ฟาโรห์ไอย์ทเจนู
ไอย์ทเจนู | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบระยะเวลา; ราว 2150 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ยังคลุมเครือ | |||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ยังคลุมเครือ | |||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | ไม่ทราบ | |||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง |
ไอย์ทเจนู (ผู้ที่มาอย่างโดดเด่น)[1] เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งเมื่อประมาณ 2100 ปีก่อนคริสตกาล ไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับพระองค์มากนัก เนื่องจากพระองค์มีหลักฐานทางอ้อมในนามของสตรีคนหนึ่งนามว่า ซาต-ไอย์ทเจนู (Zat-Iytjenu) แปลว่า ธิดาแห่งไอย์ทเจนู ในส่วนชื่อส่วนที่สองปรากฏพระนาม ไอย์ทเจนู ภายในชื่อของสตรีผู้นั้น ซึ่งเขียนอยู่วงคาร์ทูช และในช่วงเวลานั้นคาร์ทูชนั้นใช้สำหรับเขียนพระนามของฟาโรห์เท่านั้น ดังนั้นชื่อของนางจะต้องหมายถึงฟาโรห์ พระนามของพระองค์ซึ่งประกอบด้วยสองอส่วน คือ ไอย์ และ ทเจนู ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองนั้นได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนว่าเป็นชื่ออิสระ[2] ตำแหน่งของพระองค์ในสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งยังคงเป็นการคาดการณ์อย่างสูง[3]
ซาต-ไอย์ทเจนู เป็นที่ทราบมาจากประตูหลอกของนางเท่านั้น (อยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ ณ กรุงไคโร หมายเลข เจอี 59158) ที่ขุดค้นพบขึ้นที่ซัคคาราในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1920 ถึง ค.ศ. 1922 โดยเซซิล มัลลาบาย เฟิร์ธ ซึ่งเฟิร์ธก็ไม่เคยเผยแพร่จารึกดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อองรี โกธิเยร์ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับพระนามของพระองค์ในปี ค.ศ. 1923[4] ประตูเท็จได้รับการตีพิมพ์อย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1963 โดยเฮนรี จอร์จ ฟิสเชอร์[5] ไม่ค่อยทราบข้อมูลเกี่ยวซาต-ไอย์ทเจนูมากนัก เธอมีตำแหน่งผู้ประดับประดาแห่งกษัตริย์เพียงหนึ่งเดียว (sole ornament of the king) และนักบวชสตรีแห่งเทพีฮาธอร์ ไม่ทราบความความสัมพันธ์ระหว่างนางกับไอย์ทเจนู และการใช้พระนามของเชื้อพระวงศ์มาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อส่วนตัวมักพบเห็นได้ทั่วไปในเกือบทุกช่วงของประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ronald J. Leprohon (30 April 2013). The Great Name: Ancient Egyptian Royal Titulary. SBL Press. pp. 48–. ISBN 978-1-58983-736-2.
- ↑ Khaled Daoud: Necropoles Memphiticae, Inscriptions from the Herakleopolitan Period, Alexandria 2011, OCLC 837632466, pp. 201-206, no. 4.4.2
- ↑ J. von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Berlin 1984 ISBN 3422008322, pp. 60, 189
- ↑ H. Gauthier: Quelques additions au Livres des rois d'Égypte, in Recueil der Travaux 40 (1923), 198 (21)
- ↑ H. G. Fischer: A stela of the Heracleopolitan Period at Saqqara: the Osiris Iti, in ZÄS 90 (1963), 36-37, pl. VI