ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์

ราว 3100 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 2900 ปีก่อนคริสตกาล
แผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์ (แม่แบบ:ราว–3000 ปีก่อนคริสตกาล)
แผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์ (แม่แบบ:ราว–3000 ปีก่อนคริสตกาล)
เมืองหลวงไทนิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
ราว 3100 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ราว 2900 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
อียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์[1] เป็นกลุ่มของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณกลุ่มแรกที่ปกครองอียิปต์ที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งเกิดขึ้นทันทีหลังจากการผนวกรวมกันของอียิปต์บนและอียิปต์ล่างโดยฟาโรห์นาร์เมอร์[2] และถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงต้นยุคราชวงศ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อำนาจมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไทนิส

การระบุช่วงเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับการถกเถียงทางวิชาการเกี่ยวกับลำดับเหตุการณ์ของอียิปต์ ซึ่งอยู่ในช่วงต้นสมัยสัมฤทธิ์และมีการคาดคะเนกันไปต่างๆ นานาว่าเริ่มขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 34 ถึง 30 ก่อนคริสตกาล ในการศึกษาปี ค.ศ. 2013 ตามช่วงเวลาตามเรดิโอคาร์บอน จุดเริ่มต้นของราชวงศ์ที่หนึ่ง กล่าวคือ การขึ้นมามีอำนาจของฟาโรห์นาร์เมอร์ (หรือที่รู้จักกันทั่วไปในพระนาม เมเนส) ถูกกำหนดไว้ที่ 3100 ปีก่อนคริสตกาลหรือช่วงระหว่างเวลาหนึ่งศตวรรษ (3218 – 3035 โดยมีความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95)[3] การขึ้นครองราชสมบัติของฟาโรห์พระองค์ที่ห้าแห่งราชวงศ์พระนามว่า เดน ได้ถูกกำหนดให้เป็น 3011–2921 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 65[4]

ราชวงศ์ที่หนึ่ง[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับราชวงศ์ที่หนึ่งได้มาจากอนุสรณ์สถานสองสามแห่งและโบราณวัตถุอื่นๆ ที่ปรากฏพระนามของเหล่าฟาโรห์ ซึ่งมีวัตถุโบราณที่มีความสำคัญ ได้แก่ แผ่นศิลานาร์เมอร์และหัวคทานาร์เมอร์ ตลอดจนรายพระนามของฟาโรห์เดนและฟาโรห์กาอา[5][6][7] ไม่ปรากฏบันทึกโดยละเอียดของสองราชวงศ์แรกที่หลงเหลืออยู่เลย ยกเว้นบันทึกรายการสั้น ๆ บนหินปาแลร์โม เรื่องราวในแอจิปเทียกาของมาเนโธนั้นได้ขัดแย้งกับทั้งหลักฐานทางโบราณคดีและบันทึกทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ โดยมาเนโธได้ตั้งพระนามของผู้ปกครองจำนวนเก้าพระองค์ของราชวงศ์ที่หนึ่ง และมีเพียงพระนามเดียวเท่านั้นที่ปรากฏพระนามตรงกับแหล่งข้อมูลอื่น และให้ข้อมูลของฟาโรห์เพียงแค่สี่พระองค์เท่านั้น[8] อักษรอียิปต์โบราณได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในช่วงเวลานั้น และรูปร่างของตัวอักษรจะถูกใช้โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเป็นเวลากว่าสามพันปี[ต้องการอ้างอิง]

อาเลนา บูอิส ได้ตั้งข้ออธิบายว่า

"หลุมฝังพระบรมศพขนาดใหญ่ของฟาโรห์ที่อไบดอสและนะกอดะ นอกเหนือจากสุสานที่ซักกอเราะฮ์และเฮลวานใกล้เมืองเมมฟิส เผยให้เห็นโครงสร้างส่วนใหญ่ที่สร้างจากไม้และอิฐโคลน มีการใช้หินเล็กน้อยสำหรับผนังและพื้น หินถูกใช้ในปริมาณมากสำหรับการผลิต เครื่องประดับ ภาชนะ และบางครั้งสร้างรูปสลัก ทามาริสก์ ("ทามาริสก์" หรือ "ซีดาร์เกลือ") ถูกนำมาใช้ในการสร้างเรือ เช่น เรืออไบดอส เทคนิคงานไม้พื้นเมืองที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่งคือร่องและข้อต่อเดือย เดือยตายตัวทำขึ้นโดยการดัดปลายไม้ท่อนหนึ่งให้พอดีกับร่อง (รู) ที่ตัดเป็นไม้ท่อนที่ 2 รูปแบบของข้อต่อนี้โดยใช้เดือยกลายเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการต่อเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอียิปต์ และสร้างความแข็งแรงให้กับไม้สองแผ่นหรือส่วนประกอบอื่น ๆ โดยการใส่เดือยแยกเข้าไปในโพรง (ร่อง) ที่มีขนาดที่สอดคล้องกันกับที่ตัดในแต่ละส่วนประกอบ"

— อาเลนา บูอิส[9]

เอส.โอ.วาย. เคย์ตา นักมานุษยวิทยาชีวภาพได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะจากช่วงราชวงศ์ที่หนึ่งในสุสานของราชวงศ์ที่อไบดอส และสังเกตว่ารูปแบบกะโหลกที่เด่นชัดคือ รูปแบบ "ทางใต้" หรือ "แอฟริกาเขตร้อน" (แม้ว่าจะมีการสังเกตกะโหลกรูปแบบอื่นด้วย) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเมืองคูร์มาแห่งราชอาณาจักรคุช โดยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่มากขึ้นกับกลุ่มคนจากลุ่มแม่นำ้ไนล์ตอนบน แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจากแนวโน้มของรูปแบบกะโหลกศีรษะก่อนหน้านี้ การไหลเวียนของยีนและการเคลื่อนไหวของขุนนางทางตอนเหนือไปยังเมืองทางตอนใต้ที่สำคัญอาจอธิบายการค้นพบนี้ได้[10]

การบูชายัญมนุษย์[แก้]

ปรากฏการบูชายัญมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมพระบรมศพที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์ทุกพระองค์ในราชวงศ์หนึ่ง ซึ่งถูกแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีอยู่ในราชวงศ์นี้โดยการฝังคนไว้ใกล้กับหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์แต่ละแห่งตลอดจนสัตว์ที่สังเวยเพื่อการฝังพระบรมศพ หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ดเจอร์มีการฝังศพของบุคคลจำนวน 338 คน[11] ผู้คนและสัตว์ที่สังเวย เช่น ลา ซึ่งคาดว่าจะไปรับใช้ฟาโรห์ในพระชนม์ชีพหลังการสวรรคต ด้วยเหตุผลที่ไม่ทราบสาเหตุนี้การปฏิบัติพิธีกรรมดังกล่าวสิ้นสุดลงในช่วงที่ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ล่มสลาย

รายพระนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่หนึ่ง[แก้]

พระนาม รูปภาพ คำอธิบาย รัชสมัย
นาร์เมอร์
เชื่อกันว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับฟาโรห์เมเนส และได้ทรงรวมอียิปต์บนและล่างเข้าด้วยกัน อาจจะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางนิธโฮเทป
ราว 3100 ปีก่อนคริสตกาล
ฮอร์-อฮา
พระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Athotís ทรงส่งคณะสำรวจไปยังดินแดนนิวเบีย ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางเบเนอร์อิบและพระนางเคนทัป
ราว 3050 ปีก่อนคริสตกาล
ดเจอร์
พระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Uenéphes (ตามพระนามทองคำ In-nebw) พระองค์และพระราชอิสริยยศของพระองค์ปรากฏบนศิลาแห่งปาแลร์โม หลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ถูกคิดว่าเป็นหลุมฝังพระบรมศพในตำนานของเทพโอซิริส
54 ปี[12]
ดเจต
พระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Usapháis อาจจะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอฮานิธ
10 ปี[13]
เมอร์นิธ
อาจนะทรงเป็นฟาโรห์สตรีพระองค์แรก

(หรือปกครองในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของฟาโรห์เดน ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ หรือปกครองในฐานะทั้งฟาโรห์/พระราชินีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) พระนางเมอร์นิธทรงถูกฝังใกล้กับฟาโรห์ดเจตและฟาโรห์เดน หลุมฝังพระบรมศพของพระองค์มีขนาดเท่ากับสุสานของฟาโรห์ (พระองค์อื่นๆ) ในเวลานั้น[14]

ราว 2950 ปีก่อนคริสตกาล[15]
เดน
พระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Kénkenes (ต่อมาพระนามประสูติของพระองค์ที่ถูกเขียนในยุครามเสสว่า Qenqen[16]) ทรงเป้นฟาโรห์ฟาโรห์พระองค์แรกที่ปรากฏภาพสลักทรงสวมมงกุฏคู่ของอียิปต์ และทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ทรงมีพระนามเต็ม เนชุต-บิติ
42 ปี[13]
อเนดจ์อิบ
พระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Miebidós เป็นที่รู้จักจากพระนามเนบวิอันไม่เป็นมงคล
10 ปี
เซเมอร์เคต
พระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Semempsés ทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์พระนามแรกที่ทรงพระนามเนบติ ช่วงเวลาแห่งรัชสมัยของพระองค์ปรากฏบนศิลาแห่งไคโร
8 1/2 ปี[13]
กาอา
พระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Bienéches ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลายาวนาน สุสานของพระองค์เป็นสุสานสุดท้ายที่มีสุสานย่อยภายใน
34 ปี
สเนเฟอร์คา
รัชสมัยของพระองค์สั้นมาก ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง
ราว 2900 ปีก่อนคริสตกาล
ฮอรัส เบิร์ด
รัชสมัยของพระองค์สั้นมาก ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง
ราว 2900 ปีก่อนคริสตกาล

อ้างอิง[แก้]

  1. Kuhrt (1995), p. 118.
  2. Heagy, Thomas C. (2014). "Who was Menes?". Archeo-Nil. 24: 59–92. Available online "[1]".
  3. Dee, M.; Wengrow, D.; Shortland, A.; Stevenson, A.; Brock, F.; Girdland Flink, L.; Bronk Ramsey, C. (4 September 2013). "An absolute chronology for early Egypt using radiocarbon dating and Bayesian statistical modelling". Proceedings of the Royal Society A: Mathematical, Physical and Engineering Sciences. 469 (2159): 20130395. Bibcode:2013RSPSA.46930395D. doi:10.1098/rspa.2013.0395. PMC 3780825. PMID 24204188.
  4. Quiles, Anita; Tristant, Yann (2023). "RADIOCARBON-BASED MODELING OF THE REIGN OF KING DEN (1ST DYNASTY, EGYPT) AND THE START OF THE OLD KINGDOM". Radiocarbon (ภาษาอังกฤษ). 65 (2): 485–504. doi:10.1017/RDC.2023.15. ISSN 0033-8222 – โดยทาง Cambridge University Press online.
  5. "Qa'a and Merneith lists", Xoomer, IT: Virgilio.
  6. The Narmer Catalog http://narmer.org/inscription/1553 เก็บถาวร 2020-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. The Narmer Catalog http://narmer.org/inscription/4048 เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Manetho, Fr. 6, 7a, 7b. Text and translation in Manetho, translated by W.G. Waddell (Cambridge: Harvard University, 1940), pp. 27–35
  9. Buis, Alena (2022). "Predynastic and Early Dynastic Art". Art and Visual Culture: Prehistory to Renaissance. Large tombs of pharaohs at Abydos and Naqada, in addition to cemeteries at Saqqara and Helwan near Memphis, reveal structures built largely of wood and mud bricks, with some small use of stone for walls and floors. Stone was used in quantity for the manufacture of ornaments, vessels, and occasionally for statues. Tamarix was used to build boats such as the Abydos Boats. One of the most important indigenous woodworking techniques was the fixed mortise and tenon joint, where the fixed tenon was made by shaping the end of one timber to fit into a mortise (or hole) that is cut into a second timber. A variation of this joint using a free tenon eventually became one of the most important features in Mediterranean and Egyptian shipbuilding. It creates a union between two planks or other components by inserting a separate tenon into a cavity (mortise) of the corresponding size cut into each component.
  10. Keita, S. O. Y. (1992). "Further studies of crania from ancient Northern Africa: An analysis of crania from First Dynasty Egyptian tombs, using multiple discriminant functions". American Journal of Physical Anthropology (ภาษาอังกฤษ). 87 (3): 245–254. doi:10.1002/ajpa.1330870302. ISSN 1096-8644. PMID 1562056.
  11. Shaw (2000), p. 68.
  12. Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit (= Ägyptologische Abhandlungen (ÄA), Vol. 45). Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4, p. 124.
  13. 13.0 13.1 13.2 Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit (Agyptologische Abhandlungen), ISBN 3-447-02677-4, O. Harrassowitz (1987), p. 124
  14. Tyldesley, J. (2006). Chronicle of the Queens of Egypt. Thames & Hudson.
  15. Teeter, Emily, บ.ก. (2011). Before the Pyramids, The Origins of Egyptian Civilization. The Oriental Institute of the University of Chicago. p. 207.
  16. William Matthew Flinders Petrie: The Royal Tombs of the Earliest Dynasties. Cambridge University Press, New York 2013 (reprint of 1901), ISBN 1-108-06612-7, p. 49.

บรรณานุกรม[แก้]

ก่อนหน้า ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ ถัดไป
อียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 3100 – 2890 ปีก่อนคริสตกาล)
ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์