ไอย์อิบเคนต์เร
ไอย์อิบเคนต์เร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพวาดจารึกพระราชอิสริยยศของไอย์อิบเคนต์เร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด–ราชวงศ์ที่สิบสอง |
ไอย์อิบเคนต์เร เป็นผู้ปกครองชาวอียิปต์โบราณหรือชาวนิวเบีย ซึ่งน่าจะทรงครองราชย์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเอ็ดและช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสอง
พระราชประวัติ
[แก้]พระองค์อาจจะทรงเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์แห่งอียิปต์ ซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ที่บริเวณนิวเบียล่างในช่วงที่เกิดความอ่อนไหวทางการเมืองในรัชสมัยของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 แห่งราชวงศ์ที่สิบเอ็ด และต้นรัชสมัยของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 แห่งราชวงศ์ที่สิบสอง[2][3] และดูเหมือนว่าผู้ปกครองทั้งสองพระองค์อาจจะทรงมีปัญหาในการได้รับการยอมรับว่าเป็นฟาโรห์ที่ชอบด้วยธรรม
แต่ ลาสซโล โทโรค นักไอยคุปต์วิทยาชาวฮังการี กลับเสนอความเห็นเกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งรัชสมัยของพระองค์ (เช่นเดียวกับผู้ปกครองที่เกี่ยวข้องรายอื่น ๆ ที่กล่าวถึงด้านล่าง) อาจจะอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม (สมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง)[4]
ไอย์อิบเคนต์เรทรงใช้พระราชอิสริยยศของฟาโรห์ แม้ว่าจะปรากฏเพียงพระนามฮอรัสและพระนามครองราชย์เท่านั้นที่ทราบจากจารึกหินที่อาบู ฮอร์, เมดิก และทอชกา ซึ่งทั้งหมดอยู่ในบริเวณนิวเบียล่าง[5]
เช่นเดียวกับไอย์อิบเคนต์เร ผู้ปกครองอีกสองพระองค์ที่อยู่ในนิวเบีย คือ เซเกอร์เซนิ และกาคาเร อินิ ซึ่งอาจจะเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์แห่งอียิปต์เช่นกัน แต่ในท้ายที่สุดกลับไม่ทราบเกี่ยวข้องความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามพระองค์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Arthur Weigall, A Report on the Antiquities of Lower Nubia. Cairo 1907, pls. 49–50.
- ↑ Jürgen von Beckerath, Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Deutscher Kunstverlag, München/ Berlin 1984, ISBN 3-422-00832-2, pp. 64, 195.
- ↑ Wolfram Grajetzki, The Middle Kingdom of ancient Egypt: history, archaeology and society. London, Duckworth Egyptology, 2006, pp. 27-28.
- ↑ László Török, Between Two Worlds: The Frontier Region Between Ancient Nubia and Egypt 3700 BC - 500 AD, Brill, 2008, ISBN 978-90-04-17197-8, pp. 100–102.
- ↑ Thomas Schneider, Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 137.