฐานว่า พระองค์เป็นฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบเจ็ด ถึงแม้ว่าพระองค์จะปรากฏตำแหน่งในราชวงศ์โดยไม่ระบุรายละเอียดก็ตาม[8] ข้อสันนิษฐานของรีฮอล์ตอ้างอิงมาจากกับการสังเกตว่าพระนาม เนบมาอัตเร ที่ปรากฏอยู่บนหัวขวานถูกพบในหลุมฝังศพเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการฝังศพหลุมทรงกลม (Pan-grave)[9] โดยส่วนใหญ่วัฒนธรรมการฝังศพดังกล่าวจะเป็นของทหารรับจ้างชาวนิวเบียที่ว่าจ้างโดยผู้ปกครองของราชวงศ์ที่สิบเจ็ดในการต่อสู้กับศัตรูชาวฮิกซอส[5] ดาร์เรล เบเฟอร์ นักไอยคุปต์วิทยา ชี้ให้เห็นว่าผู้ปกครองแห่งธีบส์ในช่วงเวลานั้นอาจจะจัดหาอาวุธดังกล่าวให้กับทหารรับจ้างจริงๆ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. The amulet of the Petrie Museum
  2. K. S. B. Ryholt, Adam Bülow-Jacobse, The political situation in Egypt during the second intermediate period, c. 1800-1550 B.C., pp 168, 170, 171, 179, 204, 400
  3. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  4. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Egyptian Pharaohs. Volume I: Predynastic to the Twentieth Dynasty (3300-1069 BC) , Bannerstone Press, London 2008, ISBN 978-1-905299-37-9, p. 244
  6. Flinders Petrie: Scarabs and Cylinders with Names, 1978, Aris & Philips, Ltd. (reprint of the 1917 original edition published by BSAE).
  7. Jürgen von Beckerath: Handbuch der agyptische Konigsnamen, Muncher. Agyptologische Studien, 49 Mainz, 1999, pp.118-119
  8. Kim Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c.1800-1550 B.C, Museum Tusculanum Press, (1997)
  9. Manfred Bietak: the Pan-grave culture เก็บถาวร 2013-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน