ฟาโรห์วัดจ์เนส
วัดจ์เนส | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วัดจ์ลาส, โอโกทลาส, โอทลาส, ทลาส | |||||||||||||||||||||||||
พระนามคาร์ทูชของฟาโรห์วัดจ์เอนเอสในบันทึกพระนามแห่งอไบดอส (คาร์ทูชหมายเลขที่ 12) | |||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบระยะเวลาครองราชย์ | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | บาเนทเจอร์ | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เซเนดจ์ | ||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สอง ราว 2740 ปีก่อนคริสตกาล |
วัดจ์เนส (ภาษาอียิปต์โบราณ Wadj-nes ซึ่งแปลว่า "ลิ้นสด") หรือที่รู้จักในพระนาม วัดจ์ลาส, โอโกทลาส และทลาส เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ตอนต้น ซึ่งอาจจะทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สอง เนื่องจากรูปแบบพระนาม "วัดจ์เนส" ไม่ได้เป็นพระนามของฟาโรห์ในช่วงเวลาดังกล่าว แต่มักจะปรากฏในบันทึกพระนามที่บันทึกขึ้นในช่วงรามเสส ในปัจจุบัน นักไอยคุปต์วิทยาได้พยายามเชื่อมโยง ฟาโรห์วัดจ์เนสกับกษัตริย์ฮอรัสในช่วงเวลาต้นยุคราชวงศ์
รัชสมัย
[แก้]หลักฐานที่เกี่ยวกับรัชสมัยของฟาโรห์วัดจ์เนสปรากฏเพียงไม่กี่ชิ้นทำให้ทราบเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์น้อยมาก ส่วนในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้บันทึกว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 54 ปี ในขณะที่แมนิโธได้บันทึกว่าพระองค์ทรงปกครองเป็นเวลา 17 ปี นักไอยคุปต์วิทยาได้ประเมินหลักฐานทั้งสองชิ้นว่าเป็นการตีความที่ผิดโดยอาลักษณ์ในช่วงสมัยรามเสส หรือเป็นการพูดเกินจริง หากฟาโรห์วัดจ์เนสทรงเป็นผู้ปกครองอิสระ (ตามที่ริชาร์ด ไวลล์และพีเตอร์ คาพลอนีเชื่อ) จะเห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงเป็นคนสุดท้ายที่ปกครองดินแดนที่เป็นเอกภาพ เนื่องจากพระนามของพระองค์ปรากฏอยู่ในพงศาวดารของราชวงศ์จากเมมฟิสและไทนิส จึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในนักไอยคุปต์วิทยาว่าผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์นิเนทเจอร์ได้ปกครองอียิปต์ที่ถูกแบ่ง ซึ่งปรากฏว่ามีฟาโรห์สองพระองค์ทรงขึ้นมาปกครองในเวลาเดียวกัน ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากพระนามเซเรคที่ผิดปกติของฟาโรห์พระนามว่า เพอร์อิบเซน ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรหห์นิเนทเจอร์ และวางสัญลักษณ์ของเทพเซธไว้เหนือพระนามเซเรคของพระองค์ เนื่องจากเทพเซธมีต้นกำเนิดจากเมืองออมบอส ดังนั้น ฟาโรห์เพอร์อิบเซนก็น่าจะมาเมืองออมบอสเช่นกัน และแน่นอนว่าพระองค์ทรงปกครองเฉพาะในอียิปต์บนเท่านั้น พระนามของพระองค์ได้หายไปจากบันทึกพระนามแห่งเมมฟิสของในสมัยรามเสส เนื่องจากบันทึกพระนามดังกล่าวได้ถูกเขียนขึ้นโดยนักบวชชาวเมมฟิส และนักบวชเหล่านั้นไม่ยอมรับผู้ปกครองที่ไม่ใช่ผู้ปกครองแห่งเมมฟิสที่เป็นผู้ปกครองในอดีตที่ถูกต้อง[2][3][4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ after: Alan H. Gardiner: The Royal Canon of Turin. Griffith Institute of Oxford, Oxford (UK) 1997, ISBN 0-900416-48-3; page 15 & Table I.
- ↑ Walter Bryan Emery: Ägypten. Geschichte und Kultur der Frühzeit. Fourier-Verlag, Wiesbaden 1964, ISBN 3-921695-39-2, page 275.
- ↑ B. Grdseloff: King Uneg in: Annales du Service des Antiquités de l’Égypte, No. 44, 1944, page 279–306.
- ↑ Winfried Barta in: Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde, No.108. Akademie-Verlag, Berlin 1981, ISSN 0044-216X, page11.
- ↑ Iorwerth Eiddon Stephen Edwards: The Cambridge Ancient History, Vol. 1, Pt. 2: Early History of the Middle East, 3rd reprint. Cambridge University Press, Cambridge 2006, ISBN 0-521-07791-5, page 31.