ฟาโรห์เนบเซนเร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนบเซนเร (มีความหมายว่า "เทพเจ้าของพวกเขาคือ เทพรา"[1]) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสี่ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลาอย่างน้อยห้าเดือนครอบคลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกราวประมาณช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 17 ก่อนคริสตกาล[3] และพระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพช่วงเดียวกันกับราชวงศ์ที่สิบสามที่มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเมมฟิส

หลักฐานยืนยัน[แก้]

แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์[แก้]

พระนามนำหน้า "เนบเซนเร" ยังคงหลงเหลืออยู่ในคอลัมน์ที่ 9 แถวที่ 14[note 1] ของบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 (1279–1213 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เบื้องต้นในช่วงสมัยระหว่างกลางครั้งที่สอง[5] ในบันทึกพระนามยังระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาที่ไม่ปรากฏจำนวนปี 5 เดือนและอีก 20 วัน ซึ่งทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์เฮอร์อิบเร[6] พระนามนำหน้าของผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์ เขียนว่า wsf ในบันทึกพระนาม[6][7] ซึ่งบ่งชี้ว่าพระนามของพระองค์สูญหายไปจากเอกสารที่ใช้คัดลอกบันทึกพระนามในสมัยรามเสส[8]

หลักฐานร่วมสมัย[แก้]

พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในฟาโรห์เพียงสี่[9] พระองค์จากราชวงศ์ที่สิบสี่ที่ได้รับการยืนยันตัวตนด้วยหลักฐานร่วมสมัยกับรัชสมัยของพระองค์ คือ โถที่ไม่ทราบที่มาซึ่งปรากฏพระนามนำหน้าของพระองค์ ซึ่งอยู่ในชุดสะสมส่วนตัวของมิคาอิลิดิส[10][4]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา[แก้]

ตามคำกล่าวของนักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ และดาร์เรล เบเกอร์ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบสี่แห่งราชวงศ์ที่สิบสี่[11] ซึ่งทรงงเป็นผู้ปกครองที่ทรงมีเชื้อสายคานาอัน โดยทรงปกครองเหนือสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออกตั้งแต่ราว 1700 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล[note 2] หรืออีกด้านหนึ่ง นักไอยคุปต์วิทยา เยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ มองว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สิบห้าเนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างไปในการตีความใหม่ของบันทึกพระนามแห่งตูรินในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสี่[14]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ภายหลังการตีความใหม่บันทึกพระนามแห่งตูรินโดยไรโฮลท์ พระนามของพระองค์จะปรากฏอยู่ที่คอลัมน์ที่ 8 แถวที่ 14 ในการตีความใหม่ของการ์ดิเนอร์และฟอน เบ็คเคอราธ[4]
  2. ไรโฮลท์ช่วงเวลาเริ่มต้นของราชวงศ์ที่สิบสี่ คือ ราวประมาณ 1800 ปีก่อนคริสตกาล[3] โดยเพิ่มฟาโรห์จำนวนห้าพระองค์ไปไว้ก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์เนเฮซิ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวก็เป็นที่ปฏิเสธในกลุ่มนักไอยคุปต์วิทยาหลายคนที่เชื่อว่าฟาโรห์เนเฮซิทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่ขึ้น[12] หรือทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สองของราชวงศ์[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Leprohon 2013, p. 205.
  2. Baker 2008, pp. 247–248.
  3. 3.0 3.1 Ryholt 1997, p. 409.
  4. 4.0 4.1 Baker 2008, p. 248.
  5. Ryholt 1997, pp. 9–18.
  6. 6.0 6.1 Ryholt 1997, p. 198.
  7. Ryholt 2012, p. 31.
  8. Ryholt 1997, p. 10–11.
  9. Bourriau 2003, p. 178.
  10. Kaplony 1973, p. 15, pl. 10, 23 [Cat. 41].
  11. Ryholt 1997, p. 98.
  12. Quirke 2001, p. 261.
  13. von Beckerath 1999, pp. 108–109, king 2.
  14. von Beckerath 1999, pp. 108–109, king 15.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Baker, Darrell D. (2008). The Encyclopedia of the Egyptian Pharaohs. Volume I: Predynastic to the Twentieth Dynasty (3300–1069 BC). London: Bannerstone Press. ISBN 978-1-905299-37-9.
  • Bourriau, Janine (2003). "The Second Intermediate Period (c. 1650–1550 BC)". ใน Shaw, Ian (บ.ก.). The Oxford History of Ancient Egypt (new ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280458-7.
  • Kaplony, Peter (1973). Beschriftete Kleinfunde in der Sammlung Georges Michailidis: Ergebnisse einer Bestandsaufnahme im Sommer 1968. Uitgaven van het Nederlands Historisch-Archaeologisch Instituut te İstanbul, 32. Istanbul: Nederlands Historisch-Archeologisch Instituut in het Nabije Oosten. OCLC 1064212.
  • Leprohon, Ronald J. (2013). The great name: ancient Egyptian royal titulary. Writings from the ancient world, no. 33. Atlanta: Society of Biblical Literature. ISBN 978-1-58-983736-2.
  • Quirke, Stephen (2001). "Second Intermediate Period". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford University Press. pp. 260–265. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800–1550 B.C. CNI publications, 20. Carsten Niebuhr Institute of Near Eastern Studies, University of Copenhagen : Museum Tusculanum Press. ISBN 978-87-7289-421-8.
  • Ryholt, Kim (2012). "The Royal Canon of Turin". ใน Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. Handbook of Oriental Studies. Leiden, Boston: Brill. pp. 26–32. ISBN 978-90-04-11385-5. ISSN 0169-9423.
  • von Beckerath, Jürgen (1999). Handbuch der ägyptischen Königsnamen (ภาษาGerman). Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : Philip von Zabern. ISBN 978-3-8053-2591-2.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)